สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 8

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 4, 2009 15:10 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ครั้งที่ 8 ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 48,397 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 70 ของความ จุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 25,041 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2551 (50,326 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,929 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3 ของความจุอ่างฯ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 7,667 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณระบาย สะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบัน จำนวน 14,531 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำ       ปริมาตรน้ำในอ่างฯ         ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ             ปริมาณน้ำระบาย
               ปริมาตร   %ความจุ     ปริมาตร      %ความจุ     วันนี้           สะสม     วันนี้     เมื่อวาน       สะสม
                   น้ำ     อ่างฯ         น้ำ        อ่างฯ               1 พ.ย.51                      1 พ.ย.51
1. ภูมิพล         7,554       56      3,754          28    0.00          1,361   32.00      32.00      2,750
2. สิริกิติ์         6,466       68      3,616          38    9.53            924   30.01      30.01      2,642
รวมภูมิพล+สิริกิติ์   14,020       61      7,370          32    9.53          2,285   62.50      62.01      5,392
3. ป่าสักชลสิทธิ์      595       62        592          62    2.17            516    4.37       4.38        757

เมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2551 เขื่อนภูมิพล น้อยกว่า จำนวน 1,334 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มากกว่า จำนวน 836 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มากกว่า จำนวน 102 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 6 อ่าง ได้แก่

ภาค                    จำนวนอ่างฯ                      อ่างฯ/ร้อยละของความจุที่ระดับน้ำเก็บกักของอ่างฯ

ทั้งหมด มากกว่า 80%

เหนือ                 7                1               แม่งัด(89)
ตะวันออกเฉียงเหนือ     12                3               ลำพระเพลิง(85),มูลบน(85),ลำแซะ(81)
กลาง                 3                1               กระเสียว(89)
ตะวันตก               2                1               ศรีนครินทร์(86)
ตะวันออก              5                -
ใต้                   4                -
รวม                 33                6

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำ                                          ที่ตั้งสถานี                          อยู่ในเกณฑ์     แนวโน้ม
                         สถานี                 อำเภอ         จังหวัด
ปิง            P.7A       สะพานบ้านห้วยยาง       เมือง          กำแพงเพชร          ปกติ          เพิ่มขึ้น
              P.17       บ้านท่างิ้ว              บรรพตพิสัย      นครสวรรค์           ปกติ          เพิ่มขึ้น
วัง            W.4A       บ้านวังหมัน             สามเงา        ตาก                ปกติ          เพิ่มขึ้น
ยม            Y.1C       สะพานบ้านน้ำโค้ง        เมือง          แพร่                น้อย          ทรงตัว
              Y.17       บ้านสามง่าม            สามง่าม        พิจิตร               น้อย          ลดลง
น่าน           N.5A       สะพานเอกาทศรถ        เมือง          พิษณุโลก             น้อย          เพิ่มขึ้น
              N.67       สะพานบ้านเกศไชย       ชุมแสง         นครสวรรค์           ปกติ          ลดลง
ท่าตะเภา       X 158      สะพานบ้านวังครก        ท่าแซะ         ชุมพร               น้อย          ทรงตัว
ตาปี           X 37A      บ้านย่านดินแดง          พระแสง        สุราษฎร์ธานี          น้อย          ทรงตัว
คลองท่าดี       X 203      บ้านนาป่า              เมือง          นครศรีธรรมราช       น้อย          ลดลง
คลองอู่ตะเภา    X.44       บ้านหาดใหญ่ใน          เมือง          สงขลา              น้อย          ทรงตัว
ปัตตานี         X 40A      ท้ายเขื่อนปัตตานี         เมือง          ยะลา               น้อย          เพิ่มขึ้น
โก-ลก         X 119A     บ้านปาเสมัส            สุไหงโก-ลก     นราธิวาส            น้อย          ลดลง
คลองตันหยงมัส   X 73       บ้านตันหยงมัส           ระแงะ         นราธิวาส            น้อย          ลดลง
สายบุรี         X.184      บ้านซากอ              ศรีสาคร        นราธิวาส            น้อย          ทรงตัว
คลองนาท่อม     X 170      บ้านคลองลำ            ศรีนครินทร์      พัทลุง               น้อย          ลดลง
              X 68       บ้านท่าแค              เมือง          พัทลุง               น้อย          ลดลง

แม่น้ำเจ้าพระยา (C.2) มีปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ 495 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชล ประทานฝั่งตะวันออก 188 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตก 207 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน)

ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 45 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำการระบายเฉลี่ย 11 ลบ.ม.ต่อวินาที(เท่ากับเมื่อวาน)

3. คุณภาพน้ำ

กรมประทาน ได้ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ในก รดูแลรักษา คุณภาพน้ำ ทำการตรวจวัด ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552

แม่น้ำ          จุดเฝ้าระวัง                        ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do)           ค่าความเค็ม       เกณฑ์
                                               (มิลลิกรัม/ลิตร)                      (กรัม/ลิตร)
เจ้าพระยา      ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี                                      2.12               0.109       ปกติ
ท่าจีน          ที่ว่าการอำเภอสามพราน จ.นครปฐม                         1.38               0.176       ค่า Do

ต่ำกว่าเกณฑ์

แม่กลอง        ปากคลองดำเนินสะดวก จ.ราชุบรี                           4.30               0.044       ปกติ
หมายเหตุ : ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Do) ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร /ค่าความเค็ม น้ำสำหรับการเกษตร ไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร

ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2551/2552

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 มีพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ จำนวน 12.27 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 10.70 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 8.18 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.52 ล้านไร่) และพืชไร่-ผัก จำนวน 1.57 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.44 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 1.13 ล้านไร่ )

หน่วย:ล้านไร่

                                      คาดการณ์พื้นที่ปลูก                             พื้นที่ปลูกจริง
                        ข้าวนาปรัง        พืชไร่-ผัก       รวม        ข้าวนาปรัง        พืชไร่-ผัก        รวม
ในเขตพื้นที่
ชลประทาน                    8.79           0.76      9.55            8.18        (93.06)       0.44
                                                                  (57.89)           8.26    (90.26)
นอกเขตพื้นที่ชลประทาน           2.82           2.04      4.86            2.52        (89.36)       1.13
                                                                  (55.39)           3.65    (75.10)
รวม                        11.61           2.80     14.41           10.70        (92.16)       1.57
                                                                  (56.07)          12.27    (85.15)
หมายเหตุ ( )  หมายถึง ร้อยละของพื้นที่คาดการณ์

ผลกระทบด้านการเกษตร (ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2551 - ปัจจุบัน)

ด้านพืช 5 จังหวัด 12 อำเภอ ได้แก่ จังหวัด เชียงราย แพร่ ลำปาง เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 26,219 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 181,029 ไร่ แยกเป็น ข้าว 29,386 ไร่ พืชไร่ 60,847 ไร่ และพืชสวนและอื่นๆ 90,796 ไร่ โดยจังหวัด เพชรบุรี และจังหวัดลำปางได้ใช้เงินผู้ว่าราชการจังหวัด และอ.บ.ต.ช่วยเหลือแล้ว

ด้านปศุสัตว์ 1 จังหวัด 1 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี เกษตรกรประสบภัย 23 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 975 ตัว แยกเป็น โค 974 ตัว และแพะ 1 ตัว

ด้านประมงยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบ

การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร

1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ 54 จังหวัด 766 เครื่อง โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาค เหนือ 16 จังหวัด 201 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด 307 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง 15 จังหวัด 225 เครื่อง และภาคใต้ 5 จังหวัด 33 เครื่อง

2. สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 16,260 กิโลกรัม

3. ผลการปฏิบัติการฝนหลวง

สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ขึ้นปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 4-26 กุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 5 ศูนย์ (5 หน่วยปฏิบัติการ) จำนวนรวม 17 วัน ขึ้นบิน 252 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่ 12 จังหวัด สรุปผลการปฏิบัติการได้ดังนี้

หน่วยปฏิบัติการ        วันที่เริ่มปฏิบัติการ        ขึ้นบิน                                ผลการปฏิบัติการ
                                                 จำนวนวันฝนตก    ปริมาณฝน(ม.ม.)     จังหวัดที่ฝนตก
1.เชียงใหม่          10 ก.พ. 52             15               1              3.5     ตาก
2.นครสวรรค์         10 ก.พ. 52              8               3         0.1-15.7     กาญจนบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา
3.ระยอง            16 ก.พ. 52              7               4         0.2-46.4     ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี

สระแก้ว ปราจีนบุรี

4.หัวหิน              4 ก.พ. 52             13                       ไม่มีรายงานฝนตก
ประจวบคีรีขันธ์
5.ชุมพร             19 ก.พ. 52              2               1          0.4-1.6     พังงา กระบี่
รวม                                       17               6         0.2-14.5     12 จังหวัด

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มีนาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ