บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558

ข่าวผลสำรวจ Friday January 15, 2016 15:53 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สรุปผลการสำรวจ

ภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558

1. บทนำ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรหรือสำรวจแรงงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี 2506 โดยในช่วงแรก สำรวจเพียงปีละ 2 รอบ รอบแรกเป็นการสำรวจนอกฤดูเกษตร รอบที่ 2 เป็นฤดูเกษตร ต่อมาในปี 2527 - 2540 สำรวจปีละ 3 รอบ โดยเพิ่มสำรวจช่วงเดือนพฤษภาคมเพื่อดูแรงงานที่จบการศึกษาให้มีเข้าสู่ตลาดแรงงาน และในปี 2541 ได้เพิ่มการสำรวจขึ้นอีก 1 รอบ เดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร ทำให้การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรครบทั้ง 4 ไตรมาสของปี

และในปี 2544 สำนักงานสถิติแห่งชาติปรับปรุงการสำรวจเป็นรายเดือน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถติดตามภาวะการมีงานทำของประชากรได้อย่างใกล้ชิดและเสนอผลการสำรวจเป็นรายเดือนในระดับประเทศและภาค

2. สรุปผลที่สำคัญ

2.1 โครงสร้างกำลังแรงงาน

ผลการสำรวจในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า มีจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 55.41 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 39.16 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.7 (ชายร้อยละ 79.2 และหญิงร้อยละ 62.7) และเป็นผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน 16.25 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.3 (ชายร้อยละ 20.8 และหญิงร้อยละ 37.3) สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ผู้มีงานทำ จำนวน 38.87 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.2 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน (ชายร้อยละ 99.2 หญิงร้อยละ 99.3)

2. ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงานมีจำนวน 2.55 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 (ชายร้อยละ 0.7 และหญิงร้อยละ 0.6)

3. ผู้ที่รอฤดูกาล หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ทำงานและไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากจะรอทำงานในฤดูกาลต่อไป มีจำนวน 3.74 หมื่นคน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.1 (ชายร้อยละ 0.1 และหญิงร้อยละ 0.1)

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างกำลังแรงงาน

ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า จำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 55.41 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อม ที่จะทำงาน 39.16 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.87 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.55 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 3.74 หมื่นคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 16.25 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น

ภาวะการทำงาน

- การทำงาน

สำหรับจำนวนผู้มีงานทำ 38.87 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 13.63 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 25.24 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 พบว่า จำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.7 แสนคน (จาก 13.46 ล้านคน เป็น 13.63 ล้านคน) และนอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 4.0 หมื่นคน (จาก 25.20 ล้านคน เป็น 25.24 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นใน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าและสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันประมาณ 9.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 8.0 หมื่นคน สาขาการ ขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัยและสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคม ภาคบังคับเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันประมาณ 7.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 3.0 หมื่นคน ส่วนสาขา ที่ลดลงมากที่สุดคือสาขาการผลิต 3.1 แสนคน สาขา การก่อสร้าง 1.4 แสนคน และสาขาการศึกษา 7.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยูในสาขาอื่นๆ

- การทำงานต่ำกว่าระดับ

หากพิจารณาถึงจำนวนผู้ที่ทำงานแต่ยังทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผู้ทำงานแต่ยังมีเวลาและพร้อมที่จะทำงานได้อีก หรือเรียกคนทำงานในกลุ่มนี้ว่า ผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ทำงานต่ำกว่าระดับ 2.35 แสนคน หรือร้อยละ 0.6 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด ซึ่งคนกลุ่มนี้แม้ว่าจะมีงานทำแล้วก็ตาม แต่ยังมีเวลาว่างที่มากพอและพร้อมที่จะทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับต้นเอง

เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ จำแนกตามเพศ พบว่า โดยปกติแล้วเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับเดือนธันวาคม 2558 เพศชายมีจำนวนผู้ทำงาน ต่ำกว่าระดับ 1.38 แสนคน (ร้อยละ 0.7) และเพศหญิง 9.7 หมื่นคน (ร้อยละ 0.5) ตามลำดับ

ภาวะการว่างงาน

- จำนวนผู้ว่างงาน

สำหรับจำนวนผู้ว่างงานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีทั้งสิ้น 2.55 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.7 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน (จาก 2.20 แสนคน เป็น 2.55 แสนคน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.1 หมื่นคน (จาก 3.46 แสนคน เป็น 2.55 แสนคน)

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผานมา พบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.7

- การว่างงานตามเพศ

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงาน ตามเพศใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า เพศชายมีอัตราการว่างงานสูงกว่าเพศหญิงคือร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ

- การว่างงานตามกลุ่มอายุ

สำหรับการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชน หรือผู้มีอายุ 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.5 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 กลุ่มวัยเยาวชนอัตราการว่างงานลดลงคือจากร้อยละ 2.6 เป็นร้อยละ 2.5 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 กลุ่มวัยเยาวชน มีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 2.5 สำหรับในกลุ่มวัยผู้ใหญ่อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.4 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผานมา

- การว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ

สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 7.8 หมื่นคน (อัตราการว่างงานร้อยละ 0.9) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6.1 หมื่นคน (ร้อยละ 1.0) ระดับประถมศึกษา 5.3 หมื่นคน (ร้อยละ 0.6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5.1 หมื่นคน (ร้อยละ 0.8) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.2 หมื่นคน (ร้อยละ 0.1) และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 1.8 หมื่นคน ระดับอุดมศึกษา 1.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 7.0 พันคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.0 พันคน ส่วนผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษามีจำนวน ผู้ว่างงานลดลง 7.0 พันคน

- การว่างงานตามประสบการณ์

เมื่อพิจารณาถึงจำนวนผู้ว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 8.7 หมื่นคน และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.68 แสนคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (จาก 1.33 แสนคน เป็น 1.68 แสนคน) โดยเป็น ผู้ว่างงานจากภาคการบริการและการค้า 7.1 หมื่นคน ภาคการผลิต 6.5 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 3.2 หมื่นคน ตามลำดับ

- การว่างงานแต่ละภูมิภาค

เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ว่างงาน เป็นรายภาค พบว่า ภาคกลางมีจำนวนผู้ว่างงานสูงสุด 7.6 หมื่นคน อัตราการว่างงาน (ร้อยละ 0.7) รองลงมาเป็นภาคใต้ 6.4 หมื่นคน (ร้อยละ 1.2) ภาคเหนือ 5.0 หมื่นคน (ร้อยละ 0.8) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4.1 หมื่นคน (ร้อยละ 0.4) และกรุงเทพมหานคร 2.4 หมื่นคน (ร้อยละ 0.5)

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน (จาก 2.20 แสนคน เป็น 2.55 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็น รายภาค พบว่า ภาคใต้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มมากที่สุด 2.1 หมื่นคน รองลงมาเป็นภาคกลาง 1.9 หมื่นคน ภาคเหนือ 5.0 พันคน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.0 พันคน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.0 พันคน

2.2 ภาวะการมีงานทำของประชากร

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของประชากรเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า จากจำนวนผู้มีงานทำ 38.87 ล้านคน (ชาย 21.04 ล้านคน และหญิง 17.83 ล้านคน) เป็นผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 13.63 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.1 ของผู้มีงานทำ (ชาย 7.86 ล้านคน และหญิง 5.77 ล้านคน) และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 25.24 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 64.9 ของผู้มีงานทำ (ชาย 13.18 ล้านคน และหญิง 12.06 ล้านคน)

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 1.7 แสนคน (จาก 13.46 ล้านคน เป็น 13.63 ล้านคน) และนอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 4.0 หมื่นคน (จาก 25.20 ล้านคน เป็น 25.24 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นใน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าและสาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหารเท่ากันคือ 9.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสู้งคมส่งเคราะห์ 8.0 หมื่นคน สาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัยและ สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสู้งคมภาคบังคับเท่ากันคือ 7.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมอสู้งหาริมทรัพย์ 3.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น 1.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงมากที่สุดคือสาขาการผลิต 3.1 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 1.4 แสนคน และสาขาการศึกษา 7.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยูในสาขาอื่นๆ

เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่าส่วนให้ญทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงานมีจำนวน 32.93 ล้านคน หรือร้อยละ 84.7 ของผู้มีงานทำทั้งหมด (ชายร้อยละ 85.3 และหญิงร้อยละ 84.1) และผู้ที่ทำงาน 1 L 34 ชั่วโมง มีจำนวน 5.55 ล้านคน หรือร้อยละ 14.3 (ชายร้อยละ 13.8 และหญิงร้อยละ 14.9) สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ (ระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์) แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าสัปดาห์การสำรวจไม่มีชั่วโมงการทำงาน (0 ชั่วโมง) มีจำนวน 3.9 แสนคน หรือร้อยละ 1.0 (ชายร้อยละ 0.9 และหญิงร้อยละ 1.0) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าผู้ที่ ทำงานตั้งแต่ 1 L 34 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 3.6 แสนคน และผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ (0 ชั่วโมง) เพิ่มขึ้น 1.5 แสนคน ส่วนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปลดลง 3.0 แสนคน

2.3 ภาวะการว่างงานของประชากร

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีผู้ว่างงาน 2.55 แสนคน (ชาย 1.56 แสนคน และหญิง 0.99 แสนคน) คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 (ชายร้อยละ 0.7 และหญิงร้อยละ 0.6) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ที่ผ่านมา จะเห็นว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 2.1 หมื่นคน ภาคกลางเพิ่มขึ้น 1.9 หมื่นคน ภาคเหนือเพิ่มขึ้น 5.0 พันคน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.0 พันคน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง 1.0 พันคน

ถ้าพิจารณาอัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดร้อยละ 1.2 รองลงมาคือภาคเหนือร้อยละ 0.8 ภาคกลางร้อยละ 0.7 กรุงเทพมหานครร้อยละ 0.5 และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.4 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานของแต่ละภาคกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า อัตราการว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.7 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 1.2 ภาคกลางเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 0.7 และภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.8 ในขณะที่กรุงเทพมหานครลดลงจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.5 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนืออัตราการว่างงาน ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะผู้ว่างงานตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 8.7 หมื่นคน หรือร้อยละ 34.1 ของผู้ว่างงานทั้งหมด และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.68 แสนคน หรือร้อยละ 65.9 โดยเป็นผู้ว่างงานจากนอกภาคเกษตรกรรม 1.36 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการบริการและการค้า 7.1 หมื่นคน และภาคการผลิต 6.5 หมื่นคน ส่วนผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 3.2 หมื่นคน

เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานจำนวน 2.55 แสนคน พบว่า ระดับการศึกษาที่มีผู้ว่างงาน มากที่สุดคือ ระดับอุดมศึกษา 7.8 หมื่นคน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 5.3 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5.1 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.2 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ว่างงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด 1.8 หมื่นคน รองลงมาคือระดับอุดมศึกษา 1.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 7 พันคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6 พันคน ในขณะที่ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลง 7 พันคน

เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดร้อยละ 1.0 รองลงมาคือระดับอุดมศึกษาร้อยละ 0.9 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 0.8 ระดับประถมศึกษาร้อยละ 0.6 และผู้ว่างงานที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาร้อยละ 0.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 1.0 ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 0.6 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.8 ในขณะที่ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลงจากร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 0.1 สำหรับระดับอุดมศึกษาอัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างกำลังแรงงาน

ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า จำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 55.41 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อม ที่จะทำงาน 39.16 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.87 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.55 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 3.74 หมื่นคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 16.25 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น

ภาวะการทำงาน

- การทำงาน

สำหรับจำนวนผู้มีงานทำ 38.87 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 13.63 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 25.24 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 พบว่า จำนวนผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.7 แสนคน (จาก 13.46 ล้านคน เป็น 13.63 ล้านคน) และนอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 4.0 หมื่นคน (จาก 25.20 ล้านคน เป็น 25.24 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นใน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าและสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันประมาณ 9.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 8.0 หมื่นคน สาขาการ ขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัยและสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคม ภาคบังคับเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกันประมาณ 7.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 3.0 หมื่นคน ส่วนสาขา ที่ลดลงมากที่สุดคือสาขาการผลิต 3.1 แสนคน สาขา การก่อสร้าง 1.4 แสนคน และสาขาการศึกษา 7.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยูในสาขาอื่นๆ

- การทำงานต่ำกว่าระดับ

หากพิจารณาถึงจำนวนผู้ที่ทำงานแต่ยังทำงานได้ ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นผู้ทำงานแต่ยังมีเวลาและพร้อมที่จะทำงานได้อีก หรือเรียกคนทำงานในกลุ่มนี้ว่า ผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ทำงานต่ำกว่าระดับ 2.35 แสนคน หรือร้อยละ 0.6 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด ซึ่งคนกลุ่มนี้แม้ว่าจะมีงานทำแล้วก็ตาม แต่ยังมีเวลาว่างที่มากพอและพร้อมที่จะทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับต้นเอง

เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ทำงานต่ำกว่าระดับ จำแนกตามเพศ พบว่า โดยปกติแล้วเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับเดือนธันวาคม 2558 เพศชายมีจำนวนผู้ทำงาน ต่ำกว่าระดับ 1.38 แสนคน (ร้อยละ 0.7) และเพศหญิง 9.7 หมื่นคน (ร้อยละ 0.5) ตามลำดับ

ภาวะการว่างงาน

- จำนวนผู้ว่างงาน

สำหรับจำนวนผู้ว่างงานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีทั้งสิ้น 2.55 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.7 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน (จาก 2.20 แสนคน เป็น 2.55 แสนคน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.1 หมื่นคน (จาก 3.46 แสนคน เป็น 2.55 แสนคน)

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.7 - การว่างงานตามเพศ

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงาน ตามเพศใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า เพศชายมีอัตราการว่างงานสูงกว่าเพศหญิงคือร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ

- การว่างงานตามกลุ่มอายุ

สำหรับการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชน หรือผู้มีอายุ 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.5 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 กลุ่มวัยเยาวชนอัตราการว่างงานลดลงคือจากร้อยละ 2.6 เป็นร้อยละ 2.5 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 กลุ่มวัยเยาวชน มีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 2.5 สำหรับในกลุ่มวัยผู้ใหญ่อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.4 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

- การว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ

สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า ผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 7.8 หมื่นคน (อัตราการว่างงานร้อยละ 0.9) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6.1 หมื่นคน (ร้อยละ 1.0) ระดับประถมศึกษา 5.3 หมื่นคน (ร้อยละ 0.6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5.1 หมื่นคน (ร้อยละ 0.8) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.2 หมื่นคน (ร้อยละ 0.1) และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้น 1.8 หมื่นคน ระดับอุดมศึกษา 1.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 7.0 พันคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.0 พันคน ส่วนผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษามีจำนวน ผู้ว่างงานลดลง 7.0 พันคน

- การว่างงานตามประสบการณ์

เมื่อพิจารณาถึงจำนวนผู้ว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 8.7 หมื่นคน และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.68 แสนคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (จาก 1.33 แสนคน เป็น 1.68 แสนคน) โดยเป็น ผู้ว่างงานจากภาคการบริการและการค้า 7.1 หมื่นคน ภาคการผลิต 6.5 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 3.2 หมื่นคน ตามลำดับ

- การว่างงานแต่ละภูมิภาค

เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ว่างงาน เป็นรายภาค พบว่า ภาคกลางมีจำนวนผู้ว่างงานสูงสุด 7.6 หมื่นคน อัตราการว่างงาน (ร้อยละ 0.7) รองลงมาเป็นภาคใต้ 6.4 หมื่นคน (ร้อยละ 1.2) ภาคเหนือ 5.0 หมื่นคน (ร้อยละ 0.8) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4.1 หมื่นคน (ร้อยละ 0.4) และกรุงเทพมหานคร 2.4 หมื่นคน (ร้อยละ 0.5)

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน (จาก 2.20 แสนคน เป็น 2.55 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็น รายภาค พบว่า ภาคใต้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มมากที่สุด 2.1 หมื่นคน รองลงมาเป็นภาคกลาง 1.9 หมื่นคน ภาคเหนือ 5.0 พันคน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.0 พันคน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.0 พันคน

2.2 ภาวะการมีงานทำของประชากร

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงานของประชากรเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่า จากจำนวนผู้มีงานทำ 38.87 ล้านคน (ชาย 21.04 ล้านคน และหญิง 17.83 ล้านคน) เป็นผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 13.63 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.1 ของผู้มีงานทำ (ชาย 7.86 ล้านคน และหญิง 5.77 ล้านคน) และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 25.24 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 64.9 ของผู้มีงานทำ (ชาย 13.18 ล้านคน และหญิง 12.06 ล้านคน)

เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 พบว่า ในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 1.7 แสนคน (จาก 13.46 ล้านคน เป็น 13.63 ล้านคน) และนอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 4.0 หมื่นคน (จาก 25.20 ล้านคน เป็น 25.24 ล้านคน) ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นใน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าและสาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหารเท่ากันคือ 9.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 8.0 หมื่นคน สาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัยและ สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับเท่ากันคือ 7.0 หมื่นคน สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 3.0 หมื่นคน และสาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น 1.0 หมื่นคน ส่วนสาขาที่ลดลงมากที่สุดคือสาขาการผลิต 3.1 แสนคน สาขาการก่อสร้าง 1.4 แสนคน และสาขาการศึกษา 7.0 หมื่นคน และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ

เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 พบว่าส่วนให้ญทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ทำงานเต็มที่ในเรื่องชั่วโมงทำงานมีจำนวน 32.93 ล้านคน หรือร้อยละ 84.7 ของผู้มีงานทำทั้งหมด (ชายร้อยละ 85.3 และหญิงร้อยละ 84.1) และผู้ที่ทำงาน 1 L 34 ชั่วโมง มีจำนวน 5.55 ล้านคน หรือร้อยละ 14.3 (ชายร้อยละ 13.8 และหญิงร้อยละ 14.9) สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์สำรวจ (ระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์) แต่เป็นผู้มีงานประจำซึ่งถือว่าสัปดาห์การสำรวจไม่มีชั่วโมงการทำงาน (0 ชั่วโมง) มีจำนวน 3.9 แสนคน หรือร้อยละ 1.0 (ชายร้อยละ 0.9 และหญิงร้อยละ 1.0) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าผู้ที่ ทำงานตั้งแต่ 1 L 34 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 3.6 แสนคน และผู้ที่ไม่ได้ทำงานในสัปดาห์การสำรวจ (0 ชั่วโมง) เพิ่มขึ้น 1.5 แสนคน ส่วนผู้ที่ทำงานตั้งแต่ 35 ชั่วโมงขึ้นไปลดลง 3.0 แสนคน

2.3 ภาวะการว่างงานของประชากร

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีผู้ว่างงาน 2.55 แสนคน (ชาย 1.56 แสนคน และหญิง 0.99 แสนคน) คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 (ชายร้อยละ 0.7 และหญิงร้อยละ 0.6) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ที่ผ่านมา จะเห็นว่าจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 3.5 หมื่นคน เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 2.1 หมื่นคน ภาคกลางเพิ่มขึ้น 1.9 หมื่นคน ภาคเหนือเพิ่มขึ้น 5.0 พันคน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 9.0 พันคน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลง 1.0 พันคน

ถาพิจารณาอัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดร้อยละ 1.2 รองลงมาคือภาคเหนือร้อยละ 0.8 ภาคกลางร้อยละ 0.7 กรุงเทพมหานครร้อยละ 0.5 และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.4 ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานของแต่ละภาคกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า อัตราการว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.7 เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ภาคใต้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.8 เป็นร้อยละ 1.2 ภาคกลางเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 0.7 และภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.8 ในขณะที่กรุงเทพมหานครลดลงจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.5 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนืออัตราการว่างงาน ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะผู้ว่างงานตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 8.7 หมื่นคน หรือร้อยละ 34.1 ของผู้ว่างงานทั้งหมด และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.68 แสนคน หรือร้อยละ 65.9 โดยเป็นผู้ว่างงานจากนอกภาคเกษตรกรรม 1.36 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการบริการและการค้า 7.1 หมื่นคน และภาคการผลิต 6.5 หมื่นคน ส่วนผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 3.2 หมื่นคน

เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานจำนวน 2.55 แสนคน พบว่า ระดับการศึกษาที่มีผู้ว่างงาน มากที่สุดคือ ระดับอุดมศึกษา 7.8 หมื่นคน รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 5.3 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5.1 หมื่นคน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 1.2 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ว่างงานระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด 1.8 หมื่นคน รองลงมาคือระดับอุดมศึกษา 1.1 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 7 พันคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6 พันคน ในขณะที่ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลง 7 พันคน

เมื่อพิจารณาอัตราการว่างงานตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ พบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดร้อยละ 1.0 รองลงมาคือระดับอุดมศึกษาร้อยละ 0.9 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 0.8 ระดับประถมศึกษาร้อยละ 0.6 และผู้ว่างงานที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาร้อยละ 0.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 1.0 ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 0.6 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 เป็นร้อยละ 0.8 ในขณะที่ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษาลดลงจากร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 0.1 สำหรับระดับอุดมศึกษาอัตราการว่างงานไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ