บทสรุปสำหรับผู้บริหาร พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย ปี 2559 (ในรอบปี 2558)

ข่าวผลสำรวจ Tuesday August 16, 2016 14:42 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติรวมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ทำการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2552 และปี 2559 เป็นครั้งที่ เป็นครั้งที่ 8 โดยมีวัตถุประสงคเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทยในรอบปีที่ผ่านมา (ปี 2558) ทั้งในเรื่องการเดินทั้งในเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวลักษณะการเดินทาง วัตถุประสงค์ในการเดินทาง กิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทาง ลักษณะการจัดการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มกราคม - กุมภาพันธ์ 2559 จากประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ตกเป็นตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 63,060 ราย

ผลจากการสำรวจสรุปไดดังนี้

1. การเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด

1.1 การเดินทาง และลักษณการเดินทาง และลักษณะการเดินทาง

ผลการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ เกี่ยวกับการเดินทาง จากที่อยู่อาศัยประจำในจังหวัดหนึ่งไปยังสถานที่อยู่ในอีก จังหวัดหนึ่งเป็นการชั่วคราว โดยมีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนเยี่ยมครอบครัว/ญาติมิตร ประชุมหรือสัมมนา เล่นหรือ ดูกีฬา ประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งการเดินทางเพื่อไปรับการรักษาตัวหรือประกอบภารกิจอื่น ๆ ไม่ร่วมการเดินทางไปทำงานหรือไปศึกษาเป็นประจำ และการเดินทางไปซื้อสินค้ามาจำหน่าย ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ในรอบปี 2558 มีผู้เดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 65.2 (จากร้อยละ 64.9)

สำหรับกลุ่มผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในรอบปี 2558 พบว่า มีลักษณะการเดินทางแบบไม่พักค้างคืนซึ่งถือว่าเป็นนักทัศนาจรประมาณร้อยละ 34.1 ส่วนผู้ที่เดินทางมีลักษณะการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน ร้อยละ 49.2 และผู้ที่เดินทางทั้ง 2 ลักษณะคือทั้งพักและไม่พักคางคืน ร้อยละ 16.7

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางท่องเที่ยวในรอบปี 2558 ได้ให้เหตุผลที่ไม่เดินทาง 5 อันดับแรก ได้แก่ ไม่มีเวลาว่าง ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอสำหรับการเดินทางไม่ชอบเดินทาง สภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี และมีปัญหาเรื่องสุขภาพและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ

เมื่อพิจารณาภาคที่ประชากรเดินทางไปท่องเที่ยวในรอบปี พบว่า ประชากรเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 30.9 รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 28.9 และภาคเหนือ ร้อยละ 25.4

1.2 วัตถุประสงคหลักในการเดินทางท่องเที่ยวัตถุประสงค์หลักในการเดินทางท่องเที่ยว วัตถุประสงค์หลักในการเดินทางท่องเที่ยววัตถุประสงค์หลักในการเดินทางท่องเที่ยว 5 อันดับแรก ได้แก่ เยี่ยมครอบครัว/ญาติ/เพื่อน ร้อยละ 34.0 ท่องเที่ยว/ต้องการพักผ่อน ร้อยละ 24.6 ไหว้พระ/ปฏิบัติธรรมร้อยละ 10.6 ตั้งใจหรือแวะไปรับประทานอาหาร ร้อยละ 8.2 และซื้อของ/ช้อปปิ้ง ร้อยละ 8.0

1.3 กิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวกิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว สำหรับกิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวกิจกรรมที่ทำระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว 5 อันดับแรก ได้แก่ ท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ 55.7 พักผ่อนในที่พัก/ไม่ทำกิจกรรม ร้อยละ 31.8 ท่องเที่ยวเชิงศาสนา ร้อยละ 29.5 ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 14.2 และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์/นิเวศ ร้อยละ 7.4

2. ลักษณะการจัดการเดินทาง

ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่งจะเดินทางท่องเที่ยวกับครอบครัว/ญาติ ร้อยละ 64.0 รองลงมาเดินทางกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงานร้อยละ 19.3 สำหรับการตัดสินใจเลือกการเดินทางส่วนใหญ่เป็นครอบครัว/ญาติ ร้อยละ 42.8 รองลงมาตัดสินใจด้วยตนเอง ร้อยละ 39.7 สำหรับลักษณะการเดินทางส่วนใหญ่จัดการเดินทางเองทั้งหมดร้อยละ 90.8 รองลงมามีหน่วยงาน/คณะจัดการให้ ร้อยละ 8.2 ส่วนการเดินทางท่องเที่ยวเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ร้อยละ 38.4 รองลงมาวันธรรมดา ร้อยละ 31.4 และวันหยุดเทศกาล ร้อยละ 28.4 ส่วนพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ผู้เดินทางท่องเที่ยวนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 67.0 รองลงมารถโดยสาร รถตู้ร้อยละ 15.9 รถเช่าต่าง ๆ เช่น รถตู้ รถบัส ร้อยละ 13.5 รถไฟเครื่องบิน และอื่น ๆ ร้อยละ 3.6

3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวต่อครั้งต่อคนของผู้ที่เดินทางท่องเที่ยว พบว่า อยู่ที่ประมาณ 2,798 บาทต่อคน หากเป็นการเดินทางแบบไม่พักค้างคืน 1,317 บาทต่อคน แบบพักค้างคืน3,780 บาทต่อคน

หากพิจารณาตามภาคที่อยู่อาศัย พบว่า คนกรุงเทพมหานครใช้เงินในการเดินทางท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อคนสูงสุดคือ 3,984 บาทต่อคนรองลงมาภาคใต้ 3,356 บาทต่อคน ภาคตะวันออก 3,061 บาทต่อคนภาคกลาง 2,458 บาทต่อคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,404 บาทต่อคนและต่ำสุดคือ ภาคเหนือ 2,151 บาทต่อคน

4. การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ

สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศของชาวไทยในรอบปี 2558 มีเพียงร้อยละ 3.5 ส่วนจำนวนครั้งที่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศต่อปี เฉลี่ยเดินทาง 1.6 ครั้งต่อปี

5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยว

5.1 การวางแผนล่วงหน้า และการจัดสรรเงินสำหรับ การเดินทางท่องเที่ยว

สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าก่อนการเดินทางร้อยละ 65.4 ที่มีการวางแผนมีร้อยละ 34.6 ส่วนการจัดสรรเงินสำหรับ การเดินทางท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีการจัดสรรเงินไว้ร้อยละ 83.4 ที่มีการจัดสรรเงินไวสำหรับการเดินทางมีเพียงร้อยละ 16.6

5.2 การรับรู/ทราบแคมเปญ เที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋ไม่เหมือนใครของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การรับรู้/ทราบแคมเปญ เที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋ ไม่เหมือนใครส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้/ไม่ทราบแคมเปญดังกล่าว ร้อยละ 59.7 ส่วนที่เคยรับรู้/ทราบแคมเปญ มีร้อยละ 40.3 โดยส่วนใหญ่รับรู้/ทราบจากโทรทัศน์ ร้อยละ 95.7 รองลงมาป้ายโฆษณา ร้อยละ 12.6 และเว็บไซต์ ร้อยละ 12.4

5.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยว ภายในประเทศ

จากการสำรวจ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศโดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว และความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยว รองลงมาคือ ความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่แหล่ง และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งทองเที่ยวภายในประเทศโดยค่าเฉลี่ยนัอยที่สุดคือ การส่งเสริมการขาย

5.4 ประโยชนที่ไดรับจากการเดินทางท่องเที่ยว

จากการสำรวจพบว่าประโยชนที่ไดรับจากการท่องเที่ยวโดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ทำให้เกิดความสนิทสนมภายในครอบครัวมากขึ้น รองลงมาคือ ทำให้เกิดความสนิทสนมภายในหมู่ญาติมากขึ้น ทำให้ได้รับประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยมากขึ้น และทำใหชีวิตมีความสุขมากขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ