สรุปผลการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข่าวผลสำรวจ Wednesday August 20, 2014 10:50 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย เดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งจากการสอบถามคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เป็นผู้ตอบคำถามด้วยตนเองเท่านั้น โดยใช้ข้อถามสุขภาพจิต 15 ข้อ แต่ละข้อมีคะแนนอยู่ระหว่าง 0-3 คะแนน ซึ่งคะแนนเต็มของข้อถามชุดนี้ คือ 45 คะแนน สถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทย

ผลการสำรวจในเดือนกรกฎาคม 2557 พบว่า จำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเท่ากับ 31.47 (สุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป) หากเปรียบเทียบเดือนพฤษภาคมกับกรกฎาคม 2557 พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น 0.17 คะแนน (จาก 31.30 คะแนน เป็น 31.47 คะแนน) และเมื่อพิจารณากับผลการสำรวจ ครั้งที่ผ่านมาโดยปี 2551-2553 คะแนนสุขภาพจิต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนปี 2554 มีคะแนนสุขภาพจิตเริ่มลดลง ปี 2555 คะแนนสุขภาพจิตคนไทยดีขึ้นและลดลงอีกครั้งในปี 2556-2557

          และเมื่อพิจารณาตามเพศ เขตการปกครอง และภาคในเดือนกรกฎาคม 2557 พบว่า เพศชายมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตสูงกว่าเพศหญิง (ชาย 31.85 หญิง 31.19) และผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตสูงกว่า        ผู้อยู่นอกเขตเทศบาล (ในเขตเทศบาล 31.51 นอกเขตเทศบาล 31.44) หากพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคเหนือ   มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตมากที่สุด 31.95 ภาคใต้ 31.70 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31.54 กรุงเทพมหานคร 31.46 และภาคกลาง 30.95 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบตามเพศและเขตการปกครอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตคนไทยเดือนกรกฎาคม 2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2557 โดยเพศหญิงเพิ่มขึ้นมากกว่าเพศชาย (หญิงเพิ่มขึ้น 0.21 คะแนน และชายเพิ่มขึ้น 0.11 คะแนน) และเมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตผู้อยู่ในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้อยู่นอกเขตเทศบาล (ในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้น 0.29 คะแนน และนอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้น 0.07 คะแนน) สุขภาพจิตตามโครงสร้างกำลังแรงงาน

เมื่อพิจารณาสุขภาพจิตตามโครงสร้างกำลังแรงงานเดือนกรกฎาคม พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิต 31.47 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้อยู่ในกำลังแรงงาน มีคะแนนเฉลี่ย 31.65 (ผู้มีงานทำ 31.66 ผู้ว่างงาน 29.98 ผู้รอฤดูกาล 30.81) และผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน มีคะแนนเฉลี่ย 31.05 ตาราง 1 คะแนนเฉลี่ยและร้อยละของระดับสุขภาพจิตคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำแนกตามโครงสร้างกำลังแรงงาน

                                              จำนวนร้อยละของระดับสุขภาพจิต

สถานภาพแรงงาน         คะแนนเฉลี่ย    ______________________________________________
                                     ต่ำกว่าคนทั่วไป      เท่ากับคนทั่วไป     สูงกว่าคนทั่วไป
                                     (0.00-24.00)   (24.01-37.00)    (34.01-45.00)
ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป     31.47           16.51            63.03           20.46
ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน         31.65           15.14            64.09           20.77
- ผู้มีงานทำ               31.66           15.05            64.06           20.88
- ผู้ว่างงาน               29.98           26.03            64.30            9.67
- ผู้รอฤดูกาล              30.81           2.26             95.71            2.03
ผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน        31.05           19.83            60.47           19.70
- ทำงานบ้าน              31.04           18.64            63.02           18.35
- เรียนหนังสือ             32.23           10.62            65.12           24.26
- อื่นๆ                   30.71           23.50            57.03           19.47
สุขภาพจิตของผู้มีงานทำ

สุขภาพจิตของผู้มีงานทำในเดือนพฤษภาคม 2557 พบว่า อาชีพที่มีคะแนนสุขภาพจิตที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มอาชีพผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ (ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ด้านสุขภาพ ด้านการสอน ด้านธุรกิจและการบริหาร ด้าน ICT ด้านกฎหมาย สังคม และวัฒนธรรม) มีคะแนนเฉลี่ย 33.85 รองลงมาเป็นกลุ่มอาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส 33.02 และกลุ่มอาชีพผู้ประกอบวิชาชีพช่างเทคนิคสาขาต่างๆ 32.14

และเมื่อพิจารณาผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้างจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตผู้ที่มีรายได้ยิ่งสูงสุขภาพจิตก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เห็นได้จากผู้มีงานทำที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตอยู่ที่ 34.77 รองลงมาเป็นผู้ที่มีรายได้ 30,001 - 40,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 34.18 ผู้ที่มีรายได้ 20,001 - 30,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 33.09 ผู้ที่มีรายได้ 10,001 - 20,000 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 31.99 และผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,001 บาท มีคะแนนเฉลี่ย 30.77 สุขภาพจิตของผู้ว่างงาน

หากพิจารณาสุขภาพจิตของผู้ว่างานเป็นรายภาค ในเดือนกรกฎาคม 2557 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตมากที่สุด 31.77 กรุงเทพมหานคร 31.02 ภาคเหนือ 29.84 ภาคกลาง 28.31 และภาคใต้ 28.05 ตามลำดับ

ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ