รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 17, 2015 11:42 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2558

Summary:

1. บล.ภัทรลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 58 เหลือขยายตัวร้อยละ 2.5

2.ส.อ.ท. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 58 จะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 3.0

3. มูลค่าการส่งออก-นำเข้าสิงคโปร์ เดือน มิ.ย. 58 หดตัว

1. บล.ภัทรลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 58 เหลือขยายตัวร้อยละ 2.5
  • นายศุภวุฒิสายเชื้อกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ภัทรประกาศลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 58 เหลือเพียงร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 3.3 ในประมาณการครั้งก่อน โดยปัจจัยที่ทำให้ปรับลดประมาณการคือการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวโดยยังคงต้องติดตามผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนและภาวะภัยแล้งที่มีต่อเศรษฐกิจไทยด้วยโดย นายศุภวุฒิมองว่ามีโอกาสที่ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้นโยบายในช่วง 2 เดือนข้างหน้า
  • สศค. วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะขยายตัวลดลงจากประมาณการครั้งก่อน เป็นผลส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจโลกโดยรวมที่ชะลอตัวทำให้มูลค่าส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 58 หดตัวถึงร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกไปจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชียหดตัวมากอีกทั้งปัญหาฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์จีนอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินของไทยผ่านช่องทางความเชื่อมั่นนักลงทุนที่มีต่อตลาดเกิดใหม่ อีกทั้งอาจกระทบการส่งออกสินค้าและบริการของไทยไปยังจีนปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 58 อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องโดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 58 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยขยายตัวถึงร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนอีกทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำและโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความคืบหน้า ทั้งนี้ สศค. จะประกาศประมาณการเศรษฐกิจไทยครั้งต่อไปในวันที่ 29 ก.ค. 58 นี้
2.ส.อ.ท. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 58 จะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 3.0
  • นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 58 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยลบที่กระทบเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ ได้แก่ การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภัยแล้งที่มีผลต่อภาคการเกษตรและการส่งออก ทั้งนี้ ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นยังไม่มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมได้มีการเตรียมพร้อมรับมืออย่างดี
  • สศค.วิเคราะห์ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 58 ยังคงจะต้องเผชิญความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศต่อไป โดยสำหรับด้านภายนอกประเทศ การฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการชะลอลงของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยด้วยสัดส่วนร้อยละ 11.0 ของการส่งออกรวมยังคงเป็นปัจจัยลบสำคัญ ในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ ปัญหาภัยแล้งที่แม้จะเริ่มคลี่คลายลงบ้างจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ เช่น การทำฝนหลวง และการขุดบ่อบาดาลในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการประกอบกิจกรรมการเกษตรของเกษตรกรที่ยังคงมีน้ำไม่เพียงพอในหลายพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ
3. มูลค่าการส่งออก-นำเข้าสิงคโปร์ เดือน มิ.ย. 58 หดตัว
  • มูลค่าการส่งออกสิงคโปร์เดือนมิ.ย. 58หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -5.8จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอาทิยูโรโซนสหราชอาณาจักรมาเลเซียฟิลิปปินส์ที่หดตัวต่อเนื่องส่วนมูลค่าการนำเข้าเดือนมิ.ย. 58หดตัวร้อยละ-31.3จากช่วงเดียวกันปีก่อนจากสินค้าหมวดเชื้อเพลิงและพลังงานเนื้อสัตว์สินค้าภาคการผลิตที่หดตัวเป็นหลักทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าที่หดตัวมากกว่าการส่งออกส่งผลให้ดุลการค้าเดือนดังกล่าวเกินดุลมูลค่า4.9พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • สศค. วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ซึ่งมีโครงสร้างการพึ่งพาการส่งออกเป็นสัดส่วนสำคัญถึงร้อยละ193.9ของGDP (ข้อมูลปี57) ส่งผลให้ยอดการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องมีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี58ซึ่งสอดคล้องกับGDP เบื้องต้นในไตรมาส2ปี58 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ1.7จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากร้อยละ2.8ในไตรมาสก่อนโดยเป็นผลจากภาคการผลิตที่หดตัวต่อเนื่อง3ไตรมาสติดต่อกันผนวกกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี58 ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี58จะขยายตัวร้อยละ2.9 (คาดการณ์ณเดือนเม.ย. 58) ซึ่งจากสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวอาจมีการปรับลดคาดการณ์ลงอีกในเดือนก.ค. 58นี้

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ