รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 1 -5 พฤษภาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 8, 2017 14:20 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.4
  • สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 60 มียอดคงค้าง 16.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.6
  • เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 60 มียอดคงค้าง 18.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.6
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 136,507 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 16.3
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน มี.ค. 60 เกินดุล 2,575.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย. 60 เท่ากับ 104.4 หดตัว ร้อยละ -0.3
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 65.4
  • GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 1 ปี 60 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 1 ปี 60 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 1 ปี 60 (เบื้องต้น) ขยายตัว ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • GDP อินโดนีเซีย ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของจีน เดือน เม.ย. 60 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 50.3 จุด
Economic Indicators: This Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 โดยหากพิจารณาดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom) พบว่าขยายตัวร้อยละ 0.2 ซึ่งปัจจัยหลักยังคงเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศตามราคาน้ำมันดิบที่ทยอยปรับขึ้นจากปีก่อนหน้า อาหารสำเร็จรูป และราคาค่าเช่าบ้านในเขตภาคกลาง อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์นั้นมีแนวโน้มลดลงในภาพรวม โดยมีสาเหตุจากราคาสินค้าสำคัญ อาทิ ไข่ไก่ เนื้อสุกร และมะนาว ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.5
  • สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 60 มียอดคงค้าง 16.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ชะลอลง ขณะที่สินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น และเมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ด้านสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
  • เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 60 มียอดคงค้าง 18.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 1.4 ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 60 มีจำนวน 136,507 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยเป็นผลจากยอดจดทะเบียนในเขต กทม. ที่ร้อยละ 9.3 และในเขตภูมิภาคที่ขยายตัวร้อยละ 18.4 ตามรายได้เกษตรกรในเดือน มี.ค. ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ใน 4 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ขยายตัวได้ร้อยละ 5.8
Economic Indicators: This Week

ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน มี.ค. 60 เกินดุล 2,575.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุลสูงถึง 5,734.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผลมาจากดุลการค้าที่เกินดุลสูงถึง 2,909.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมูลค่าการส่งออก (ตามระบบ BOP) ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอื่นๆ ที่ราคาเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน ที่ขยายตัวดี ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุล 333.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งกลับเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติในไทยหลายธุรกิจ แม้รายรับจากภาคการท่องเที่ยวจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 60 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 13,318.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย. 60 เท่ากับ 104.4 หดตัวร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของดัชนีราคาหมวดซีเมนต์ที่ลดลงร้อยละ -6.1 ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 60 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.4 ต่อปี

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 65.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 65.1 ในเดือนก่อน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และสูงสุดในรอบ 24 เดือน จากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

GDP ไตรมาส 1 ปี 60 (เบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ขจัดผลทางฤดูกาล โดยการบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐชะลอตัวลงเล็กน้อย การลงทุนภาครัฐหดตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซือ PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 54.8 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับสูงถึง 57.2 จุด จากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่ดัชนีฯ ภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 57.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดคำสั่งซื้อใหม่และหมวดราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก เมื่อวันที่ 2-3 พ.ค. 60 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ FOMC) มีมติคงอัตราดอกเบียนโนบายที่ร้อยละ 0.75-1.00 ต่อปี และมีสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน มิ.ย.60 ดุลการค้า เดือน มี.ค. 60 ขาดดุล 43.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับเดือนก่อน จากการเร่งตัวขึ้นของทั้งการส่งออกและการนำเข้า

China: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 50.3 จุด จาก 51.2 จุด ในเดือนก่อน สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 60 ปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 51.2 จุด ต่ำสุดในรอบ 1 ปี จากผลผลิตที่ลดลงทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการ

Japan: mixed signal

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 52.7 จุด จาก 52.4 จุดในเดือนก่อน ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 60 ปรับลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 52.2 จุด

Eurozone: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 60 ตัวเลขเบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 9.5 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 ด้านดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมและบริการ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 56.7 และ 56.4 จุด ตามลำดับ ทำให้ดัชนี PMI รวม อยู่ที่ระดับ56.8 จุด สูงสุดในรอบ 6 ปีเช่นกัน

UK: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 60 เบื้องต้นขยายตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และบริการ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 57.3 53.1 และ 55.8 จุด สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี 4 เดือน และ 4 เดือน ตามลำดับ

India: worsening economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ทรงตัวที่ระดับ 52.5 จุด ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 60 ปรับลดอยู่ที่ระดับ 50.2 จุด

Taiwan: worsening economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ลดลงอยู่ที่ระดับ 54.4 จุด จาก 56.2 จุดในเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อน

Hong Kong: improving economic trend

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 51.1 จุด

South Korea: improving economic trend

การส่งออกและนำเข้า เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 24.2 และ 16.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน ทำให้ดุลการค้าเกินดุลสูงถึง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด

ASEAN

ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.9 จุด เนื่องจากดัชนีของทุกประเทศเพิ่มขึ้น ยกเว้นไทย

Indonesia: improving economic trend

GDP ไตรมาส 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือร้อยละ 1.0 (ขจัดผลทางฤดูกาล) เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน จากการบริโภคภาครัฐที่กลับมาขยายตัว อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 60 เร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Malaysia: mixed signal

การส่งออกและการนำเข้า เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 24.1 และ 39.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Vietnam: mixed signal

การส่งออกและนำเข้า เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 16.4 และ 24.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าขาดดุล -0.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากภาคบริการ โรงแรมและร้านอาหาร

Australia: improving economic trend

การส่งออกและการนำเข้า เดือน มี.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 34.8 และ 13.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 3.6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 59.2 จุด สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงเล็กน้อยและแกว่งตัวในกรอบแคบ ก่อนปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 4 พ.ค. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,573.05 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายค่อนข้างเบาบางต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 35,569.29 ล้านบาทต่อวัน จากแรงขายของนักลงทุนทั่วไปในประเทศ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติ โดยที่นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ตลาดยังคงรอปัจจัยต่างประเทศเพิ่มเติม เช่น ผลการเลือกตั้งของฝรั่งเศสในสุดสัปดาห์นี้ และประเด็นกฎหมายประกันสุขภาพฉบับใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งสุดท้ายผ่านวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 60 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 4 เม.ย. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 1,007.50 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและยาวปรับลดเฉลี่ย 4 bps เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 18-20 ปี ซึ่งปรับลดเฉลี่ยกว่า 12 bps จากกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตรในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11 ปีวงเงิน 20,000 ล้านบาท ที่มีผู้สนใจ 1.84 เท่าของวงเงินประมูลโดยระหว่างวันที่ 2 - 4 เม.ย. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,428.17 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงเล็กน้อยต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน หลังจากแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นปี โดย ณ วันที่ 4 พ.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 34.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.25 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับเงินเยน วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ในขณะที่ค่าเงินยูโรและริงกิตแข็งขึ้นเล็กน้อย จึงส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.09

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ