บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองด้วยแพทย แผนไทยและสมุนไพรของครัวเรือน พ.ศ. 2556

ข่าวผลสำรวจ Friday June 20, 2014 11:57 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองด้วยแพทย์แผนไทยและสมุนไพรของครัวเรือน    พ.ศ. 2556  โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาแผนไทย ค่าใช้จ่ายและการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทย  พฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองเมื่อเจ็บป่วย ระดับความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิ       ความปลอดภัยและมาตรฐานยาสมุนไพร  ตลอดจนทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรไทย โดยสอบ5มประชาชนที่มีอายุ 18 ป ขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีประชาชน       5กเลือกเป นตัวอย่าง 5,800 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 4 - 22 พฤศจิกายน 2556 และเสนอผลสำรวจในระดับกรุงเทพมหานคร ภาค และทั่วประเทศ จำแนกตามเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ในรูปร้อยละ
สรุปผลการสำรวจที่สำคัญๆ

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบสัมภาษณ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้และการใช้ยาแผนไทย

1.1 การรู้จักยาแผนไทย/สมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาโรค 10 อันดับแรก

การใช้ยาแผนไทย/สมุนไพร ในการรักษาโรค พบว่าประชาชนร้อยละ 41.6 ตอบว่าไม่รู้จักและไม่เคยใช้ ที่รู้จักแต่ไม่เคยใช้ ร้อยละ 36.5 ส่วนประชาชนที่รู้จักและเคยใช้มีสัดส่วนต่ำสุด ร้อยละ 21.9

เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลรู้จักแต่ไม่เคยใช้ยาแผนไทย/สมุนไพร มีสัดส่วนสูงกว่านอกเขตเทศบาล

จากการสำรวจ พบว่า ยาแผนไทย/สมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาโรคที่ประชาชนรู้จัก (ทั้งเคยใช้และไม่เคยใช้) 10 อันดับแรก คือว่านหางจระเข้ ร้อยละ 96.8 รองลงมาได้แก่ ยาหม่องสมุนไพร ร้อยละ 96.5 ยาหอม ร้อยละ 95.7 ยาดมสมุนไพร ร้อยละ 95.1 ยาอมสมุนไพร ร้อยละ 93.9 ฟ ทะลายโจร ร้อยละ 91.5 บัวบก ร้อยละ 90.2 ขมิ้นชัน ร้อยละ 87.2 ยาแก้ไอผสมมะขามป อม ร้อยละ 84.1 และไพล ร้อยละ 77.1

1.2 การซื้อยาแผนไทย/สมุนไพร จำนวนครั้ง และจำนวนเงินที่ซื้อต่อครั้ง

จากการสำรวจ พบว่า ประชาชนที่รู้จักและเคยใช้ยาแผนไทย/สมุนไพรในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ซื้อยาหม่องสมุนไพรมีสัดส่วนสูงกว่ายาแผนไทยประเภทอื่นๆ คือ ร้อยละ 60.4 (ซื้อ 2.7 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่ซื้อ 54.52 บาทต่อครั้ง) รองลงมาได้แก่ ยาดมสมุนไพร ซื้อร้อยละ 37.2 (ซื้อ 2.9 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่ซื้อ 40.84 บาทต่อครั้ง) ยาหอม ร้อยละ 34.0 (ซื้อ 2.6 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่ซื้อ 48.81 บาทต่อครั้ง) ยาอมสมุนไพร ร้อยละ 30.4 (ซื้อ 3.5 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่ซื้อ 35.93 บาทต่อครั้ง) ยาแก้ไอผสมมะขามป อม ร้อยละ14.4 (ซื้อ 1.7 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่ซื้อ 39.30 บาทต่อครั้ง)ไพล ร้อยละ 14.0 (ซื้อ 2.3 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่ซื้อ 81.50 บาทต่อครั้ง) ส่วนยาแผนไทย/สมุนไพร รายการอื่นๆ มีประชาชนซื้อน้อยกว่าร้อยละ 7

1.3 การตัดสินใจใช้ยาแผนไทย

โดยรวมประชาชนที่รู้จักและเคยใช้ยาแผนไทย(ทั้งในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และก่อน 12 เดือนที่ผ่านมา) ตัดสินใจใช้ยาแผนไทยเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 82.2) รองลงมาได้แก่ แพทย์แผนป จจุบันไม่สามาร5รักษาได้ ร้อยละ 16.1 เจ็บป่วยเรื้อรัง ร้อยละ 8.4 และอื่นๆ (เช่น แพทย์สั่ง เพื่อนแนะนำฯลฯ) ร้อยละ 1.2 ตามลำดับ

1.4 แหล่งที่มาของยาแผนไทย

สำหรับประชาชนที่รู้จักและเคยใช้ยาแผนไทย(ทั้งในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และก่อน 12 เดือนที่ผ่านมา) ร้อยละ 59.6 ระบุแหล่งที่มาของยาแผนไทยมาจากการซื้อจากร้านขายยาส่วนเพาะปลูกเองในครัวเรือน/แบ่งป นจากเพื่อนบ้าน ร้อยละ 47.9 ซื้อจากตลาด ร้อยละ 30.0 การออกร้าน/บูธกิจกรรม/มหกรรมต่าง ๆ ร้อยละ 13.3 และโรงพยาบาล ร้อยละ 7.8 ขณะที่ประชาชนได้ ยาแผนไทยมาจากการขายตรง มีเพียงร้อยละ 3.1 นอกจากนี้ ยังได้มาจาก แหล่งอื่น ๆ (เช่น หาจากภูเขา จากวัด ฯลฯ ) อีกร้อยละ 0.3

1.5 การเคยได้รับยาแผนไทยจากการตรวจด้วยแพทย แผนป จจุบันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

ประชาชนร้อยละ 94.9 ระบุว่า ไม่เคยได้รับยาแผนไทยจากการตรวจด้วยแพทย์แผนป จจุบันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และที่ระบุว่า เคยได้รับ มีเพียงร้อยละ 5.1 โดยยาแผนไทยที่ได้รับจากการตรวจด้วยแพทย์แผนป จจุบันบ่อยครั้งที่สุด คือ ยานวดสมุนไพร (จำนวน 4.2 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่จ่าย 94.50 บาทต่อครั้ง) รองลงมาได้แก่ ยาหม่องสมุนไพร (จำนวน 3.7 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่จ่าย 66.29 บาทต่อครั้ง) ยาดมสมุนไพร (จำนวน 2.7 ครั้งต่อป จำนวน เงินที่จ่าย 46.67 บาทต่อครั้ง) สำหรับยาแก้ไอมะขามป อม ขมิ้นชันยาอมมะแว้ง ฟ ทะลาย และยาหอม มีจำนวนครั้งที่ได้รับระหว่าง 2.2-2.4 ครั้งต่อป

1.6 การเคยซื้อผลิตภัณฑ สมุนไพร/สมุนไพรของต่างประเทศในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

ประชาชน ร้อยละ 95.5 ตอบว่า ไม่เคยซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร/สมุนไพรของต่างประเทศในรอบ12 เดือนที่ผ่านมา และที่เคยซื้อ มีเพียงร้อยละ 4.5 ซึ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพร/สมุนไพรของต่างประเทศที่ประชาชนซื้อ ได้แก่ เห็ดหลินจือ (ซื้อ 3.1 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่จ่าย 1,136.47 บาทต่อครั้ง) แปะก วย (ซื้อ 3.1 ครั้งต่อป จำนวนเงิน ที่จ่าย 554.73 บาทต่อครั้ง) ยาสมุนไพรจีน (ซื้อ 2.7 ครั้งต่อไปจำนวนเงินที่จ่าย 756.46 บาท/ครั้ง) โสม (ซื้อ 2.5 ครั้งต่อป จำนวนเงินที่จ่าย 1,364.23 บาทต่อครั้ง) และบัวหิมะ (ซื้อ 1.7 ครั้งต่อป จำนวนเงิน ที่จ่าย 789.36 บาทต่อครั้ง)

2. การดูแลรักษาตนเองเมื่อเจ็บป่วยด้วยการใช้ยาแผนไทยในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาประชาชนร้อยละ 74.6 ตอบว่า ไม่เคยเจ็บป่วย และมีร้อยละ 25.4 ที่ตอบว่า เจ็บป่วย โดยโรคที่เจ็บป่วยและใช้ยาแผนไทยรักษาพบว่า โรคระบบกล้ามเนื้อ/กระดูก มีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 62.8) รองลงมาได้แก่ โรคระบบทางเดิน หายใจ/หอบ/หืด (ร้อยละ 45.6) ไข้หวัด (ร้อยละ 42.4) ท้องเสีย ท้องเดิน (ร้อยละ 33.6) ระบบทางเดินอาหาร/กระเพาะอาหาร (ร้อยละ 32.2) ภูมิแพ้ (ร้อยละ 30.3) สำหรับโรคเบาหวาน ริดสีดวงทวาร ความดันโลหิตสูงมีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 21-25 ส่วนโรคที่เจ็บป่วยอื่นๆ มีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 10 3. การได้รับความรู้เกี่ยวกับยาแผนไทยจากสื่อหรือช่องทาง

ผลการสำรวจเกี่ยวกับสื่อหรือช่องทางที่ประชาชนได้รับรู้เกี่ยวกับยาแผนไทย พบว่า มาจากการบอกเล่า/สมาชิกในครอบครัว (พ่อแม่/ญาติ) มีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 61.9 รองลงมาได้แก่ ฟรีทีวี(ช่อง 3,5,7,9,NBT,ThaiPBS) ร้อยละ 51.6 หนังสือพิมพ์/สิ่งพิมพ์/ใบปลิว ร้อยละ 19.4 วิทยุท้อง5นชุมชน ร้อยละ 17.0 ผู้นำชุมชน (ปราชญ์ชาวบ้าน ครู พระฯลฯ) ร้อยละ 16.6 หนังสือ/ตำราวิชาการ/ใบลาน ร้อยละ 15.9 แพทย์แผนป จจุบัน (คลินิก/อนามัย/โรงพยาบาล) ร้อยละ 12.3 เคเบิลทีวี/จานดาวเทียม ร้อยละ 11.1 แพทย์แผนไทย/ส5นพยาบาลแพทย์แผนไทย ร้อยละ 10.7 เว็บไซต์/ อินเทอร์เนต ร้อยละ 7.2 ร5เร่ ร้อยละ 3.7 Facebook ร้อยละ 1.5 และจากช่องทางอื่นๆ (เช่น การอบรม ดูงาน ฯลฯ) ร้อยละ 0.2

เมื่อพิจารณาเป นรายภาค พบว่าประชาชนเกือบทุกภาคได้รับความรู้เกี่ยวกับยาแผนไทยมาจากการบอกเล่า/สมาชิกในครอบครัว(พ่อแม่ /ญาติ) มีสัดส่วนสูงกว่าสื่อหรือช่องทางอื่นๆ ยกเว้นประชาชนภาคกลางที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับยาแผนไทยมาจากสื่อฟรีทีวี (ช่อง 3, 5, 7, 9, NBT, ThaiPBS) มีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 53.8)

4. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ของสมาชิกในครัวเรือน เมื่อเจ็บป่วย ครัวเรือนเมื่อเจ็บป่วย พบว่า ประชาชนเลือกไปพบแพทย์ สำหรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ของสมาชิกในแผนปัจจุบันตามคลินิก/ส5นพยาบาลต่าง ๆ มีสัดส่วนสูงสุด คือ ร้อยละ 65.2 รองลงมาได้แก่ ซื้อยาแผนป จจุบันมารักษาอาการเอง ร้อยละ 59.7 ดูแลตนเองที่บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ร้อยละ 56.4 และใช้สมุนไพร/ยาแผนไทยรักษาอาการ ร้อยละ 18.8 ขณะที่ประชาชนเลือกที่จะไปพบแพทย์แผนไทย/หมอพื้นบ้าน มีเพียงร้อยละ 4.3

5. การใช้ยาแผนไทยที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติรักษาอาการเจ็บป่วยแทนยาแผนปัจจุบัน

ผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนร้อยละ 80.2 ยินดีใช้ ยาแผนไทยที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติรักษาอาการของโรคแทน ยาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 17.1 ไม่แน่ใจ และอีกร้อยละ 2.7 ไม่ยินดีใช้ เมื่อพิจารณาเป นรายภาค พบว่า ประชาชนภาคใต้ยินดีใช้ยาแผนไทยที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติรักษาอาการเจ็บป่วยมีสัดส่วนสูงกว่าภาคอื่น คือ ร้อยละ 84.6 รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือและภาคกลางมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ร้อยละ 81.9 และ 81.4 ตามลำดับ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 79.4 ขณะที่ประชาชนกรุงเทพมหานครยินดีใช้ยาแผนไทยฯ รักษาแทนยาแผนป จจุบันมีสัดส่วนต่ำกว่าภาคอื่น คือ ร้อยละ 71.6

6. การใช้บริการของการแพทย แผนไทย ผลการสำรวจเกี่ยวกับการรู้จักบริการของการแพทย์แผนไทย (ทั้งเคยใช้ และไม่เคยใช้) พบว่า ประชาชนรู้จักการนวดประคบสมุนไพรมีสัดส่วนสูงกว่าบริการประเภทอื่นคือ ร้อยละ 93.3 รองลงมาได้แก่ การนวดเพื่อการรักษา และการประคบสมุนไพร

มีสัดส่วนเท่ากันคือ ร้อยละ 93.0 ส่วนการอบสมุนไพร ร้อยละ 91.9 การตรวจรักษา/สั่งจ่ายยาสมุนไพร ร้อยละ 71.7 และชุดดูแลหญิงหลังคลอด ร้อยละ 67.1 ขณะที่การให้บริการของการแพทย์แผนไทยประเภทการนั่ง5นประชาชนรู้จักต่ำสุด ร้อยละ 60.0 นอกจากนี้ ประชาชนยังมีการรับบริการของการแพทย์แผนไทยอื่นๆ (เช่นการเข้าเฝือกกระดูก ฯลฯ) ร้อยละ 77.8 เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่าประชาชนในเขตเทศบาลรู้จักบริการการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดประคบสมุนไพรมากการบริการประเภทอื่น (ร้อยละ 95.9)

7. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ ความปลอดภัยและมาตรฐานยาแผนไทย

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ5กต้องมากที่สุดในเรื่องสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป นหน่วยงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาแผนไทย (ร้อยละ 64.0) รองลงมา คือ ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณจำเป นต้องมีฉลากยา(ร้อยละ 63.7) ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง (30 บาท) มีสิทธิได้รับยาแผนไทยฟรี เช่นเดียวกับยาแผนปัจจุบัน (ร้อยละ 55.8) ปัจจุบันยาแผนไทยได้รับคัดเลือกให้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (ร้อยละ 52.4) สตรีคลอดที่มีสิทธิประกันสุขภาพ5วน(บัตร 30บาทหรือบัตรทอง) มีสิทธิได้รับบริการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอดฟรี (ร้อยละ 51.1) ส่วนเรื่องอื่นๆ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ5กต้องน้อยกว่าร้อยละ 50.0

เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่าประชาชนในเขตเทศบาลมีความรู้ ความเข้าใจ5กต้องมากที่สุดในเรื่องยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณจำเป นต้องมีฉลากยา(ร้อยละ 67.4) ขณะที่ประชาชนนอกเขตเทศบาลมีความรู้ ความเข้าใจ5กต้องมากที่สุดในเรื่องสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาแผนไทยมีสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 63.8)

8. ความคิดเห็นทั่วไป และความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐตอการแพทยแผนไทยและยาแผนไทย

8.1 ความคิดเห็นทั่วไปตอการแพทยแผนไทยและยาแผนไทย

ประชาชนเห็นดวยถึงเห็นดวยอยางยิ่งตอการนำยาแผนไทยมาใชรักษาอาการเจ็บปวยเล็กๆ นอยๆ หรืออาการระยะแรกชวยลดคาใชจายในการรักษาพยาบาลลงมีสัดสวนสูงสุด คือรอยละ 80.4 รองลงมาไดแก ยาแผนไทยใชแลวไดผล โดยเฉพาะอยางยิ่งกับอาการเจ็บปวยเล็กๆ นอยๆ หรืออาการระยะแรก (รอยละ 77.3)ประเทศไทยสามารถลดภาระรายจายการนำเขายาได้หากใช้ยาแผนไทยแทนยาจากตางประเทศที่รักษาโรคเดียวกัน (รอยละ 74.5) ยาแผนไทยเป็นภูมิปญญาดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา เชื่อถือและไว้วางใจได้ (ร้อยละ 74.3) ยาแผนไทยบางชนิดสามารถใชแทนยาแผนปัจจุบันได้ (ร้อยละ 71.2) การรักษาโดยแพทยแผนไทยและยาแผนไทยประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการรักษาโดยแพทยแผนปัจจุบัน (ร้อยละ 70.6 ) เป็นต้น สวนประเด็นความคิดเห็นอื่นๆ มีสัดสวนต่ำกว่าร้อยละ 66

8.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐตอการแพทยแผนไทยและยาแผนไทย

ประชาชนเห็นดวยถึงเห็นดวยอยางยิ่งตอรัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการเพาะปลูกและพัฒนาสมุนไพรไทย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร มีสัดส่วนสูงสุด คือ ร้อยละ 88.8 รองลงมาได้แก่ เทศบาล/อบต. ควรสนับสนุนให้มีการใช้สมุนสมุนไพรไทย เพื่อป้องกันและรักษาสุขภาพของสมาชิกในชุนชน (ร้อยละ 87.6) ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการแพทยแผนไทยและยาแผนไทยน้อยเกินไป (ร้อยละ 86.3) และรัฐบาลควรให้การอุดหนุนและสนับสนุนสถานพยาบาลของรัฐให้ใช้ยาแผนไทยมากขึ้น ประชาชนเห็นด้วยถึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 84.8

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ