รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 19 - 23 มิถุนายน 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 26, 2017 13:35 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค. 60 มีมูลค่า 19,944.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.2
  • มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ค. 60 มีมูลค่า 19,000.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.2
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 85.5
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ค. 60 มีจำนวน 26,151 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.4
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 60 มีจำนวน 40,271 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.7
  • ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ยอดค้าปลีกของจีน เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ 2.9 ล้านล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 10.70
  • การส่งออกของสหราชอาณาจักรเดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 11.8 พันล้านปอนด์
Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค. 60 มีมูลค่า 19,944.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 จากการขยายตัวในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าเกษตรกรรมที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 20.1 ตามการขยายตัวดีของข้าว ยางพารา และผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เป็นสำคัญ รวมถึงหมวดสินค้าอุตสาหกรรมก็ขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 12.8 ตามการขยายตัวในระดับสูงของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และหมวดสินค้าเชื้อเพลิงก็ขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 3.1 และ 30.2 ตามลำดับ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 7.2

มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ค. 60 มีมูลค่า 19,000.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 จากการขยายตัวดีในทุกหมวดสินค้าหลัก โดยเฉพาะหมวดสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 22.2 ตามการขยายตัวดีของสินค้าเคมีภัณฑ์ และทองคำเป็นสำคัญ รวมถึงหมวดสินค้าทุนก็ขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 15.6 ตามการขยายตัวของสินค้าผลิตภัณฑ์โลหะ นอกจากนี้ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค หมวดสินค้าเชื้อเพลิง และหมวดสินค้ายานยนต์ก็ขยายตัวดีเช่นกันที่ร้อยละ 11.4 19.8 และ 14.6 ตามลำดับ ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวร้อยละ 15.2 ซึ่งจากการที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน พ.ค. 60 เกินดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 85.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.4 ในเดือนก่อนหน้า จากการแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินบาท ทำให้กระทบต่อการบริหารต้นทุนของผู้ส่งออก รวมทั้งปัจจัยทางด้านเงินทุนหมุนเวียน และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับลดลงเช่นกัน โดยมาอยู่ที่ระดับ 99.6 จาก 100.0 จากความกังวลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ

Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ค. 60 มีจำนวน 26,151 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีของก่อน ขยายตัวชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.2 หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล เนื่องจากในเดือนนี้เริ่มไม่ได้รับผลจากปัจจัยฐานที่ต่ำจากการชะลอซื้อรถยนต์หลังปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในต้นปี 59 ทั้งนี้ ใน 5 เดือนแรกของปี 60 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ขยายตัวที่ร้อยละ 27.3

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 60 มีจำนวน 40,271 คัน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.7 ต่อปี และคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.0 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล โดยยอดจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน หดตัว ร้อยละ -3.7 ต่อปี และคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -4.3 ต่อเดือนหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 60 การจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี

Global Economic Indicators: This Week

US: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากการลดลงของการใช้จ่ายด้านพลังงาน อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตในเกือบทุกหมวดเร่งขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุม FOMC มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.00-1.25 ต่อปี

Japan ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงสุดในรอบ 2 ปี โดยได้รับอานิสงค์จากอุปสงค์จากกลุ่มประเทศในเอเชีย สหรัฐอเมริกาและยุโรป และเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 60 ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี

Eurozone: mixed signal

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน การส่งออก เดือน เม.ย. 60 หดตัวร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้า เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย. 60 ที่ 17.9 พันล้านยูโร

China: mixed signal

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ 2.9 ล้านล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 10.70 ทรงตัวจากเดือนก่อน ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 60 ทรงตัวร้อยละ 6.5 จากเดือนก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินการโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ

UK: worsening economic trend

การส่งออก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้า เดือน เม.ย. 60 หดตัวร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยขาดดุลการค้า เดือน เม.ย. 60 ที่ 11.8 พันล้านปอนด์ ด้านผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 หดตัวร้อยละ -5.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และในด้านเสถียรภาพ อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 60 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.57 ต่อกำลังแรงงานรวม และอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 60 ธนาคารกลางอังกฤษประกาศมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี

India: mixed signal

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 5 ปี การส่งออก เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนและการนำเข้า เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 33.1 จากช่วงเดียกวันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 46.8 จากช่วงเดียวกันีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลการค้า เดือน พ.ค. 60 ที่ 13.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Hong Kong: improving economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ปี 60 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากจากการหดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

South Korea: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ระดับ 3.6 ต่อกำลังแรงงานรวม

Indonesia: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า การส่งออก เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 24.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 24.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 60 ธนาคารกลางอินโดนีเซีย ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี

Malaysia: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 12.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน อัตราการว่างงานเดือน เม.ย. 60 อยู่ที่ระดับ 3.4 ต่อกำลังแรงงานรวม

Singapore: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อัตราการว่างงาน ไตรมาส 1 ปี 60 อยู่ที่ระดับ 2.2 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อน การส่งออก เดือน พ.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน การนำเข้า ขยายตัวร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Australia: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.53 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.69 ต่อกำลังแรงงานรวม

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์และเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดย ณ วันที่ 22 มิ.ย. 60 ดัชนีฯ ปิดที่ระดับ 1,580.91 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยที่ 38,761.4 ล้านบาทต่อวัน จากแรงซื้อของนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนสถาบันในประเทศ โดยที่การเคลื่อนไหวของ SET ในสัปดาห์นี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นหลัก เช่น Straits Times (สิงคโปร์) และ Stoxx600 (เยอรมนี) เป็นต้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 19 มิ.ย. - 22 มิ.ย. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 51.7 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงเกือบทุกช่วงอายุ ประมาณ 1- 6 bps ยกเว้นพันธบัตรช่วงอายุ 1 -2 ปี โดยพันธบัตรระยะยาวมีการปรับลดสูงสุด ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้มี การประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี ที่มีนักลงทุนสนใจถึง 4.93 เท่า และ 1.81 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 19 มิ.ย. - 22 มิ.ย. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 7.6 พันล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลง โดย ณ วันที่ 22 มิ.ย. 60 เงินบาทปิดที่ 34.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.45 จากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับเงินสกุลหลัก ได้แก่ เงินเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทอ่อนลงน้อยกว่าค่าเงินในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.20

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ