รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 2, 2015 11:57 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2558

Summary:

1. ก.พาณิชย์ เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพ.ย.58 หดตัวร้อยละ -0.97

2. ครม.อนุมัติงบกลาง 1.1 พันลบ.ช่วยเกษตรกรที่ประสบภัยครอบคลุม 10 ภัย

3. อินโดนีเซียเผยเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. 58 ลดลงแตะร้อยละ 4.89 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

1. ก.พาณิชย์ เผยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพ.ย.58 หดตัวร้อยละ -0.97
  • กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 106.15 หดตัวร้อยละ -0.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เฉลี่ย 11 เดือน หดตัวร้อยละ -0.9 นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องถึงปลายปี 58 โดยอยู่ในกรอบหดตัวร้อยละ -1 ถึง -0.2 และในปี 59 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในกรอบร้อยละ 1 ถึง 2
  • สศค. วิเคราะห์ว่า 1) อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย.58 ที่ลดลง เนื่องจากการลดลงของราคาน้ามันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ อาทิ แก๊สโซฮอล์ 91 แก๊สโซฮอล์ 95 และน้ามันดีเซล ประกอบกับการลดลงของราคาผัก ผลไม้ รวมทั้งราคาเนื้อสุกร ไข่ไก่ ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่อุปสงค์ยังเท่าเดิม 2) สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 58 จะอยู่ที่ร้อยละ -0.9 (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -1.2 ถึง -0.7) ลดลงจากปีก่อนหน้า ตามราคาน้ามันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง อันเป็นผลมาจากอุปทานน้ามันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นตามการผลิตน้ามันในสหรัฐฯ ในขณะที่อุปสงค์น้ามันในตลาดโลกชะลอลงตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนจับตา: อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธ.ค.58
2. ครม.อนุมัติงบกลาง 1.1 พันลบ.ช่วยเกษตรกรที่ประสบภัยครอบคลุม 10 ภัยพิบัติ
  • โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติงบกลาง 1,106 ล้านบาท เพื่อช่วยเกษตรกรที่ประสบภัยด้านเกษตรในช่วง มี.ค.57-มิ.ย.58 ครอบคลุม 10 ภัย ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง ฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง วาตภัย ศัตรูระบาด โรคระบาด อัคคีภัย โรคระบาดของสัตว์ และ ภัยอื่นๆ ซึ่งจะครอบคลุมเกษตรกรที่ประสบภัยได้เกือบ 147,000 ราย อยู่ในกลุ่มปลูกพืช 143,000 กว่าราย กลุ่มประมง 2,306 ราย กลุ่มปศุสัตว 1,414 ราย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า 1) การที่รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านเกษตรนั้น จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม โดยเฉพาะด้านภาคการเกษตร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา พบว่าการผลิตภาคการเกษตร ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตภาคการเกษตรหดตัว สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในช่วง 10 เดือนแรก 58 หดตัวที่ร้อยละ -6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่หดตัว ได้ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลง และส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวตามไปด้วย 2) จากเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดด้านการบริโภคภาคเอกชน พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 58 ยังส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณการจ้าหน่ายรถจักรยานยนต์และรถยนต์นั่ง หดตัวที่ร้อยละ -1.5 และ -21.6 ตามล้าดับ และ 3) สศค. คาดว่า การบริโภคภาคเอกชน ปี 58 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.8 และ 2.5 ในปี 59 (ประมาณการ ณ ต.ค. 58) ซึ่งได้รับอานิสงค์จากภาวะการเงินที่ผ่อนคลาย และผลของมาตรการกระตุ้นการบริภาคและลงทุนของภาครัฐ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน จับตา: ผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 4 ปี 58
3. อินโดนีเซียเผยเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. 58 ลดลงแตะร้อยละ 4.89 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย.ของอินโดนีเซียปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.89 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนที่อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ซึ่งไม่รวมราคาผลิตภัณฑ์ที่มีความผันผวนและอยู่ในการควบคุม) อยู่ที่ร้อยละ 4.77 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 5.02
  • สศค. วิเคราะห์ว่า 1) การที่ระดับราคาสินค้าทั่วไปปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจอินโดนีเซีย หากรัฐบาลอินโดนีเซียจะใช้มาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมามีแนวโน้มชะลอลงจากปีก่อน สะท้อนจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วง 9 เดือนแรกปี 58 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 2) สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจ อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 47.8 ซึ่งยังคงอยู่ต้ากว่าระดับ 50.0 ต่อเนื่อง 13 เดือน บ่งชี้การหดตัวของภาคอุตสาหกรรม และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 58 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต้าสุดในรอบ 2 ปี จากผลผลิตเครื่องดื่มและเครื่องนุ่งห่มที่หดตัวสูง และ 3) สศค. คาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในปี 58 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ประมาณการ ณ เดือน ต.ค. 58 จับตา: อัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสสุดท้ายของ ปี 58

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ