เอกสารแนบ: รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 27, 2017 14:42 —กระทรวงการคลัง

เอกสารแนบ

"เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง นำโดย ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของ การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"

1. ภาคใต้ : เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 26.6 และ 0.9 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช เป็นต้น ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 29.6 และ 22.7 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 29.0 ต่อปี ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 38.0 ต่อปี

ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรยังขยายตัวได้ดี ตามการผลิตสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากผลผลิตยางพาราและกุ้งขาวแวนนาไม เป็นสำคัญ ในขณะที่ราคาสินค้า เกษตรปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 รายได้เกษตรกรภาคใต้ขยายตัวที่

ร้อยละ 12.9 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน ทั้งจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในช่วง 2 เดือนแรกในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 3.5 และ 23.1 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังคงทรงตัวจากเดือนหน้า

ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยในเดือนมิถุนายน 2560 สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี และอัตราการ ว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้
หน่วย: %yoy                             ทั้งปี                    ปี 2559                                   ปี 2560
                                      2559         Q1       Q2      Q3       Q4         Q1       Q2     พ.ค.     มิ.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                   6.2        6.8      9.5     6.7      1.9        2.8      1.8      4.1     -2.0      2.3
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                  6.2       14.2      5.0     1.5      1.5       -6.3     29.6     51.2     26.6      9.1
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่              7.2       -5.3      8.6    18.2      9.4       14.9     22.7     38.3      0.9     18.8
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)             66.0       66.8     64.9    66.1     66.1       66.4     66.6     66.7     65.7     66.5
รายได้เกษตรกร                          11.5      -11.9     -2.2    23.3     31.2       49.8     12.9     12.9      4.5     30.3
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                  -0.7        9.3      0.8    -6.4     -6.7       15.8       38     66.4     29.0     25.8
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                  4.2        9.2     -0.6     3.9      4.3      -14.1     -5.9      0.6     -2.3    -10.1
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม             -30.7       27.9    -48.6    41.9    -58.1       70.7     10.2    117.9    -50.5     40.7
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)       84.8       84.1     84.3    84.4     86.4       81.8     80.4     80.3     79.5     81.1
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                           -          -        -       -        -        0.0     3.5*      2.8        -      1.2
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                      -          -        -       -        -        7.2    23.1*     17.2        -     12.1
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                0.2       -1.0      0.1     0.4      1.2        2.5      1.0      0.8      0.6      2.8
อัตราการว่างงาน                         18.8        1.3      1.4     1.2      1.5        1.5        -      1.7        -      1.6
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          หมายเหตุ : * คือข้อมูล 2M/Q2 ปี 2560
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          2. ภาคตะวันออก : เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2
ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี ตามการขยายตัว
          ได้ดีในจังหวัดระยอง ชลบุรี และสระแก้ว เป็นต้น ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อน
จากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่
          ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 3.1 และ 10.9 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดระยอง และปราจีนบุรี เป็นต้น
          ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรยังขยายตัวได้ดี ตามการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ยางพารา ผลไม้ และกุ้งขาวแวนนาไม เป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวเป็นบวกเล็ก
น้อยจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในเดือนมิถุนายน 2560 รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 19.6 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 รายได้เกษตรกรในภาคตะวันออกขยายตัว
ที่ร้อยละ 21.6 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน ทั้งจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในช่วง 2 เดือนแรกในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ
2.9 และ 10.6 ต่อปี
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนมิถุนายน 2560 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี สำหรับ
อัตราการว่างงานในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
?
ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออก
หน่วย: %yoy                                 ทั้งปี                    ปี 2559                                 ปี 2560
                                          2559         Q1       Q2      Q3      Q4         Q1       Q2     พ.ค.     มิ.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                      -1.3       -7.3     -3.6     0.2     5.7       16.3      5.6     22.7     -4.4     10.7
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                      4.0       20.2      2.5    -4.2    -8.0      -14.5      8.2     24.9      1.9     -5.0
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่                  5.3       -9.9     12.2    18.3     5.1        0.8      1.7     11.1    -11.0      1.3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)                 63.9       65.1     62.4    64.0    63.9       67.0     67.8     68.1     66.9     67.4
รายได้เกษตรกร                               5.0       -3.4      6.2    -5.1    28.9       27.3     21.6     12.1     19.6     23.0
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                      -6.9        0.0    -13.7    -6.8    -8.6      -13.0      3.1     20.1     -9.8     -6.2
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                     -1.3       -8.5    -10.4     2.1    13.7       10.7     10.9     21.1      1.2     10.8
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม                 -11.0        1.1    -46.7    56.6    77.9      -33.3    -61.4    156.7     38.8    -51.5
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)           94.6       89.2     93.6    98.7    96.8      103.2    100.6    100.4     96.3    101.9
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                               -          -        -       -       -        7.6     2.9*      3.1        -      5.6
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                          -          -        -       -       -       12.4    10.6*      9.6        -     11.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                    3.7        5.3      4.1     2.8     2.5        3.0      2.9      3.2      2.4      2.9
อัตราการว่างงาน                              7.9          1      0.9     0.9     0.7        0.8        -      0.9        -      0.8
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          หมายเหตุ : * คือข้อมูล 2M/Q2 ปี 2560
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          3. ภาคกลาง : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อยปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี
ตามการเพิ่มขึ้นในจังหวัดสระบุรี สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.7 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 9.1 ต่อปี ตามลำดับ จากการขยายตัวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสระบุรี เป็นต้น ทำให้ในไตรมาส
ที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 9.0 และ 17.0 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2560 มีเงินลงทุน 4,076 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการ
ลงทุนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสระบุรี เป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
          ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรยังขยายตัวต่อเนื่อง ตามการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว และผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวจาก
เดือนก่อนหน้า ทำให้ในเดือนมิถุนายน 2560 รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 รายได้เกษตรกรภาคกลางขยายตัวที่ร้อยละ 11.4
ต่อปี สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน ทั้งจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในช่วง 2 เดือนแรกในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.9 และ
5.5 ต่อปี ตามลำดับ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี และอัตราการ
ว่างงานในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง
หน่วย: %yoy                                  ทั้งปี                     ปี 2559                                  ปี 2560
                                           2559         Q1       Q2       Q3       Q4         Q1      Q2     พ.ค.     มิ.ย.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                        4.7       -0.1      5.7     10.2      3.7       -3.5    -7.9     -3.4     -8.4    -5.7
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                      10.3       16.2     13.4     11.0     -2.9       -8.9    13.2     23.5      6.8     0.4
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่                   2.0       -6.8      9.3      7.2      0.3        2.2    10.7       14      2.4     6.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)                  59.8       60.8     58.7     60.2     59.6       61.8    62.2     62.2     61.2      62
รายได้เกษตรกร                               -5.0       -9.0     2.19     2.81     -5.3       -6.9    11.4      5.9      4.0    -1.1
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                        3.3        1.7      6.8     -0.5      6.1       -0.9     9.0       27      3.3     3.5
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                     -18.2      -12.3    -27.7      -11    -19.1        1.0    17.0     30.8      9.1     8.9
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม                  -54.4        6.4    -60.5    -81.9    -60.5       10.2    75.9    494.7     46.1    34.2
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)            89.5       89.7     89.7     88.1     90.4       89.4    86.5     86.5     87.7    88.0
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                                -          -        -        -        -        0.4    1.9*      2.5        -     1.1
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                           -          -        -        -        -        3.6    5.5*      5.8        -     4.5
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                     0.7        0.0      1.1      0.7      0.9        1.5    -0.4     -0.8     -0.6     1.8
อัตราการว่างงาน                               5.6        1.3      1.8      1.4      1.4        1.7       -      1.7        -     1.6
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          หมายเหตุ : * คือข้อมูล 2M/Q2 ปี 2560
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี จากการขยายตัว
ในจังหวัดอุบลราชธานี นครพนม และมุกดาหาร
          เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน จากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.2 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวที่ร้อยละ
18.3 ต่อปี ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จังหวัดเลย อุบลราธานี ศรีสะเกษ และมุกดาหาร เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุน
ภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 66.4 ต่อปี ตามการลงทุนในจังหวัด
เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี และอุดรธานี เป็นต้น ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 35.6 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตร ยังขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนื่อง ตามการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง และผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่
ราคาสินค้าเกษตรหดตัวจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ทำให้ในเดือนมิถุนายน 2560 รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 24.8 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 รายได้เกษตรกร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวที่ร้อยละ 41.1 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน สะท้อนจากรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในช่วง 2 เดือนแรกในไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับเอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี และอัตราการว่าง
งานในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หน่วย: %yoy                                    ทั้งปี                    ปี 2559                                  ปี 2560
                                             2559         Q1       Q2      Q3       Q4         Q1       Q2     พ.ค.     มิ.ย.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                          5.9        8.1      7.0     3.6      4.7        0.3     -1.7      0.2      0.3    -0.7
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                         5.2       21.6      2.3     2.4     -8.4         -9     18.3     32.1     14.2     2.9
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่                     0.7      -10.6      4.2     6.9      4.4        5.2      7.5     14.0     -1.5     6.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)                    63.9       65.0     63.0    64.2     63.4       65.2     65.1     65.1     64.2    65.1
รายได้เกษตรกร                                -13.1      -18.6    -20.3    -5.5     -7.0        4.5     41.1     26.9     24.8    11.3
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                         -8.8       -8.8     -7.8    -3.1    -15.3        0.9      9.3     27.5     -6.2     4.8
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                        -6.6       -5.6      0.6    -2.5    -17.7       -8.7    -10.7     -0.2     -9.2    -9.7
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม                      7.3      -60.5    -19.5    16.4     82.2       40.4     35.6    -67.9     66.4    37.8
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)              77.9       79.9     74.6    76.5     80.4       80.9     85.1     85.5     83.4    83.0
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                                  -          -        -       -        -       11.3    -0.6*      4.0        -     6.2
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                             -          -        -       -        -       18.3     2.1*      5.0        -    11.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                       4.4        5.5      4.7     3.9      3.4        3.0      3.1      3.2      2.9     2.9
อัตราการว่างงาน                                22.8        0.8      1.1    0.83      0.9        1.5        -      1.1        -     1.4
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          หมายเหตุ : * คือข้อมูล 2M/Q2 ปี 2560
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          5. ภาคเหนือ : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว
ที่ร้อยละ 15.7 และ 1.0 ต่อปี ตามลำดับ จากการขยายตัวได้ดีในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก และนครสวรรค์ เป็นต้น ส่งผลให้
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 17.9 และ 11.2 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถบรรทุก
จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 14.6 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ กำแพงเพชร และ พิษณุโลก เป็นต้น ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรยังขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนื่อง ตามการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ลำไย และผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ราคาสินค้า
เกษตรหดตัวจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในเดือนมิถุนายน 2560 รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 39.7 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 รายได้เกษตรกรภาคเหนือขยายตัว
ที่ร้อยละ 50.9 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน โดยในช่วง 2 เดือนแรกในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวที่
ร้อยละ 3.4 และ 7.1 ต่อปี ตามลำดับ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน (เบื้องต้น) 2560 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี และอัตราการว่างงานใน
เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 5 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ
หน่วย: %yoy                                 ทั้งปี 2559                    ปี 2559                                  ปี 2560
                                                            Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2    พ.ค.     มิ.ย.      YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                           13.1       19.9       19     11.4      2.5        0.0     -1.6    -0.9     -8.9     -0.8
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                           3.8       15.8      5.5      3.1    -16.3      -13.7     17.9    24.2     15.7     -0.7
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่                       3.4       -2.8      2.7     16.3     -0.9       -0.3     11.2    15.1        1      5.3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)                      63.9       64.5     62.8     64.1     64.2       66.3     66.2    66.3     65.2     66.2
รายได้เกษตรกร                                  -13.4      -18.8    -26.1     -2.3     -9.0        0.2     50.9    38.4     39.7      8.2
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                           -7.5       -1.4      0.0     -4.4    -26.3       -1.3      6.4    18.8     -4.3      2.2
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                          -4.6       -4.8     -5.5    -11.9      4.5       -5.4      7.0    19.7     14.6      0.5
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม                       11.3      130.0    -49.6     -1.2     58.7      -79.3    -43.1    33.9    -67.2    -65.4
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)                76.7       81.6     74.1     71.8     79.4       76.2     70.6    70.7     69.3     73.4
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                                    -          -        -        -        -        3.9     3.4*     4.2        -      3.7
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                               -          -        -        -        -       -1.1     7.1*     6.3        -      1.7
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                         0.9       -0.5      1.4      1.1      1.4        1.6     -0.8    -1.3     -1.2      2.0
อัตราการว่างงาน                                  16.1        0.9      0.9      0.9      1.0        1.0        -     1.1        -      1.0
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          หมายเหตุ : * คือข้อมูล 2M/Q2 ปี 2560
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          6. กทม. และปริมณฑล: เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ในเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี
ตามการขยายตัวในจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ เป็นต้น ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 7.8 สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน มี
เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 11,574 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 98.8 ต่อปี ตามการลงทุนในจังหวัดสมุทรปราการ เงินลงทุน 7,749 ล้านบาท ซึ่งเป็นการ
ลงทุนในโรงงานผลิตเหล็กเป็นสำคัญ และจังหวัดสมุทรสาคร เงินลงทุน 1,764 ล้านบาท ตามการลงทุนในโรงงานผลิตอาหาร และโรงงานผลิตและประกอบเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ จากการ
ลงทุนต่อเนื่องในจังหวัดสำคัญต่างๆ ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมของกทม.และปริมณฑล ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 108.2 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตร ยังขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนื่อง ตามการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว กุ้งขาวและผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ราคา
สินค้าเกษตรหดตัวจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ทำให้ในเดือนมิถุนายน 2560 รายได้เกษตรกรยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 รายได้เกษตรกรใน
กทม.และปริมณฑล ขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน โดยในช่วง 2 เดือนแรกใน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 และ 20.4 ต่อปี ตามลำดับ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน (เบื้องต้น) 2560 อยู่ในระดับเอื้อต่อการบริโภคที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี และอัตราการว่าง
งานในเดือนพฤษภาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล
หน่วย: %yoy                                   ทั้งปี                    ปี 2559                                    ปี 2560
                                            2559         Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     พ.ค.     มิ.ย.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                        -0.8       -3.2      2.6     -0.6     -1.9        0.6     -1.8      2.6     -2.0    -0.6
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                        4.6       14.6     14.7      0.1    -14.7       -7.4     -2.9      3.6    -11.1    -5.3
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่                   11.4        8.4     12.9     17.2      7.3        1.1      5.7     10.6     -0.7     3.4
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)                   60.3       62.1     59.2     60.3     59.8       62.6     62.6     62.5     61.4    62.6
รายได้เกษตรกร                                -1.7       -5.4      5.1      4.9     -6.0        0.1     13.8      4.3      8.0     4.9
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                         2.6        3.3      1.7     14.7    -10.4       -2.1      7.8     17.8      1.5     2.4
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                       -2.9      -15.4     -4.0      0.3      7.6        4.7     -1.3     -0.9     -9.0     1.6
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม                   -46.4      -43.4    -25.9    -62.8    -43.6       35.7    108.2    247.5     98.8    82.2
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)             89.5       89.7     89.7     88.1     90.4       89.4     86.5     86.5     87.7    88.0
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                                 -          -        -        -        -       -4.2     4.4*      1.4        -    -0.8
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                            -          -        -        -        -        0.2    20.4*      8.1        -     8.6
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                      3.5        4.6      3.8      3.1      2.4        2.7      2.6      2.6      2.5     2.6
อัตราการว่างงาน                               24.7        0.9      0.9      0.9      1.1        1.0        -      1.1        -     1.0
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          หมายเหตุ : * คือข้อมูล 2M/Q2 ปี 2560
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค.

          7. ภาคตะวันตก : เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยมีการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
          ในด้านอุปสงค์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 ต่อปี ตามการขยายตัวในจังหวัด
เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสุพรรณบุรี เป็นต้น ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือ
เครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 0.4 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี เช่นเดียวกันกับเงินลงทุนในโรงงาน
อุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายน 2560 มีเงินลงทุน 3,977 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 133.5 ต่อปี ตามการลงทุนในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะ
จังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี  เป็นต้น
          ในด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรยังขยายตัวในอัตราเร่งต่อเนื่อง ตามการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว
มันสำปะหลัง กุ้งขาว และผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ สุกร และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัวจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2560 รายได้เกษตรกรภาคตะวันตก
ขยายตัวที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือน โดยในช่วง 2 เดือนแรกในไตรมาสที่ 2 ปี 2560
ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 และ 7.8 ต่อปี ตามลำดับ
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน (เบื้องต้น) 2560 ที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือน
พฤษภาคม อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก
หน่วย: %yoy                                ทั้งปี 2559                     ปี 2559                                  ปี 2560
                                                            Q1       Q2       Q3       Q4         Q1       Q2     พ.ค.     มิ.ย.     YTD
เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่                         -20.0       -18.6    -17.6    -24.5    -18.8      -12.8     -4.2    -13.5     -1.0    -8.6
ยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่                          9.0        16.2      8.8     10.9     -4.5      -14.0     15.9     19.5     12.5    -1.6
ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่                      5.3         1.1      5.7     15.7     -0.1       -5.5     -3.7      4.9    -18.9    -4.6
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)                     59.8        60.8     58.7     60.2     59.6       61.8     62.2     62.2     61.2    62.0
รายได้เกษตรกร                                 -12.6       -12.1    -20.8      8.4    -16.9       -6.1     10.7      0.7     -3.6    -3.2
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่                         -16.2        -4.1    -12.9    -15.5    -34.4       -4.9      2.9     13.2      0.4    -1.5
ยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่                        -16.0       -19.8     -7.0    -19.3    -17.1       -4.1      -63    -11.9     -2.5    -5.2
เงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม                      -2.4    1,402.70    147.5    -36.7    -78.6      -89.5    -24.2     96.0    133.5   -64.2
เครื่องชี้อุตสาหกรรม
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)               89.5        89.7     89.7     88.1     90.4       89.4     86.5     86.5     87.7    88.0
เครื่องชี้การท่องเที่ยว
จำนวนผู้เยี่ยมเยือน                                   -           -        -        -        -        2.7     5.2*      5.1        -     3.8
รายได้จากการเยี่ยมเยือน                              -           -        -        -        -        3.3     7.8*      9.0        -     5.0
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น)                        1.0        -0.4      1.2      1.2      1.8        2.2      0.4      0.1      0.4     2.6
อัตราการว่างงาน                                  4.1         0.6      0.8      0.8      0.6        0.6        -      0.9        -     0.7
(% ต่อกำลังแรงงาน)
          หมายเหตุ : * คือข้อมูล 2M/Q2 ปี 2560
          ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการ
ท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณและรวบรวม: สศค
          ที่
          มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ