รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 26 - 30 ธันวาคม 2559

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 4, 2017 14:24 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ย. 59 มีมูลค่า 18,911 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.2 ต่อปี ส่วนมูลค่าการนำเข้า มีมูลค่า 17,368 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี
  • รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. 59 ได้จำนวน 166.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -8.4 ต่อปี
  • การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. 59 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 175.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -24.6 ต่อปี
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนพ.ย. 59 ปีงปม.60 ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 28.1 พันล้านบาท
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน พ.ย. 59 มีมูลค่า 60,677 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -12.4 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 109.61 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวดีขึ้น
  • ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน พ.ย. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย. 59 มีจำนวน 23,306 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -9.4 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 59 มีจำนวน 41,465 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -18.2 ต่อปี
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 59 ของเวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ 113.7 จุด
Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ย. 59 มีมูลค่า 18,911 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.2 ต่อปี และเป็นการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรมที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20.2 ต่อปี ตามการขยายตัวในระดับสูงของข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา เป็นสำคัญ ประกอบกับสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 9.8 ต่อปี ตามการขยายตัวของหมวดสินค้ายานพาหนะ และส่วนประกอบ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2, 7.2, 10.3 และ 13.7 ต่อปี ตามลำดับ และเป็นการขยายตัวได้ดีเกือบทุกตลาดส่งออก ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -0.05 ต่อปี

มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ย. 59 มีมูลค่า 17,368 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากการขยายตัวในหมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวร้อยละ 14.8 ต่อปี ตามการนำเข้าน้ำมันดิบที่ขยายตัวร้อยละ 26.6 ขณะที่ สินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี ทั้งนี้ ราคาสินค้านำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 และปริมาณการนำเข้าสินค้าขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าสินค้าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 หดตัวที่ร้อยละ -5.1 ต่อปี ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน พ.ย. 59 เกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ในช่วง 11 ดุลการค้าเกินดุลทั้งสิ้น 19.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. 59 ได้จำนวน 166.0 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -8.4 ต่อปี แต่สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.2 จากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ และภาษีเบียร์ที่สูงกว่าประมาณการ ขณะที่การจัดเก็บภาษีฐานบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี และการจัดเก็บภาษีฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ต่อปี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) จัดเก็บได้ 370.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 19.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.6

Economic Indicators: This Week

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน พ.ย. 59 ปีงปม. 60 เบิกจ่ายได้ทังสิน 175.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -24.6 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบันเบิกจ่ายได้ 148.4 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -29.0 ต่อปี โดยแบ่งออกเป็น (1) รายจ่ายประจำ 126.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -35.9 ต่อปี และ (2) รายจ่ายลงทุน 21.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.8 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ เงินอุดหนุนของสำนักงานประกันสังคม 40.1 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 10.9 พันล้านบาท รายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 7.9 พันล้านบาท และเงินอุดหนุนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 4.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณสามารถเบิกจ่ายได้ 570.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 20.9 ของวงเงินงบประมาณ (2,733.0 ล้านล้านบาท)

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนพ.ย. 59 ปีงปม.60 พบว่า ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 28.1 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล -74.9 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -46.8 พันล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 193.3 พันล้านบาท

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน พ.ย. 59 มีมูลค่า 60,677 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต ณ ระดับราคาที่แท้จริง ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.8 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศหดตัวร้อยละ -0.5 ขณะที่การจัดเก็บจากการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 1.6

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน พ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -12.4 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว พบว่า ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 ต่อเดือน ทั้งนี้ในช่วง 11 เดือนแรก ปี 59 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี

Economic Indicators: This Week

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ระดับ 109.61 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.02 หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยเป็นการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในหมวดโลหะ แผงวงจรรวม ยางและพลาสติก อาหาร และยานยนต์เป็นหลัก สอดคล้องกับการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน พ.ย. 59 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.8 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อเดือน ทำให้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย. 59 มีจำนวน 23,306 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -9.4 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.8 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว เนื่องจากประชาชนมีการชะลอการบริโภคก่อนงานมหกรรมยานยนต์ในช่วงต้นเดือน ธ.ค. 59 กอปรกับ ฐานยอดขายของปลายปีที่ผ่านมาสูงกว่าปกติจากการเร่งซื้อก่อนปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ทำให้ยอดขายรถยนต์นั่งในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 หดตัวร้อยละ -5.3 ต่อปี

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 59 มีจำนวน 41,465 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -18.2 ต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.4 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ทำให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 59 ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี สำหรับปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน เดือน พ.ย. 59 หดตัวร้อยละ -15.8 อย่างไรก็ดี 11 เดือนแรกของปี 59 ยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ 113.7 จุด เป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบมากกว่า 15 ปี ผลจากความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและอยู่ที่ระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 13 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีความชัดเจน ทำให้เกิดความคาดหวังต่อการจ้างงานและรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของโดนัล ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ รวมทั้งแนวโน้มตลาดการเงินสหรัฐฯ ที่ดีสะท้อนจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี ด้านความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันยังคงอยู๋ในระดับสูง แม้ว่าดัชนีฯ จะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับสูงที่สุดในรอบ 10 ปีในเดือนก่อน

Japan: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องในช่วง 8 เดือนก่อนหน้า ผลจากยอดขายหมวดเสื้อผ้า ยานยนต์ และยาและเครื่องเวชภัณฑ์ ที่ขยายตัวดีที่ร้อยละ 4.3 6.6 และ 2.9 ตามลำดับ อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 3.0 อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือน ผลจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อพืนฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เดือน พ.ย. 59 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี 8 เดือน โดยผลผลิตโลหะที่มิใช่เหล็ก เครื่องจักรที่ใช้ในธุรกิจ และอุปกรณ์สื่อสารขยายตัวในระดับสูง

UK: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 59 (ตัวเลขปรับปรุง) ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 59 โดยขยายตัวร้อยละ 1.8 และ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ หรือร้อยละ 0.3 และ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 และ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

South Korea: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน จากผลผลิตทั้งสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคที่กลับมาขยายตัวได้ ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวได้ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.8 ในเดือนก่อนหน้า ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.5 ในเดือนก่อนหน้า

Hong Kong: improving economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี จากการส่งออกไปยังหลายประเทศคู่ค่าหลักที่ขยายตัวได้ในอัตราสูง เช่น มูลค่าการส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 11.9 สิงคโปร์ร้อยละ 30.0 ออสเตรเลียร้อยละ 11.5 มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี เช่นกัน จากการนำเข้าสินค้าหลายหมวดสำคัญที่ขยายตัวได้ในอัตราสูง เช่น อาหารและเนื้อสัตว์ หลังงาน และเครื่องจักร ทำให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 59 เกินดุล 3.4 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง

Taiwan: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี และขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 59 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นสูงสุดในรอบ 19 เดือน และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5

Vietnam: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 เร่งขึ้นจากผลผลิตในหมวดเหมืองแร่ อุปทานน้ำ และการจัดการของเสีย GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 59 ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 เนื่องจากการขยายตัวของภาคบริการ ภาคการผลิต และภาคการเกษตร ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 59 ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากยอดขายในหมวดโรงแรมและร้านอาหาร การท่องเที่ยว การบริการ และการค้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 59 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากสินค้าในหมวด การดูแลสุขภาพ อุปกรณ์และเครื่องใช้ในครัวเรือน

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวขึนตลอดทังสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 29 ธ.ค. 59 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,537.81 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยทั้งสัปดาห์เบาบางเพียง 29,651.81 ล้านบาท จากแรงซื้อของสถาบันในประเทศ ที่เข้าซื้อกองทุนในช่วงปลายปี ประกอบกับการเข้าซื้อหุ้น IPO บางตัว ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 26 - 29 ธ.ค. 59 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 4,098.13 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง 1-12 bps โดยเป็นผลมาจากแรงซื้อของกลุ่มทุนในช่วงปลายปี ประกอบกับการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 1 เดือน มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล 3.48 และ 2.74 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 26 - 29 ธ.ค. 59 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากพันธบัตรสุทธิ 6,026.54 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึนเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 29 ธ.ค. 59 เงินบาทปิดที่ 35.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.11 จากสัปดาห์ก่อน สวนทางกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคทั้งหมด ยกเว้นยูโรและเยนที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นีแข็งค่าขึนเล็กน้อยร้อยละ 0.08 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ