เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 28, 2016 17:13 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยเดือนมีนาคม และในไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 สะท้อนการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่การลงทุนเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าของไทยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ลดลง และกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนให้ชะลอลง”

1. การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2559 มีสัญญาณชะลอตัว สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนมีนาคมกลับมาหดตัวที่ร้อยละ -1.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ทำให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือนมีนาคมหดตัวลดลงที่ร้อยละ -9.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 17.2 ต่อเดือน โดยการหดตัวในเดือนนี้ เป็นผลจากปัจจัยฐานในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีการออกโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย แต่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 ได้มีการจัดโปรโมชั่นในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมกราคม 2559 ไปแล้ว ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวร้อยละ -3.3 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อไตรมาส ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยอยู่ที่ระดับ 62.4 และต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งที่กระทบต่อรายได้ของเกษตรกร เป็นสำคัญ ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.4 สำหรับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนมีนาคมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่อเดือน ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อไตรมาส ในขณะที่รายได้เกษตรกรที่แท้จริงเดือนมีนาคมหดตัวลดลงร้อยละ -5.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงหดตัวร้อยละ -7.1 ต่อปี

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                2558                      2558                                        2559
                                                  Q1        Q2        Q3        Q4       Q1       ม.ค.      ก.พ.     มี.ค.      YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)            1.0       1.0       1.7      -0.7       2.1      0.1      -0.6       3.0     -1.6       0.1
   %qoq_SA / %mom_SA                             1.0      -0.5      -1.4       2.8     -1.0      -4.4       1.7      0.8
ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%yoy)        2.2      10.8       2.0       1.5      -4.4      3.6      -2.9      -4.2     18.5       3.6
   %qoq_SA / %mom_SA                             0.0      -3.8       0.0      -0.4      7.8       0.6       8.3     10.6
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)         -19.1     -12.5     -27.3     -24.9     -11.7    -29.9*    -30.0     -29.9      n.a.    -29.9
   %qoq_SA / %mom_SA                            -4.4     -13.6      -5.5      12.2        -     -18.6      -3.3        -
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (%yoy)      -0.2      10.9      -2.9     -10.6       2.3     -3.3      12.9     -11.1     -9.4      -3.3
   %qoq_SA / %mom_SA                             9.7     -12.2      -2.3       8.7      3.6       5.5     -19.8     17.2         -
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)             -9.7      -5.1     -14.9     -15.2      -6.5     -7.1      -7.0      -9.0     -5.2      -7.1
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                    64.7      68.4      64.9      61.8      63.6     63.4      64.4      63.5     62.4      63.4
*ข้อมูล 2M/Q1 2559

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2559 มีสัญญาณดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมีนาคมขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.9 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์เดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี และเมื่อ ปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อไตรมาส ทางด้านดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนมีนาคมยังคงหดตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -4.1 ต่อปี ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่หดตัวตามราคาตลาดโลก ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -5.1 ต่อปี นอกจากนี้ การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมีนาคมกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี แต่หดตัวเล็กน้อยในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ที่ร้อยละ -1.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกพบว่าขยายตัวได้ร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาส

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                     2558                     2558                                     2559
                                                      Q1       Q2        Q3       Q4       Q1      ม.ค.      ก.พ.      มี.ค.     YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)        8.7       7.3      2.9      -0.5     22.2      4.5     -6.8       6.1      11.9      4.5
   %qoq_SA / %mom_SA                                -1.6     -4.7       3.9     24.3    -14.8    -34.8       6.1       5.2
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                 -0.4      -2.5     -0.2      -0.7      2.1      3.1     -0.3       6.0       3.4      3.1
   %qoq_SA / %mom_SA                                 0.7      1.7      -1.5      1.2      1.8     -3.6       7.8      -0.3
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                          -4.9      -3.7     -4.4      -5.7     -6.6     -5.1     -6.2      -5.0      -4.1     -5.1
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)           -2.6     -11.3    -17.3      -0.3     17.2     -0.2*    -2.4       1.9       n.a.    -0.2
   %qoq_SA / %mom_SA                                -5.2     -6.4      15.6     13.3        -    -20.9       2.9         -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                   -2.2       0.9      2.0     -10.8      0.2     -1.0      2.9     -11.6       6.5     -1.0
   %qoq_SA / %mom_SA                                -1.3     -0.6      -5.3      4.9      0.5      4.8      -8.4       6.1
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ และรถไฟ(%yoy)-1.4       0.1     -3.6      -2.3      0.1      0.0      4.9      -8.3       3.3      0.0
   %qoq_SA / %mom_SA                                -0.7     -2.1       0.8      2.0     -0.5     -1.6      -4.5       3.3
*ข้อมูล 2M/Q1 2559

3. สถานการณ์ด้านการคลังในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ2559) สะท้อนบทบาทนโยบายการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของรัฐบาลจากการเร่งรัดการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวในระดับสูง สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนมีนาคมสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 259.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้จำนวน 224.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.7 ต่อปี มาจาก (1) รายจ่ายประจำ 179.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.7 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 45.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.5 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2559) รายจ่ายรวมสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 680.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี โดยรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2559) สามารถเบิกจ่ายได้ 604.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 21.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2559 (2,776.0 พันล้านบาท) สำหรับการจัดเก็บรายได้รัฐบาล พบว่า ในเดือนมีนาคมรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 183.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.1 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2559) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 491.1 พันล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 4.5 ต่อปี ขณะที่เดือนมีนาคมดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -77.8 พันล้านบาท ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 (ไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ 2559) ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -204.8 พันล้านบาท

เครื่องชี้ภาคการคลัง                  FY2558                    FY2558                                     FY 2559
(พันล้านบาท)                                     Q1/      Q2/      Q3/      Q4/     Q1/     Q2/      ม.ค.      ก.พ.     มี.ค.      FYTD
                                              FY58     FY58     FY58     FY58    FY59     FY59
รายได้สุทธิของรัฐบาล
(หลังหักการจัดสรรให้ อปท.)          2,207.5      507.5    469.9    652.5    577.5   581.3    312.3   158.3      149.1    183.8   1,077.0
(%y-o-y)                            6.4        0.8      7.5      7.2      9.9    14.6      0.7    -1.5       -0.4     15.1      10.2
รายจ่ายรัฐบาลรวม                  2,601.4      844.1    617.6    569.6    570.1   890.9    680.0   259.9      160.6    259.4   1,570.9
(%y-o-y)                            5.7        1.6     11.7     10.7      1.6     5.5     10.1    20.5        6.8      3.2       7.5
รายจ่ายปีปัจจุบัน                    2,378.1      766.4    557.7    529.4    524.6   807.7    604.2   241.0      138.6    224.6   1,411.8
(%y-o-y)                            5.9        0.7     15.6     11.1     -0.3     5.4      8.3    21.8        5.5     -1.7       6.6
รายจ่ายประจำ                     2,106.6      725.1    481.0    452.3    448.1   739.6    509.0   220.8      108.9    179.3   1,248.7
(%y-o-y)                            7.4       12.5      7.3      8.1     -0.7     2.0      5.8    22.0       -0.8     -5.7       3.5
รายจ่ายลงทุน                        271.6       41.3     76.7     77.1     76.4    68.1     95.1    20.1       29.8     45.2     163.2
(%y-o-y)                           -4.4      -64.6    123.2     32.4      2.1    64.9     24.0    19.6       36.9     18.5      38.3
ดุลเงินงบประมาณ                    -402.3     -347.3   -138.9     89.4     -5.5  -306.9   -204.8  -108.0      -18.9    -77.8    -511.7

4. ด้านอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมีนาคมมีมูลค่า 19.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี ซึ่งมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีมาจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ และทองคำ รวมถึงการส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวต่อเนื่องจากการส่งออกรถยนต์ส่วนประกอบ เครื่องจักร เป็นสำคัญ ทั้งนี้ การส่งออกขยายตัวในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน-9 สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ทวีปออสเตรเลีย และเวียดนาม เป็นสำคัญ ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 45.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อไตรมาส สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ เดือนมีนาคมมีมูลค่า 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -6.9 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 45.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -12.0 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่าการนำเข้าสินค้าส่งผลให้เดือนมีนาคมไทยเกินดุลการค้าระหว่างประเทศ 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ไทยมีดุลการค้าเกินดุล 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ                    2558                    2558                                  2559
(สัดส่วนการส่งออกปี 57 >> 58 )                            Q1        Q2       Q3       Q4       Q1       ก.พ.       มี.ค.       YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                       -5.8      -4.7      -5.0     -5.3     -8.1      0.9      10.3        1.3        0.9
1.สหรัฐฯ (10.5% >> 11.2%)                   0.7       5.6       2.6      0.2     -4.9     -3.2       0.3       -1.4       -3.2
2.จีน (11.0% >> 11.1%)                     -5.4     -14.4       1.2     -1.0     -6.3     -6.4      -7.6       -5.4       -6.4
3.ญี่ปุ่น (9.6% >> 9.4%)                      -7.7      -9.2      -3.9     -7.9     -9.6      5.7      34.8       -6.1        5.7
4.สหภาพยุโรป (9.2% >> 9.3%)                -5.7      -3.9      -8.4     -4.4     -5.9     -0.6       4.1       -2.9       -0.6
5.มาเลเซีย (5.6% >> 4.8%)                 -20.2     -14.7     -18.3    -18.7    -28.5     -4.1      -0.3        5.9       -4.1
6.ฮ่องกง (5.6% >> 5.5%)                    -6.2     -11.5      -9.0     -2.0     -1.9      0.6      16.8       -2.6        0.6
7.ตะวันออกกลาง (5.1% >> 4.8%)             -10.0      -6.4     -23.7     -6.4     -3.0     -9.5     -11.2       -5.9       -9.5
8.ทวีปออสเตรเลีย (4.8% >> 5.3%)              5.3      10.1       7.6      8.4     -3.5      5.5       1.3        3.5        5.5
9.สิงคโปร์ (4.6% >> 4.1%)                  -16.2      -5.4       0.3    -26.1    -31.0     22.5     109.1       16.3       22.5
10.อินโดนีเซีย (4.2% >> 3.7%)               -17.6     -15.4     -20.6    -21.0    -12.7      8.9      13.8       13.9        8.9
11.แอฟริกา (3.7% >> 3.2%)                 -20.2     -14.5     -15.9    -22.1    -27.9    -11.7     -21.7       -2.5      -11.7
12.เวียดนาม (3.5% >> 4.2%)                 13.0      17.7      16.7      8.3     10.9      3.1       6.7        4.7        3.1
13.ฟิลิปปินส์ (2.6% >> 2.8%)                   2.1       7.4      -3.4     -6.4     10.8     15.4      19.1       18.7       15.4
14.อินเดีย (2.5% >> 2.5%)                   -5.7       6.1      -4.8    -11.5    -11.8     -9.1     -18.4       -3.5       -9.1
15.เกาหลีใต้ (2.0% >> 1.9%)                 -9.2       0.6     -16.4    -10.7     -8.6     -9.7     -12.3       -7.8       -9.7
16.ไต้หวัน (1.8% >> 1.6%)                  -12.0       4.7     -11.5    -15.3    -23.1    -18.1     -15.4       -4.3      -18.1
PS.อาเซียน-9 (26.1% >> 25.7%)              -7.2      -2.5      -5.9    -10.6     -9.3      3.9      16.6        4.5        3.9
PS.อาเซียน-5 (17.0% >> 15.3%)             -15.1      -9.5     -11.8    -19.5    -19.1      9.1      31.8       12.4        9.1
PS.อินโดจีน-4 (9.1% >> 10.4%)                7.7      10.5       5.5      7.2      7.9     -4.0      -5.8       -6.9       -4.0

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยว สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2559 มีจำนวน 2.95 ล้านคน ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อเดือน โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีเกือบทุกกลุ่มภูมิภาค โดยเฉพาะจากเอเชียตะวันออกเป็นหลัก โดยขยายตัวร้อยละ 17.7 ต่อปี ขณะที่นักท่องเที่ยวจากยุโรปขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 12.7 ต่อปี อย่างไรก็ตามกลุ่มโอเชียเนียยังคงหดตัวร้อยละ -15.4 ต่อปี จากนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 9.04 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 15.5 ต่อปี สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนมีนาคมหดตัวที่ร้อยละ -3.5 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวของผลผลิตข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพด เป็นสำคัญ เนื่องจากเกษตรกรลดการเพาะปลูกเพื่อป้องกันผลผลิตได้รับความเสียหายจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -1.9 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อไตรมาส ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 86.7 ถือเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม ได้แก่ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนภาครัฐเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้างมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีกิจกรรมส่งเสริมการขายในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสำคัญ

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                           2558                  2558                               2559
                                                          Q1       Q2      Q3     Q4      Q1     ม.ค.    ก.พ.     มี.ค.     YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)                    -4.6     1.8    -10.7     -12     -1    -1.9     -0.8    -1.4     -3.5    -1.9
%qoq_SA / %mom_SA                                          4    -12.4     1.3    6.9     3.3    -16.3    -2.3     -4.2
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ร้อยละ)                85.8    89.2     85.2    82.7     86      86     86.3    85.1     86.7      86
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)                       0.3     0.4     -0.3     0.9    0.3    -1.1     -3.5    -1.7      1.8     1.1
%qoq_SA / %mom_SA                                        0.3       -2     1.1    0.9    n.a.     -4.1     1.9     n.a.
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                          20.4    22.8     36.9    24.9    3.7    15.5       15      16     15.4    15.5
%qoq_SA / %mom_SA                                  -     2.6      8.2    -1.5     -5    14.8      8.3       4      1.2

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี โดยผลกระทบทางลบจากราคาน้ำมันมีผลลดลงจากช่วงต้นปี เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มมีการปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาเนื้อสัตว์และผักผลไม้มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากหมดเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ ราคาสินค้าประเภทยาสูบยังคงมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มค่าแสตมป์ยาสูบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 หดตัวร้อยละ -0.5 และขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.97 แสนคน ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.1 ถือว่ายังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงและสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ระดับ 175.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 3.3 เท่า

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                           2558                   2558                                    2559
                                                           Q1       Q2       Q3       Q4        Q1     ม.ค.    ก.พ.     มี.ค.      YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                               -0.9     -0.5     -1.1     -1.1     -0.9      -0.5     -0.5    -0.5     -0.5     -0.5
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                               1.1      1.5        1      0.9      0.8       0.7      0.6     0.7      0.8      0.7
อัตราการว่างงาน (yoy%)                             0.9        1      0.9      0.9      0.8       0.9      0.9     0.9        1      0.9
หนี้สาธารณะ/GDP                                   44.4     43.3     42.8     43.1     44.4    44.1**     44.1    44.1     n.a.     44.1
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)                          34.8      8.2      4.1      7.2     13.1     11.5*      4.1     7.4     n.a.     11.5
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)                        156.5    156.3    160.3    155.5    156.5     175.1    160.1     168    175.1    175.1
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)                      11.7     18.4     11.7     13.3      9.2      13.9      9.2    10.2     13.9     13.9
ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)                2.8        3      2.9      2.9      3.1      3.3*      3.2     3.3     n.a.      3.3
*ข้อมูล 2M/Q1 2559

สำหรับมาตรการการเงินการคลังที่กระทรวงการคลังได้ผลักดันตามนโยบายรัฐบาลโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นมานั้น ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาและปี 2559 ต่อไป โดยมีความคืบหน้าของมาตรการต่างๆ ถึง ณ วันที่ 25 เมษายน 2559 สรุปได้ดังนี้

1. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยการสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 79,556 กองทุน ผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท ภายในวงเงิน 35,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน การจัดหาแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปสินค้าเกษตร เป็นต้น และเพื่อการดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น เป็นสำคัญ โดยสถานะปัจจุบันคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้ออกหลักเกณฑ์ในการดำเนินโครงการแล้ว และได้อนุมัติหลักการโครงการจำนวน 2,056 กองทุน เป็นเงินงบประมาณจำนวน 1,017 ล้านบาท

2. โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพิ่มขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่หมู่บ้าน หมู่บ้านละไม่เกิน 200,000 บาท กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 15,000 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการโครงการเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 และให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ

3. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล มีเป้าหมายเพื่อกระจายการลงทุน การจ้างงาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปในพื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัด และผลักดันให้เกิดการพัฒนาในท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและบรรเทาผลกระทบในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเร่งรัดการลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย

3.1 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน (สินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน ดอกเบี้ยร้อยละ 0 ระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื่อ 60,000 ล้านบาท) โดยข้อมูลล่าสุดได้มีการการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 48,296 ล้านบาท ให้กับผู้มีรายได้น้อยแล้วจำนวน 3,051,507 ราย แบ่งเป็นธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อแล้ว 25,570 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 25,728 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,631,186 ราย เป็นเงิน 21,280 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อนุมัติสินเชื่อแล้ว 22,726 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้าน 22,920 แห่ง และกองทุนหมู่บ้านให้สินเชื่อกับผู้มีรายได้น้อยแล้ว 1,420,321 ราย เป็นเงิน 22,276 ล้านบาท

3.2 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล (ลงทุนตำบลละไม่เกิน 5 ล้านบาท วงเงิน 36,275 ล้านบาท) โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2559 มีงบประมาณได้รับการอนุมัติแล้วทั้งสิ้น 35,896 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของกรอบวงเงิน โดยเป็นวงเงินโครงการที่ทำสัญญาแล้วจำนวน 34,588 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายจำนวน 23,353 ล้านบาท

3.3 มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ลงทุนรายการละไม่เกิน 1 ล้านบาท กรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2559 พบว่า มีโครงการที่ทำสัญญาแล้ว จำนวน 34,188 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายไปแล้ว จำนวน 32,409 ล้านบาท โดยงบกลางปี 2558 เบิกจ่ายทั้งสิ้น 21,541 ล้านบาท และงบประมาณปี 2559 เบิกจ่ายทั้งสิ้น 10,868 ล้านบาท

4. มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถภาคการเกษตร

4.1 โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง วงเงินสินเชื่อ 6,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 1 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 0 ในช่วง 6 เดือนแรก และเดือนที่ 7 - 12 ดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2559 พบว่า เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 895 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรจำนวน 75,644 ราย

4.2 โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SME เกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคเกษตรไทย วงเงินสินเชื่อ 72,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 10 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ใน 7 ปีแรก และปีที่ 8 - 10 คิดอัตราดอกเบี้ยปกติ โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2559 พบว่า เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 8,023 ล้านบาท ให้กับ SMEs ภาคการเกษตรจำนวน 6,606 ราย

4.3 โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 1 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2559 พบว่า มีการสนับสนุนสินเชื่อไปแล้ว 130 ราย จำนวนเงิน 3.6 ล้านบาท

5. มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ โดยมีความคืบหน้า ดังนี้

5.1 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs (Soft Loan SMEs ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ระยะเวลา 7 ปี วงเงินสินเชื่อ 150,000 ล้านบาท) ได้มีการจัดสรรวงเงินจนครบจำนวนแล้ว 150,000 ล้านบาท ให้กับลูกค้า SMEs แล้วจำนวน 21,504 ราย (เฉลี่ยได้สินเชื่อรายละประมาณ 7 ล้านบาท)

5.2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) (ค้ำประกันไม่เกินร้อยละ 30 ต่อพอร์ต วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วจำนวน 65,832 ล้านบาท ให้กับ SMEs จำนวน 15,647 ราย

5.3 มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านการร่วมลงทุน (Venture Capital วงเงินร่วมทุน 6,000 ล้านบาท) โดยธนาคารออมสิน ได้อนุมัติร่วมลงทุนกับ SMEs ไปแล้วจำนวน 2 ราย วงเงิน 60 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) อนุมัติหลักการเพื่อร่วมลงทุนแล้ว 4 ราย อยู่ระหว่างทำ Due Diligence 3 ราย วงเงิน 20 ล้านบาท

6. มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

6.1 มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดรับคำขอตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2558 โดยข้อมูลล่าสุดได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว 15,240 ราย วงเงินอนุมัติ 21,118 ล้านบาท

6.2 โครงการบ้านประชารัฐ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยครอบคลุมทั้งผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรืออาชีพอิสระ ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน ให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการกู้ซ่อมแซม และ/หรือต่อเติมที่อยู่อาศัยผ่านการสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยเงื่อนไขผ่อนปรนจากสถาบันการเงินของรัฐ โดยข้อมูลล่าสุดธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้อนุมัติสินเชื่อ Post Finance แล้ว 829 ราย วงเงิน 764 ล้านบาท ขณะที่ ธนาคารออมสิน อนุมัติสินเชื่อ Pre Finance แล้ว 2 ราย วงเงิน 65 ล้านบาท และอนุมัติสินเชื่อ Post Finance แล้ว 1,300 ราย วงเงิน 1,461 ล้านบาท

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ