รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 2 ตุลาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 2, 2015 11:16 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 ตุลาคม 2558

Summary:

1. ฟิทช์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 58 และร้อยละ 3.5 ในปี 59

2. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -1.1

3. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน (Caixin)เดือน ก.ย. 58 ต่าสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง

1. ฟิทช์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.7 ในปี 58 และร้อยละ 3.5 ในปี 59
  • บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 58 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 และประเมินว่าสถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้นทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ร้อยละ 3.5 ในปี 59 นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตที่ร้อยละ 2.3 ในปีนี้ และปรับตัวดีขึ้นในปีหน้าเช่นเดียวกัน โดยจะเติบโตได้ร้อยละ 2.7
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในอัตราไม่สูงนักในปี 58 สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณฟื้นตัวได้ช้ากว่าคาดในปีนี้ โดยกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) ซึ่งรวมถึงไทยที่พึ่งพาการส่งออกในอัตราสูงต้องเผชิญความท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนแอ ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับต่า ท่าให้มูลค่าส่งออกสินค้าของประเทศเกิดใหม่ในเอเชียส่วนใหญ่หดตัวลง โดยในกรณีของไทย ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 58 หดตัวร้อยละ -4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งนับว่าเป็นการหดตัวในระดับกลางเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 58 ของอินโดนีเซียซึ่งหดตัวร้อยละ -12.7 สิงคโปร์ร้อยละ -7.1 เกาหลีใต้ร้อยละ -6.3 และจีนที่ร้อยละ -1.3 อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยทั้งภาคเศรษฐกิจจริงและภาคการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดีจึงท่าให้ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ฯ ยังคงระดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้ที่ระดับ BBB+
2.อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ -1.1
  • สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.ย. 58 ยังคงอยู่ในแดนลบที่ร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่ทรงตัวในระดับต่ำ กอปรกับราคาก๊าซหุงต้ม อาหารสดประเภทผักและผลไม้ และค่ากระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ปรับตัวลดลง ทำให้เฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี 58 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 58 เฉลี่ยที่ร้อยละ 1.1
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่อยู่ในแดนลบต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นอานิสงส์จากราคาน่ามันในตลาดโลกที่ลดลงตั้งแต่ปลายปี 57 เป็นต้นมา ส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศโดยรวมปรับลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ระดับราคาสินค้าที่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่าเป็นปัจจัยส่าคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยซึ่งมีภาคการบริโภคภาคเอกชนเป็นกลไกส่าคัญในการขับเคลื่อนถึงร้อยละ 50.9 ของ GDP (ข้อมูลปี 57) โดยสัญญาณเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ ณ ระดับราคาคงที่ ช่วง 8 เดือนแรกของปี 58 ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผนวกกับการจัดอันดับของเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) ในรายงานฉบับล่าสุดปี 58-59 ได้จัดให้เงินเฟ้อของไทยในด้านขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับ 1 ในโลกต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 2 บ่งชี้ถึงเสถียรภาพด้านราคาของไทยซึ่งอยู่ในระดับแข็งแกร่ง ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ ณ ก.ค. 58 ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 58 จะอยู่ที่ร้อยละ -0.6 และ 0.8 ตามล่าดับ และจะปรับการคาดการณ์อีกครั้งในช่วงปลายเดือนนี้
3. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน (Caixin )เดือน ก.ย. 58 ต่าสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง
  • Caixin เปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีน เดือน ก.ย. 58 อยู่ที่ระดับ 47.2 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 47.3 และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปีครึ่ง ทั้งนี้ ดัชนีฯ อยู่ระดับต่ำกว่า 50.0 จุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 สะท้อนการหดตัวต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมของจีน
  • สศค. วิเคราะห์ว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีนที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมจีนที่หดตัวต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากปัจจัยด้านอุปสงค์ ทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศที่ชะลอลง โดยหากพิจารณารายละเอียดแล้วพบว่าดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากดัชนีย่อยค่าสั่งซื้อใหม่ที่ลดลงเป็นหลัก สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของจีนที่บ่งชี้การชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชนในจีน โดยยอดค้าปลีกจีน เดือน ส.ค. 58 ขยายตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนแต่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องจากปีก่อนที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 12.0 อีกทั้งมูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 58 ที่หดตัวร้อยละ -5.6 เป็นอีกปัจจัยที่ท่าให้รายได้ของผู้ส่งออกจีนลดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศลดลงตาม ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ ณ เดือน ก.ค. 58 ว่าเศรษฐกิจจีนในปี 58 จะขยายตัวร้อยละ 6.9 ชะลอลงจากปี 57 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 และ สศค. จะปรับประมาณการเศรษฐกิจจีนอีกครั้งในช่วงปลายเดือนนี้

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ