ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.10/12 อ่อนค่าจากช่วงเช้าหลังมีเงินไหลออก คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.05-34.20

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 29, 2017 17:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.10/12 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก
ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.04 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเย็นนี้เงินบาทอ่อนค่าไปจากช่วงเช้า แต่โดยรวมตลอดทั้งวันเงินบาทก็ยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ โดยสาเหตุที่ เงินบาทอ่อนค่านั้น ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากเงินทุนไหลออก

"ทั้งวันก็ยังอยู่ในกรอบแคบ แต่ก็อ่อนค่าไปจากช่วงเช้า เพราะมี flow ไหลออก แต่ส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นการ adjust rate หลังจากที่บาทแข็งค่าไปค่อนข้างมากแล้ว" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.05-34.20 บาท/ดอลลาร์ และคงต้องติดตาม flow ในช่วงปลายเดือนด้วย

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.38 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1180 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1166 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,568.17 จุด ลดลง 1.10 จุด (-0.07%) มูลค่าการซื้อขาย 31,216 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 422.34 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตามที่เงินบาทแข็งค่าค่อนข้างเร็วในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะนับ
ตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 24 พ.ค.นั้น ธปท.ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเห็น
ว่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินทั้งภูมิภาค หลังการเผยแพร่รายงานการ
ประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ ที่ชี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐน่าจะยังอยู่ในแนวทางค่อยเป็นค่อยไป
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มแข็งค่าและเคลื่อนไหวใน
กรอบ 33.90-34.25 ต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดที่ 34.06 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเงินบาททำสถิติแตะระดับแข็งค่าสุดนับตั้งแต่
เดือน ก.ค.58
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เชื่อว่า ธปท. จะดูแลสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ได้ โดยเบื้องต้น
มองว่าค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่ สศค.เคยคาดการณ์ไว้
  • สศค.เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน เม.ย.60 ว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง สะท้อน
จากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเป็นบวกและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่แท้
จริงที่ขยายตัวได้ในระดับสูง ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง
  • กระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560
(ตุลาคม 2559 – เมษายน 2560) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน
1,223,594 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,946 ล้านบาท หรือ 0.4%
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ระบุว่า ยังคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในปี
60 จะเติบโตได้ประมาณ 3.5% แม้การส่งออกเดือนเม.ย.60 จะขยายตัว 8.49% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) เนื่อง
จากยังมีปัจจัยเชิงลบต่อการส่งออกของไทยที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
  • รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาเรื่องการปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณค่ากลางหยวนต่อดอลลาร์ โดยจะเพิ่มปัจจัยที่ตรงข้ามกับ
วัฏจักรเศรษฐกิจ" (counter-cyclical factor) โดยมีเป้าหมายที่จะลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่จีนยังคงเดิน
หน้าผลักดันให้สกุลเงินหยวนมีบทบาทมากขึ้นในตลาดการเงินของเอเชีย
  • ธนาคารแบงก์ ออฟ คอมมิวนิเคชั่นส์ของจีน คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จีนปรับตัวสูงขึ้นในเดือนพ.ค.
อันเนื่องจากผลกระทบตกค้าง ถึงแม้ว่าราคาอาหารปรับตัวลง
  • กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า มูลค่าการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) นอกภาคการเงินของจีน ดิ่งลง
70.8% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 5.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก เผยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3

ครั้งในปีนี้ ซึ่งรวมถึงมติการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมานั้น ถือเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล ในขณะที่เศรษฐกิจ

สหรัฐอยู่ในภาวะที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายของเฟด ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่นโยบายการเงินจะต้องเดินหน้าไปกับสภาพเศรษฐกิจที่

ไม่ได้ร้อนแรงหรือซบเซามากจนเกินไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ