เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2557

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 29, 2015 17:02 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2557 มีสัญญาณดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า จากเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ ทั้งจากการใช้จ่ายภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกสินค้า ขณะที่เศรษฐกิจด้านอุปทานผ่านภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน แม้ว่าภาคเกษตรกรรมยังคงมีสัญญาณชะลอตัว”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2557 มีสัญญาณดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าสะท้อนได้จากจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนธันวาคม 2557 ที่แม้ว่าจะกลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.9 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 0.9 ต่อเดือนจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศ ขยายตัวร้อยละ 0.8 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการนำเข้ายังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.5 ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ หดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.3 ต่อไตรมาส สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2557 ยังคงหดตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -3.3 ต่อปีและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อเดือน ตามการปรับตัวดีขึ้นของยอดขายรถจักรยานยนต์ในส่วนภูมิภาค ที่หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -7.8 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนธันวาคม 2557 ที่ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -28.0 ต่อปีแต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 10.3 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวร้อยละ -27.9 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อไตรมาสสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนธันวาคม2557 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 70.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต่อเนื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยเฉพาะเม็ดเงินที่สนับสนุนเกษตรกร รวมถึงโครงการลงทุนซ่อมสร้างต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อการจ้างงานของแต่ละท้องถิ่น และราคาน้ำมันภายในประเทศปรับตัวลดลง ทำให้ราคาต้นทุนสินค้าปรับตัวลดลง ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 69.6 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 69.3 นอกจากนี้ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนธันวาคม 2557 ขยายตัวถึงร้อยละ 18.3ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2557ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อไตรมาส

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                 2556             2556                                   2557
                                               Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2     Q3     Q4    พ.ย.   ธ.ค.    YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)            -0.7   6.8   -0.3   -7.3   -1.1   -0.2    0.3    2.3   -0.9    0.6   -1.9     0.4
%qoq_SA / %mom_SA                            -2.6   -1.9   -1.2    4.7   -1.8   -1.2    0.6    1.3   -4.2    0.9       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)         4.5   4.6    7.7    6.2    0.0   -3.9    0.4    0.4    8.7    1.7   18.3     1.5
%qoq_SA / %mom_SA                            -0.5   -1.4    0.2    0.7   -3.4    3.4    0.3    7.8   -4.4    9.6       -
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)           -6.1  97.2   -3.3  -24.8  -39.7  -55.3  -37.7  -38.3  -27.9  -27.7  -28.0   -41.4
%qoq_SA / %mom_SA                             2.9  -28.4   -4.7  -14.2  -23.9    0.8   -6.6    0.2   -3.9   10.3       -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)       -6.0   5.4   -6.2   -8.7  -14.9  -20.8  -18.2   -8.1   -7.8  -12.0   -3.3   -14.3
%qoq_SA / %mom_SA                            -0.9   -4.8   -5.3   -4.5   -8.0   -2.0    6.7   -4.1   -6.2    5.2       -
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                     70.2  73.8   72.8   69.3   64.9   59.9   61.2   69.3   69.6   68.8   70.5    64.5

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนธันวาคม 2557มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนธันวาคม 2557กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อเดือนอย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนยังคงหดตัวร้อยละ -3.1 ต่อปีขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2557 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -16.1 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA)พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อเดือนทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ -15.8 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาสสำหรับการลงทุนหมวดภาคเอกชนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนธันวาคม 2557 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี และนับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งที่ 2 ของปี 2557 หลังจากที่มีการขยายตัวเป็นบวกเมื่อเดือนกันยายน 2557 และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวได้ร้อยละ 1.6 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อไตรมาสเช่นเดียวกับยอดขายปูนซิเมนต์ในเดือนธันวาคม 2557 ที่กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกของปี 2557 โดยขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปีและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อเดือนอย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 4 ปี 2557ยอดขายปูนซิเมนต์ยังคงหดตัวร้อยละ -4.8 ต่อปี

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                  2556             2556                                   2557
                                               Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     Q2     Q3     Q4    พ.ย.   ธ.ค.    YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)    18.1  36.2   11.2   21.4    9.4   -5.6   -5.9   -2.1    1.6   -7.9   12.0    -2.8
%qoq_SA / %mom_SA                             2.3   -2.0    5.3    3.6  -11.3   -3.0    9.3    5.5   -3.8   14.0       -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)               8.3  15.9   14.6    3.0    0.3   -2.4   -3.0   -2.9   -4.8   -8.8    0.2    -3.2
%qoq_SA / %mom_SA                             0.6    1.2   -2.0    0.7   -2.0    0.5   -2.2   -1.4   -2.2    0.1       -
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)        -8.4  19.4    3.2  -26.2  -24.1  -36.6  -30.6  -20.4  -15.8  -17.4  -16.1   -26.8
%qoq_SA / %mom_SA                            -1.1   -8.2  -14.0   -3.8  -15.6   -1.4    0.0    0.5    1.1    3.9       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                -5.9   3.7   -1.5   -7.9  -16.5  -14.1  -12.6    0.0   -3.1   -8.5    2.9    -8.4
%qoq_SA / %mom_SA                            -9.6    0.2   -6.7   -1.6   -6.4    1.8    6.9   -5.4   -6.8    8.2       -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักเครื่องบิน             -10.2  -0.7  -11.2  -10.0  -18.0  -11.4   -4.4   -4.0    1.1   -3.9    6.2    -5.7
 เรือและรถไฟ (%yoy)
%qoq_SA / %mom_SA                            -8.0   -5.6   -0.7   -5.0   -0.4    1.8    0.0   -0.4   -2.5    7.3       -

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2557 สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ผ่านการขาดดุลงบประมาณโดยทางด้านการเบิกจ่ายงบประมาณพบว่ารัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนธันวาคม 2557 ได้จำนวน 270.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -14.6 ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 240.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -15.2 ต่อปี แบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 223.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 17.7 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -83.8 ต่อปี ทั้งนี้ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 (ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558) สามารถเบิกจ่ายได้ 766.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 29.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 (2,575.0 พันล้านบาท) สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาลพบว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนธันวาคม 2557 ได้จำนวน 170.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยรายการสำคัญ ดังนี้ (1) ภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -1.6ต่อปี โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี สะท้อนการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และ (2) ภาษีฐานรายได้จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ -10.9 ต่อปี โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ1.9 ต่อปี ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ลดลงร้อยละ-17.2 ต่อปี ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 (ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)ได้จำนวน 507.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ทั้งนี้ ดุลงบประมาณในเดือนธันวาคม 2557 ขาดดุลจำนวน -83.6 พันล้านบาท ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 (ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558) ขาดดุลจำนวน -344.6 พันล้านบาท

เครื่องชี้ภาคการคลัง                 FY2557                  FY2557                                      FY2558
(พันล้านบาท)                                  Q1/      Q2/     Q3/     Q4/    กรอบวงเงิน      Q1/    พ.ย.    ธ.ค.      YTD
                                           FY57     FY57    FY57    FY57     งบประมาณ     FY58
รายได้สุทธิของรัฐบาล               2,073.9    503.5    437.2   608.3   525.0      2,325.0    507.0   162.9   170.4    507.0
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)
 (%y-o-y)                         -4.1     -1.0     -6.9    -5.2    -3.1          2.2      0.7    -2.1     7.5      0.7
รายจ่ายรัฐบาลรวม                 2,460.0    831.1    553.0   514.7   561.2      2,575.0    844.1   205.8   270.7    573.4
(%y-o-y)                           2.4      5.7     -5.6     6.8     2.2          2.0      1.6   -19.3   -14.6     11.5
ดุลเงินงบประมาณ                   -390.0   -334.7   -115.9   105.5   -44.9       -250.0   -344.6   -69.7   -83.6   -344.6

4. การส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2557 กลับมาขยายตัวอีกครั้งโดยในเดือนธันวาคม 2557 การส่งออกสินค้าของไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 18.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวร้อยละ5.1 ต่อเดือน โดยการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้ดีมีปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกสินค้าหมวดอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ตามการขยายตัวของการส่งออกสินค้ารถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นสำคัญ และหมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี ตามการขยายตัวของการส่งออกสินค้าข้าว น้ำตาล อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป เป็นสำคัญ และ สำหรับตลาดส่งออกหลักที่มีการส่งออกได้ดีในเดือนธันวาคม 2557 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และกลุ่มตลาดอินโดจีน (CLMV) ที่ขยายตัวร้อยละ 13.2 5.9 1.4 และ 3.2 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 การส่งออกสินค้าของไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 57.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวได้ร้อยละ3.8 ต่อไตรมาส สำหรับสินค้าที่ส่งออกได้ดีในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ได้แก่ สินค้าในหมวดเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ และอุตสาหกรรมเกษตร ที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 6.8 2.5 และ 8.8 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ได้แก่ กลุ่มอาเซียน-9 สหรัฐอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และกลุ่มอินโดจีน ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 7.2 12.9 20.4 และ 6.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนธันวาคม 2557 มีมูลค่าอยู่ที่ 17.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -8.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 การนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 56.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -5.6 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่าสูงกว่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลทำให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนธันวาคม 2557 เกินดุลที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทำให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 เกินดุลที่ 1.5พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก                    2556                 2556                                        2557
(สัดส่วนการส่งออกปี 56>>ปี 57)               Q1       Q2      Q3      Q4      Q1     Q2     Q3     Q4     พ.ย.    ธ.ค.   YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)             -0.3    3.9     -2.2    -1.7    -1.0    -1.4    0.0   -1.8    1.6    -1.0     1.9   -0.4
   %qoq_SA / %mom_SA              -    -0.5     -2.4     1.6     0.4    -1.0   -0.8   -0.4    3.8    -3.6     5.1      -
 1.จีน (11.9%>>>11.0%)            1.4    7.3    -13.4    -0.3    12.9    -4.5   -4.2   -6.3  -15.3   -18.7   -18.8   -7.9
 2.สหรัฐฯ (10.0%>>>10.5%)         0.8    0.8     -3.5     0.7     5.2     0.6    4.9    3.4    7.2     2.7    13.2    4.1
 3.ญี่ปุ่น (9.7%>>>9.6%)            -5.2    1.5     -6.3   -10.1    -5.5     0.7   -6.4   -1.0   -0.6   -10.7     5.9   -1.9
 4.สหภาพยุโรป (8.8%>>>9.2%)       2.7    7.0     -5.3     3.3     6.3     4.8   10.9    2.0    1.7    -5.2     1.4    4.7
 5.ฮ่องกง (5.8%>>>5.5%)           0.7   11.2      7.7    -1.4   -12.0    -1.8    1.7  -13.5   -1.8     1.8    -9.5   -4.4
 6.มาเลเซีย (5.7%>>>5.6%)         4.7   -0.8      5.8    12.4     2.0    -0.1   -1.4   -5.0   -1.0    11.7    -7.8   -1.9
 PS.อาเซียน-9 (26.0%>>>26.1%)     5.0    5.9      2.4    10.8     1.2    -5.4   -0.1    1.1    5.2     9.0    -0.6    0.2
 PS.อาเซียน-5 (17.6%>>>17.0%)     2.0    5.4     -0.7    11.2    -7.1   -11.0   -4.1   -4.2    4.3     9.0    -2.9   -3.9
 PS.อินโดจีน-4 (8.3%>>>9.1%)      11.8    7.0      9.9    10.0    20.3     7.0    8.8   13.6    6.8     8.9     3.2    9.0

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน แม้ว่าภาคเกษตรกรรมยังคงมีสัญญาณชะลอตัวโดยภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2557 พบว่า หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าขยายตัวได้ร้อยละ 3.6 ต่อเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีในเดือนธันวาคม 2557 มาจากอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ เครื่องแต่งกาย และอาหาร เป็นสำคัญ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ เครื่องประดับ ยานยนต์ ปิโตรเลียม และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าขยายตัวได้ร้อยละ 2.7 ต่อไตรมาส โดยอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 4 ได้แก่ อุตสาหกรรมวิทยุโทรโทรทัศน์ เครื่องแต่งกาย และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2557ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 92.7 โดยเป็นผลมาจากคำสั่งซื้อและยอดขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแฟชั่น อาหาร และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับการจัดงานมอเตอร์เอ็กโป 2014 ซึ่งส่งผลดีต่อยอดขายในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 88.2สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนธันวาคม 2557 ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -4.8 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดธัญพืชเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปี รวมทั้งผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสับปะรดโรงงานที่ปรับตัวลดลง ทำให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 หดตัวร้อยละ -3.5 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกพบว่าหดตัวที่ร้อยละ -0.8 ต่อไตรมาส สำหรับภาคบริการ สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.84 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 11.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 นับจากเดือนตุลาคม 2557หลังจากที่หดตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อเดือนโดยนักท่องเที่ยวจากจีนและมาเลเซียมีสัดส่วนสูงสุดโดยขยายตัวร้อยละ 66.4 และ 33.2 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 7.45 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก พบว่าขยายตัวร้อยละ 13.9 ต่อไตรมาส

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน             2556                2556                                      2557
                                            Q1      Q2     Q3     Q4      Q1      Q2      Q3     Q4    พ.ย.    ธ.ค.   YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)      -2.2     6.6   -10.3   -7.4    0.5     3.1     5.4     1.8   -3.5   -2.9    -4.8    1.0
   %qoq_SA / %mom_SA                       5.8   -12.1    3.0    4.8     8.3    -9.5    -0.7   -0.8   -8.9    -3.4      -
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)        -3.3     2.9    -5.1   -3.6   -7.1    -7.0    -4.8    -3.9   -2.4   -3.7    -0.4   -4.6
   %qoq_SA / %mom_SA                      -3.3    -4.9   -0.5    1.5    -3.3    -2.7    -3.7    2.7   -1.1     3.6      -
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)            18.8    22.1    24.3   21.4    9.3    -9.0   -15.9   -10.1    7.0    2.5    11.8   -6.7
   %qoq_SA / %mom_SA                 -     6.1     6.7    0.3   -3.9   -11.1    -2.1     7.6   13.9   -1.9     4.6      -

6. ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคงโดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม2557 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.6ต่อปี จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.3จากต้นทุนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลงต่อเนื่อง และการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มแก๊สโซฮอล์ประกอบกับราคาเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำและไข่ไก่ลดลงจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการสินค้าดังกล่าวค่อนข้างทรงตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.7ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และ 1.6 ต่อปี ตามลำดับสำหรับอัตราการว่างงานเดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 2.20 แสนคน ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2557 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPล่าสุด ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน2557 อยู่ที่ร้อยละ 46.1ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ ซึ่งสะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม2557 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 157.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ          2556                  2556                                      2557
                                          Q1      Q2      Q3      Q4     Q1     Q2      Q3      Q4    พ.ย.    ธ.ค.    YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)               2.2      3.1     2.3     1.7     1.7    2.0    2.5     2.0     1.4    1.3     0.6     1.9
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)              1.0      1.5     1.0     0.5     0.8    1.2    1.5     1.8     1.6    1.6     1.7     1.6
อัตราการว่างงาน (yoy%)            0.7      0.7     0.7     0.8     0.6    0.9    1.0     0.8     0.6    0.5     0.6     0.8
หนี้สาธารณะ/GDP                  45.7     44.2    44.5    45.5    45.7   46.5   47.1    47.2    46.1*  46.1     n.a.   46.1
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)         -2.5      0.5    -6.7     0.8     2.9    8.2   -0.4    -0.5     4.3**  1.7     n.a.   11.6
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)       167.2    177.8   170.8   172.3   167.2  167.5  168.2   161.6   157.1  158.5   157.1   157.1
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)     23.0     23.7    23.7    21.2    23.0   23.6   23.7    24.7    23.1   23.7    23.1    23.1

*ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2558

**ข้อมูล 2 เดือนไตรมาสที่ 4 ปี 2558

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ