รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - มกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 8, 2012 11:14 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อัตราร้อยละ 2.8 โดยได้รับปัจจัยทางบวกที่สาคัญจากปริมาณการลงทุนของภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตปรับเพิ่มขึ้นที่อัตราร้อยละ 0.4 ในขณะที่อัตราการใช้กาลังการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนธันวาคม 2554
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับลดลงในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ในเดือนพฤศจิกายน 2554
  • ในเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ำมัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม 2554 ปรับลดลงมาที่ร้อยละ 8.5 โดยมีประชากรได้รับการจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) เพิ่มขึ้น 200,000 คน
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 47.8 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในเดือนมกราคม 2555 ค่าเงินดอลลาร์มีค่าคงตัวเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโร เงินปอนด์ เงินหยวน และเงินบาท ในขณะที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยน
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ประธานาธิบดีโอบามา ได้ประกาศในระหว่างการแถลงนโยบายประจำปีว่าจะผลักดันให้มีการปฎิรูปการจัดเก็บภาษีรายได้ของประชากรสหรัฐฯ เพื่อความเท่าเทียมกัน (Buffet Rule) โดยจะปรับขึ้นอัตราภาษีของผู้ที่มีรายได้มากกว่า 1 ล้านเหรียญ สรอ. ต่อปี ให้ต้องจ่ายภาษีรายได้ในอัตราร้อยละ 30
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มีการประมาณการว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 0.00-0.25 ไปจนถึงปลายปี 2557 พร้อมทั้งยังคงดาเนินมาตรการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมจากเงินต้นทุนที่ได้รับคืนจากตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่ โดยเปลี่ยนแปลงประเภทของตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางถือครองอยู่ เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2554

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.8

  • ปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ได้แก่ (1) ปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชนที่ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.94 ในไตรมาสที่ 4 (2) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่แท้จริงที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะด้านสินค้าคงทนที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 (3) ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 (4) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 (5) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการลงทุนด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ (Equipment and Software) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนธันวาคม 2554

  • ในเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหลังจากที่ปรับลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งส่งผลให้ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ขยายตัวด้วยอัตรารวมด้วยอัตราร้อยละ 3.1 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนธันวาคมหลังจากที่ปรับลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือนพฤศจิกายน
  • อัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 78.1 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของการใช้กาลังการผลิตในระหว่างปี 2515-2553 อยู่ร้อยละ 2.3 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2553 คิดเป็นร้อยละ 80.4)

การใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับคงที่

  • ภาพรวมด้านการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.2 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 และ 0.2 ในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ตามลาดับ ในขณะที่ ด้านรายได้ของประชากรสหรัฐฯ อยู่ในระดับคงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยรายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ปรับลดลงในอัตราที่ต่ากว่าร้อยละ 0.1 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนตุลาคม
  • ในเดือนธันวาคม 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน ซึ่งส่งผลให้อยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี

อัตราการว่างงานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 8.5

  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม 2554 ปรับลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 8.5 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 153.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.0 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่สหรัฐฯ มีจานวนประชากรได้รับจ้างงานเพิ่มขึ้นจานวน 176,000 คน มาอยู่ที่ระดับ 140.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 58.5 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรว่างงานทั้งหมด 13.1 ล้านคน
  • ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 200,000 คน โดยการปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาจากการขยายตัวของการจ้างงานเกี่ยวกับการขนส่ง โกดังสินค้า ธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิต สาธารณสุข และการทาเหมืองแร่
  • มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 12.6) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 11.1) และกรุงวอชิงตัน ดีซี (ร้อยละ 10.4) ตามลาดับ
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.8 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนพฤศจิกายน

  • ในเดือนพฤศจิกายน 2554 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการขาดดุลได้ปรับเพิ่มขึ้น 4.5 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 10.4 จากเดือนตุลาคมที่ระดับ 43.3 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 47.8 พันล้านเหรียญ สรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ปรับลดลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการปรับลดลง 1.5 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 177.8 พันล้านเหรียญ สรอ. มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 2.9 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 225.6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนพฤศจิกายน
  • ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนพฤศจิกายน 2554 มูลค่าการขาดดุลกับจีนปรับลดลง ในขณะที่การขาดดุลกับสหภาพยุโรปและเม็กซิโกปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
US Trade              China             Europe                Mexico
                Nov 11  Oct 11     Nov 11    Oct 11    Nov 11    Oct 11
Export            9.74    8.37      22.0      23.4      17.7      17.6
Import            36.8    37.8      31.7      31.4      23.2      22.9
Trade Balance    -26.9   -28.1     -9.73     -7.99     -5.51     -5.26
ที่มา: สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)


นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง
          ประธานาธิบดีแถลงนโยบายการคลังในปี 2555 ใน State of the Union
          - เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้รายงานการแถลงนโยบายประจาปี (State of Union) ต่อสภาคองเกรส ซึ่งประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวเน้นถึงนโยบายด้านการคลังที่ต้องการปฎิรูปการจัดเก็บภาษีของประชากรสหรัฐฯ เพื่อความเท่าเทียมกัน โดยได้มีการยกตัวอย่างของนาย Warren Buffet นักลงทุนชื่อดังที่เสียภาษีในอัตราที่ต่ากว่าลูกจ้างในบริษัทของเขา ซึ่งนโยบายดังกล่าวประกอบด้วย
          1. การกาหนดอัตราภาษีขั้นต่าของผู้ที่มีรายได้มากกว่า 1 ล้านเหรียญ สรอ. ต่อปี ให้ต้องจ่ายภาษีรายได้รวมในอัตราร้อยละ 30 พร้อมทั้งยกเลิกเงินสนับสนุนจากรัฐบาลต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือด้านการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ด้านการประกันสุขภาพ กองทุนเพื่อผู้เกษียณอายุ สาหรับประชากรในกลุ่มดังกล่าว
          2. การห้ามการปรับเพิ่มภาษีรายได้ของผู้ที่มีรายได้ต่ากว่า 250,000 เหรียญ สรอ. ต่อปี ตลอดจนจะขยายเวลาการลดหย่อนภาษีหักจากค่าจ้าง (Payroll taxes) สาหรับประชากรในกลุ่มดังกล่าว

          อีกทั้ง ประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวถึงนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาการว่างงานของสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วย 1) การสนับสนุนให้มีการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ 2) การจัดตั้งโครงการฝึกอบรมวิชาชีพและเสริมสร้างรากฐานการศึกษาที่ดีให้กับประชากรสหรัฐฯ 3) การลดความไม่เป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการส่งออก และ 4) การสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมด้านพลังงานและเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

นโยบายทางการเงินและอัตราดอกเบี้ย
          ธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าจะตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0-0.25 ไปจนถึงปลายปี 2557
          - ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) ในปลายเดือนมกราคม 2555 คณะกรรมการ FOMC มีมติให้ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระหว่างร้อยละ 0 และร้อยละ 0.25 เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและสร้างเสถียรภาพทางราคา อีกทั้ง ได้มีการคาดการณ์ว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปลายปี 2557
          - คณะกรรมการ FOMC มีมติให้ยังคงดาเนินมาตรการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมจากเงินต้นทุนที่ได้รับคืนจากตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถืออยู่ โดยเปลี่ยนแปลงประเภทของตราสารหนี้ที่ธนาคารกลางถือครองอยู่ เพื่อที่จะดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงินสหรัฐฯ ให้ปรับลดต่าลง
          - ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายหลังจากการประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยการคาดการณ์ดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงสาคัญ ได้แก่ (1) ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2555 จากเดิมที่อัตราร้อยละ 2.5-2.9 เป็นอัตรา ร้อยละ 2.2-2.7 (2) ปรับลดอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในปี 2555 จากที่ระดับร้อยละ 8.5-8.7 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.2-8.5 (3) ปรับระดับเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในปี 2555 จากที่ระดับร้อยละ 1.4-2.0 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4-1.8 และ (4) ปรับเพิ่มระดับเงินเฟ้อไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามันของสหรัฐฯ ในปี 2555 จากที่ระดับ ร้อยละ 1.5-2.0 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5-1.8

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
          ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร เงินปอนด์ และเงินเยน
          - ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในเดือนมกราคม 2555 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบเงินยูโร เงินปอนด์ แม้ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลดังกล่าวในช่วงกลางเดือนมกราคมแต่ก็อ่อนตัวลงในช่วงปลายเดือน ในขณะที่อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยน ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินหยวนอยู่ในระดับคงที่ ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 มกราคม 2555 อยู่ที่ 1.3106 USD/EUR, 1.5692 USD/GBP, 0.0129 USD/JPY, และ 0.1584 USD/CNY
          - เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าคงที่เมื่อเทียบกับเงินบาทในเดือนธันวาคม 2554 แม้ว่าจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางเดือนมกราคม ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 26 มกราคม 2555 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 31.2500 THB/USD ลดลงเล็กน้อยจาก 31.4653 THB/USD เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554


          ที่มา: www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ