เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 27, 2017 13:52 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

“เศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ส่งสัญญาณขยายตัวในเกณฑ์ดี สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกที่กลับมาขยายตัวเป็นบวกและการบริโภคภาคเอกชนที่ ขยายตัวได้ดี ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวต่อเนื่องประกอบกับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ขยายตัวได้ในระดับสูงจากปริมาณผลผลิตและราคาสินค้า เกษตรกรรมที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง”

1. การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 3.4 ต่อปี และเมื่อปรับผล ทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อไตรมาส สำหรับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวถึงร้อยละ 3.0 ต่อปี ทำให้ไตรมาส ที่ 1 ปี 2560 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อไตรมาส ขณะที่ปริมาณการ จำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ร้อยละ 40.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 38.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 21.1 ต่อไตรมาส สอดคล้อง กับรายได้เกษตรกรที่แท้จริงในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 28.7 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 65.1 ปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และสูงสุดในรอบ 15 เดือน โดยมีปัจจัยบวกจากราคา น้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 64.2

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน                          2558       2559                         2560
                                                                        Q1    ม.ค.       ก.พ.       มี.ค.      YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy)                      1.3        1.4        3.4       2       3.4          5       3.4
%qoq_SA / %mom_SA                                                      2.5       0       2.8        0.7
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%yoy)                   -19.1       -6.5       38.5    23.5      49.8       40.4      38.5
%qoq_SA / %mom_SA                                                     21.1    12.5      13.9        2.5
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy)              -0.2        5.5        3.2    -6.2      14.9          3       3.2
%qoq_SA / %mom_SA                                             -        2.1     0.2      -0.5        0.7         -
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (สศค.)                       -9.4       -0.2       18.4     8.8      20.2       28.7      18.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                              64.7       62.2       64.2    63.1      64.3       65.1      64.2

2. การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณฟื้นตัวจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่องเป็น เดือนที่ 3 ติดต่อกัน ที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัว ร้อยละ 2.9 ต่อเดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากยอดจำหน่ายรถกระบะ ขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อไตรมาส นอกจากนี้ ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อไตรมาส ในขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างมีสัญญาณทรงตัว สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายใน ประเทศ ในเดือนมีนาคม 2560 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี และเมื่อปรับผลทาง ฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อไตรมาส สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา ในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.7 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ขณะที่ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนมีนาคม 2560 หดตัวร้อยละ -9.8 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยฐานสูงที่เกิดจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนอง (ในช่วงระยะเวลา 29 ตุลาคม 2558 – 28 เมษายน 2559) แต่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -10.1 ต่อปี

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน                                        2558       2559                           2560
                                                                                   Q1        ม.ค.      ก.พ.       มี.ค.      YTD
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%yoy)                           8.7       -2.5    -10.1       -10.8      -9.9      -9.8     -10.1
%qoq_SA / %mom_SA                                                                -3.1       -11.1       5.8       4.2         -
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%yoy)                                    -0.4       -1.6      0.5           2      -0.1      -0.3       0.5
%qoq_SA / %mom_SA                                                                 3.3        -0.6       2.3      -0.6         -
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง                                             -4.9       -2.7        2         2.4       2.1       1.6         2
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ (%yoy)                              -2.6         -2      5.3         4.5       6.3         5       5.3
%qoq_SA / %mom_SA                                                                10.9         0.9       3.8       2.9         -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุน (%yoy)                                      -2.2         -4      1.2       -22.4      20.4       9.7       1.2
%qoq_SA / %mom_SA                                                                 2.4       -18.3      40.7      -7.3         -
ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนหักครื่องบิน เรือ และรถไฟ (%yoy)                  -1.4       -2.6     -1.7       -16.7        10       3.6      -1.7
%qoq_SA / %mom_SA                                                                -0.2       -15.4        23      -1.2         -

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนมีนาคม 2560 เบิกจ่ายได้จำนวน 223.6 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน จำนวน 204.1 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 153.0 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 51.2 พันล้านบาท ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2560 รัฐบาลสามารถ เบิกจ่ายงบประมาณได้ 1,605.7 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี

เครื่องชี้ภาคการคลัง              FY 2559                                   FY2560
(พันล้านบาท)                               กรอบวงเงิน    Q1/FY60    Q2/FY60     ม.ค.     ก.พ.     มี.ค.        FYTD
                                         งปม. 2560
รายจ่ายรัฐบาลรวม              2,807.40      2,990.40      969.1      636.6      255    157.9    223.6    1,605.70
(%y-o-y)                         7.9                      8.8       -6.4     -1.9     -1.7    -13.8         2.2
รายจ่ายปีปัจจุบัน                2,578.90      2,733.00      876.1      576.6    229.8    142.8    204.1    1,452.80
(%y-o-y)                         8.4                      8.5       -4.6     -4.7        3     -9.1         2.9
รายจ่ายประจำ                 2,214.10      2,183.60      783.9      477.8    211.1    113.8      153    1,264.80
(%y-o-y)                         5.1                        6       -6.1     -4.4      4.5    -14.7         1.1
รายจ่ายลงทุน                     364.9         549.4       92.2       98.8     18.7       29     51.2         191
(%y-o-y)                        34.4                     35.4        3.9     -7.2     -2.8     13.1          17
รายจ่ายปีก่อน                     228.5         257.4         93       59.9     25.3     15.2     19.5       152.9

4. อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าขยายตัวได้ดี พบว่า การส่งออกในเดือนมีนาคม 2560 มีมูลค่า 20.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.2 ต่อปี และ เมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อเดือน ทั้งนี้ หมวดสินค้าสำคัญที่สนับสนุนการส่งออกในเดือนมีนาคม 2560 ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ และยานพาหนะ เป็นสำคัญ และตลาดที่สนับสนุนการส่งออก ได้แก่ จีน ขยายตัวร้อยละ 47.6 กลุ่ม CLMV ขยายตัวร้อยละ 18.1 ญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 14.9 เวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 25.6 สหภาพยุโรป ขยายตัว ร้อยละ 10.2 สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 7.1 และออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 8.7 เป็น สำคัญ ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี และเมื่อหักผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อไตรมาส สำหรับมูลค่าการ นำเข้าในเดือนมีนาคม 2560 มีมูลค่า 19.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 19.3 ต่อปี โดยกลุ่มสินค้าที่สนับสนุนการขยายตัวของการนำเข้า ได้แก่ หมวดสินค้าวัตถุดิบและ กึ่งสำเร็จรูป สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุนหักรายการพิเศษ (เครื่องบิน เรือ รถไฟ) เป็นสำคัญ ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.8 ต่อปี และเมื่อหักผลทาง ฤดูกาลออก (q-o-q SA) ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อไตรมาส ทั้งนี้ การส่งออกที่สูงกว่าการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนมีนาคม 2560 เกินดุลที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ดุลการค้าเกินดุลที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ                   2558     2559                       2560
(สัดส่วนการส่งออกปี 58 >> 59 )                                   Q1     ม.ค.     ก.พ.     มี.ค.      YTD
ส่งออกไปทั้งโลก (%yoy)                      -5.8      0.5      4.9      8.8     -2.8      9.2      4.9
 1.สหรัฐฯ (11.2% >> 11.4%)                 0.7      1.8      7.4      9.5      5.7      7.1      7.4
 2.จีน (11.1% >> 11.1%)                   -5.4      0.3     36.9     30.8     31.1     47.6     36.9
 3.ญี่ปุ่น (9.4% >> 9.5%)                    -7.7      2.5     -2.7      6.4    -22.6     14.9     -2.7
 4.สหภาพยุโรป (9.3% >> 9.3%)              -5.7        1      8.7     10.4      5.4     10.2      8.7
 5.มาเลเซีย (4.8% >> 4.5%)               -20.2     -5.5     -3.6      5.6     -4.3     -9.3     -3.6
 6.ฮ่องกง (5.5% >> 5.3%)                  -6.2     -3.1      6.4     -3.8     10.7       10      6.4
 7.ตะวันออกกลาง (4.8% >> 4.2%)             -10    -12.4    -19.5    -19.2    -17.6    -21.5    -19.5
 8.ทวีปออสเตรเลีย (5.3% >> 5.6%)            5.3      5.4     -0.7     -0.3    -10.4      8.7     -0.7
 9.สิงคโปร์ (4.1% >> 3.8%)                -16.2     -6.2    -20.1     49.8    -52.5      -16    -20.1
 10.อินโดนีเซีย (3.7% >> 3.8%)             -17.6      3.1     -7.6       -4    -14.2     -4.5     -7.6
 11.แอฟริกา (3.2% >> 2.9%)               -20.2     -8.8     -0.1     -1.6      5.4     -3.4     -0.1
 12.เวียดนาม (4.2% >> 4.4%)                 13      5.8     23.6     10.5       35     25.6     23.6
 13.ฟิลิปปินส์ (2.8% >> 3.0%)                 2.1      6.7      0.5      9.8     -3.5     -3.5      0.5
 14.อินเดีย (2.5% >> 2.4%)                 -5.7     -2.7     18.2     17.7     23.1     14.9     18.2
 15.เกาหลีใต้ (1.9% >> 1.9%)               -9.2     -1.5       26     28.1     25.4     24.7       26
 16.ไต้หวัน (1.6% >> 1.6%)                  -12     -4.8     16.3      4.6     15.9     27.1     16.3
 PS.อาเซียน-9 (25.7% >> 25.4%)            -7.2     -0.9      0.4     10.3     -8.8      1.2      0.4
 PS.อาเซียน-5 (15.3% >> 15.0%)           -15.1     -1.5     -8.4     13.2    -23.8     -8.6     -8.4
 PS.อินโดจีน-4 (10.4% >> 10.3%)             7.7     -0.1     15.5      6.4     22.2     18.1     15.5

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านการผลิตได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนมีนาคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 20.1 ต่อปี และ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อเดือน โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญขยายตัวร้อยละ 28.2 ตามการขยายตัว ของผลผลิตข้าวเปลือก ข้าวโพด และไม้ผล เป็นหลัก หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 1.7 และหมวดประมง ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ดัชนีผลผลิตสินค้า เกษตรขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.1 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวได้ในหมวดพืชผลสำคัญที่ร้อยละ 12.0 จากราคายางพารา และราคาปาล์มน้ำมัน เป็นสำคัญ และหมวดประมงที่ขยายตัวร้อยละ 18.0 ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 12.1 ต่อปี ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2560 มีจำนวน 3.0 ล้านคน กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเดือน โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจากรัสเซีย กลุ่ม CLMV และเกาหลี ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวน 9.2 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อไตรมาส สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 87.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งผลิตสินค้าเพื่อรองรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาล สงกรานต์ และเพื่อชดเชยวันทำงานในเดือนเมษายนที่น้อยกว่าปกติ กอปรกับราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นในหลายสินค้าช่วยส่งผลดีต่อบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน                          2558    2559                    2560
                                                                 Q1    ม.ค.    ก.พ.     มี.ค.    YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%yoy)                   -4.4    -2.2     7.1    -3.9     8.5     20.1    7.1
%qoq_SA / %mom_SA                                              -0.2    -2.2     6.2      3.2
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)                85.8    85.9      87    87.2    86.2     87.5     87
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%yoy)                         20.6     8.9     1.7     6.5    -3.2        2    1.7
%qoq_SA / %mom_SA                                              13.5    11.6    -5.9      4.9

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน จากการที่ราคาน้ำมันดิบโลกปรับลดลง รวมถึงราคาผักผลไม้หลายประเภทที่มีการปรับตัวลดลงจากอุปทาน ส่วนเกินของผักผลไม้บางชนิดในช่วงฤดูกาล นอกจากนี้ ราคาอาหารสดประเภทอื่นๆ มีการปรับลดลงเช่นเดียวกัน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 1.3 และ 0.7 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวม ทำให้ไตรมาสที่ 1 ปี 2560 อัตราการว่างงาน อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 อยู่ที่ระดับร้อยละ 42.0 ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม และสิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 180.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 3.3 เท่าเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศ ระยะสั้น

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ                           2558     2559                      2560
                                                                    Q1     ม.ค.    ก.พ.     มี.ค.      YTD
ภายในประเทศ
เงินเฟ้อทั่วไป (%yoy)                               -0.9      0.2      1.3      1.6     1.4      0.8      1.3
เงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy)                               1.1      0.7      0.7      0.7     0.6      0.6      0.7
อัตราการว่างงาน (yoy%)                             0.9        1      1.2      1.2     1.1      1.3      1.2
หนี้สาธารณะ/GDP                                   44.4     42.4    42.0*       42      42        -       42
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้าน $)                          32.1     46.4     5.7*        5     5.7        -      5.7
ทุนสำรองทางการ (พันล้าน $)                        156.5    171.9    180.9    179.2     183    180.9    180.9
ฐานะสุทธิ Forward  (พันล้าน $)                      11.7     25.8     26.6     23.6    22.9     26.6     26.6
ทุนสำรองทางการ/หนี้ ตปท.ระยะสั้น (เท่า)                  3      3.2     3.3*      3.3     3.3        -      3.3
*ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2560

          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ