รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 11 - 15 ธันวาคม 2560

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 5, 2018 15:06 —กระทรวงการคลัง

Fiscal Policy Office

For 11 - 15 Dec 2017

15 December 2017

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.4 แสนคน
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ย. 60 มีจำนวน 169,378 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.7
  • ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือนต.ค. 60 คิดเป็น 1.74 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
  • เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 60 (ตามเวลาในไทย) ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็น ร้อยละ 1.25 - 1.50
  • ผลผลิตอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปในเดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.7
  • ยอดค้าปลีกของจีนในเดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.20
  • อัตราการว่างงานของสหราชอาณาจักรในเดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ต่อกำลังแรงงานรวม
  • การส่งออกของฟิลิปปินส์ในเดือน ต.ค. 60 ขยายตัว ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้าmoขยายตัวร้อยละ 13.1 ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
Economic Indicators: This Week

การจ้างงานเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ 37.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.3 หมื่นคน กลับมาขยายตัวได้ อีกครังที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่มีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 6.7 หมื่นคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.8 รวมถึงการจ้างงานภาคบริการที่มีจำนวนการจ้างงานเพิ่มขึ้น 3.6 แสนคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.2 อย่างไรก็ตาม การจ้างงานภาคเกษตรกรรมมีจำนวนการจ้างงานลดลง 3.6 แสนคน หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -2.9 สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.4 แสนคน

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 60 คิดเป็น 1.74 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 3.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 3.5 ล้านล้านบาทในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต(Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ย. 60 มีจำนวน 169,378 คัน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 ซึ่งเป็นการขยายตัวทั้งในเขต กทม. ร้อยละ 15.6 และในเขตภูมิภาคที่ร้อยละ 9.2 ส่งผลให้ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 60 ขยายตัวได้ร้อยละ 4.8

Global Economic Indicators: This Week

US: improving economic trend

การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน พ.ย. 60 เพิ่มขึ้น 2.3 แสนตำแหน่ง โดยที่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานอยู่ที่ร้อยละ 62.7 ของคนวัยแรงงานด้านอัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยในเดือน พ.ย. 60 ราคาในหมวดการคมนาคมขนส่งเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า และเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 60 (ตามเวลาในไทย) ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps เป็นร้อยละ 1.25 - 1.50 ที่คะแนน 7 ต่อ 2 เสียง โดยที่มีปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ได้แก่ ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 17 ปี ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง

Eurozone: improving economic trend

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.4

China: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 60 ขยายตัวร้อยละ 10.20 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10

UK: mixed signal

อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ต่อกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

Philippines: mixed signal

ด้านการส่งออก เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าขณะที่ การนำเข้า เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 13.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และขาดดุลการค้าใน เดือน ต.ค. 60 ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 60 หดตัวร้อยละ -6.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

Indonesia: worsening economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Malaysia: mixed signal

ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 60 ขยายตัวร้อยละ 9.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

Vietnam: mixed signal

ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Singapore: improving economic trend

ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 60 หดตัวร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

India: worsening economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า

South Korea: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 60 อยู่ที่ร้อยละ 3.70 ของกำลังแรงงานรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.60 ในเดือนก่อนหน้า

Australia: worsening economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 60 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ต่อกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

Japan: improving economic trend

ดัชนี PMI เบืองต้น เดือน ธ.ค. อยู่ที่ระดับ 54.2 สูงกว่าที่ระดับ 53.6 ในเดือนก่อนหน้า

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยดัชนี SET ณ วันที่ 13 ธ.ค. 60 ปิดที่ระดับ 1,706.93 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยวันที่ 12 - 13 ธ.ค. 60 ที่ 47,997 ล้านบาทต่อวัน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 12 - 13 ธ.ค. 60 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ 2,015 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้น 1-8 bps จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกช่วงอายุในสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 12 - 13 ธ.ค. 60 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 9,099 ล้านบาท

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.02 โดย ณ วันที่ 13 ธ.ค. 60 เงินบาทปิดที่ 32.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้โดยรวมแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.39

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ