รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 3, 2016 10:45 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559

Summary:

1. สภาผู้ส่งออกคาดส่งออกปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.0

2. กรมบัญชีกลาง เผย 4 เดือนแรกปีงบ 59 สามารถเบิกจ่ายแล้วร้อยละ 38.55

3. เกาหลีใต้เผย CPI เดือนม.ค.เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 จุดกระแสวิตกภาวะเงินฝืด

1. สภาผู้ส่งออกคาดส่งออกปี 59 ขยายตัวร้อยละ 2.0
  • นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มั่นใจว่า ภาพรวมการส่งออกในปี 59 จะขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 218,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 2.0 จากปี 58 ที่ติดลบร้อยละ 5.8 โดยรัฐบาลจะสามารถผลักดันการส่งออกได้ดีกว่ารัฐบาลทุกยุคที่ผ่านมา
  • สศค. วิเคราะห์ว่ามูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยในปี 58 มูลค่าการส่งออกหดตัวที่ -5.8 ตามการหดตัวในหลายกลุ่มสินค้าออก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ามันและเชื้อเพลิง และ อุตสาหกรรมเกษตร ตามราคาน้ามันและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ตกต้า แต่ยังขยายตัวได้ดีในหมวดยานพาหนะ ขณะที่ภาพรวมการส่งออกรายตลาดหดตัวในหลายประเทศ โดยเฉพาะคู่ค้าหลักได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป แต่ยังขยายตัวได้ดีในตลาดอินโดจีน (CLMV) อย่างไรก็ดี สินค้าส่งออกส้าคัญของไทยส่วนใหญ่ยังมีสถานการณ์การส่งออกที่ดีกว่าโลก อีกทั้งไทยส่วนแบ่งตลาดของไทยยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจากร้อยละ 1.40 ในปี 57 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.48 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า การส่งออกในปี 59 จะสามารถเติบโตได้ที่ ร้อยละ 0.1 (ประมาณการ ณ เดือน ม.ค. 59) จับตา: ราคาน้ามัน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้าส้าคัญไตรมาสแรกของปี 59
2. กรมบัญชีกลาง เผย 4 เดือนแรกปีงบ 59 สามารถเบิกจ่ายแล้วร้อยละ 38.55
  • อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 4 เดือนปีงบประมาณ 59 เบิกจ่ายได้ 1.05 ล้านล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2.72 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.55 โดยเป็นรายจ่ายประจำ เบิกจ่ายได้ 0.96 ล้านล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2.18 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.15 และรายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้ 88,184 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 544,354 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.20
  • สศค. วิเคราะห์ว่า 1) การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 4 เดือนแรกปี 59 ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนถึงความต่อเนื่องในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล 2) นอกจากนี้หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดของงบเบิกจ่ายที่ถือเป็นรายจังหวัด พบว่ามีการเบิกจ่ายงบลงทุนค่อนข้างสูง โดยในช่วง 3 เดือนแรกปี 59 การเบิกจ่ายงบลงทุนรายจังหวัดขยายตัวที่ร้อยละ 87.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูงในทุกภาค โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกที่ขยายตัวร้อยละ 159.7 และร้อยละ 145.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามล้าดับ บ่งชี้ว่ามีเม็ดเงินลงทุนได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยส้าคัญต่อการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยในปี 59 และ 3) สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 59 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 โดยมีช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.2 - 4.2 (ประมาณการ ณ เดือน ม.ค. 59) จับตา: การเบิกจ่ายของรัฐบาลและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 59
3. เกาหลีใต้เผย CPI เดือนม.ค.เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 จุดกระแสวิตกภาวะเงินฝืด
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ม.ค. 59 ขยับขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาวะเงินฝืด เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อยังอยู่ต่ำกว่าระดับร้อยละ 1 เป็นเวลานานติดต่อกันหลายเดือน
  • สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราการเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ที่ชะลอตัวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ามันในตลาดโลกที่ตกต้าต่อเนื่อง อีกทั้ง เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มเข้าสู่การเติบโตที่ชะลอตัว ตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่เติบโตต้ากว่าคาดการณ์ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นส้าคัญ โดยการบริโภคในประเทศเกาหลีใต้มีสัญญาณอ่อนแรง ตามรายได้ที่ลดลง เนื่องจากภาคการผลิตที่ชะลอตัว อีกทั้ง ภาคการส่งออกของเกาหลีใต้ที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มีแนวโน้มลดลงตามสภาวะการค้าของโลกที่ชะลอตัวลง ตามก้าลังซื้อโลกที่อ่อนแอ ประกอบกับเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ โดยจีนน้าเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มากถึง 1 ใน 4 มีแนวโน้มชะลอตัว จึงส่งผลให้การส่งออกของเกาหลีใต้ลดลงตาม ทั้งนี้ เกาหลีใต้ เป็นประเทศคู่ค้าส่งออกส้าคัญของไทย โดยมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังเกาหลีใต้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย โดยในปี 58 เศรษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตที่ร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ สศค. คาดว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.0 ในปี 59 (ประมาณการ ณ เดือน ม.ค. 59) จับตา: การเติบโตของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสของปี 59 และราคาน้ามันในตลาดโลก

ที่มา: Bureau of Macroeconomic Policy,Fiscal Policy Office, Ministry of Finance

Tel: 02-273-9020 Ext. 3257


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ