สรุปผลข้อมูลเบื้องต้น สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน : ปริมณฑล

ข่าวผลสำรวจ Tuesday July 4, 2017 16:05 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สรุปผลข้อมูลเบื้องต้น

สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560

การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน; ปริมณฑล

เนื่องจากบริบทของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมทำให้โครงสร้างการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น และมีธุรกิจทางการค้า การบริการ และอุตสาหกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งถือเป็นกลไกที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ข้อมูลสถิติและสารสนเทศโครงสร้างขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับภาครัฐและเอกชนใช้ในการกาหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในตลาดโลก

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทาสามะโนอุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ และได้วางแผนเปลี่ยนเป็นจัดทาทุก 5 ปี เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมมาแล้ว 4 ครั้ง ในปี 2507 ปี 2540 ปี 2550 และปี 2555 สำหรับปี 2560 เป็นการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 ของประเทศไทย ในการจัดทำสำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 ได้กาหนดแผนการดำเนินงานเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานหรือการนับจดสถานประกอบการ ทุกประเภท ซึ่งดำเนินการในปี 2559 และขั้นการเก็บรวบรวม ข้อมูลรายละเอียดหรือ การแจงนับสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิต ดำเนินการในปี 2560

การนำเสนอผลสามะโนฉบับนี้ เป็นผลจากขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานหรือการนับจด สถานประกอบการในปี 2559 ซึ่งจัดจำแนกประเภทสถานประกอบการตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification : TSIC 2009) ได้แก่ ธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ การผลิต การก่อสร้าง การขนส่งทางบกและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมด้าน ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และกิจกรรมด้านโรงพยาบาลเอกชน ที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานประกอบการในพื้นที่เขตเทศบาลระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2559 และพื้นที่นอกเขตเทศบาลระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2559

ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการในเขตปริมณฑลพบว่า มีสถานประกอบการจานวนทั้งสิ้น 214,949 แห่ง ในจานวนนี้แยกเป็นสถานประกอบการ ที่เก็บรวบรวมรายการข้อมูลพื้นฐานในแบบสอบถามได้ครบถ้วน จานวน 197,873 แห่ง และสถานประกอบการที่เก็บรวบรวมรายการข้อมูลได้เพียง ชื่อ ที่ตั้ง และประเภทธุรกิจ/อุตสาหกรรม จำนวน 17,076 แห่ง สำหรับข้อมูลที่นาเสนอผลในสรุปผลข้อมูลเบื้องต้น ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลของสถานประกอบการที่เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานได้ครบถ้วนจานวน 197,873 แห่ง เท่านั้น สรุปได้ดังนี้

จำนวนสถานประกอบการ

จากการ เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถาน-ประกอบการ ในเขตปริมณฑล พบว่า มีจำนวนสถาน-ประกอบการทั้งสิ้น 197,873 แห่ง หากพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด คือ สมุทรปราการ รองลงมาคือ ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม ตามลาดับ จังหวัดที่มี จำนวนสถานประกอบการ น้อยที่สุด คือ สมุทรสาคร

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการระหว่างปี 2554 และ ปี 2559 พบว่า จำนวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.3 ในทุกประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หากพิจารณาเป็นรายจังหวัดพบว่า เกือบทุกจังหวัดมีจำนวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดนนทบุรีมีอัตราการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการมากที่สุดร้อยละ 51.0 รองลงมาคือจังหวัดสมุทรสาครและ จังหวัดปทุมธานี มีอัตราการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการร้อยละ 17.4 และร้อยละ 11.5 ตามลำดับ จังหวัดสมุทรปราการมีอัตราการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการร้อยละ 7.7 ในขณะที่จังหวัดนครปฐมที่มีจำนวนสถานประกอบการลดลงร้อยละ 11.5

ขนาดสถานประกอบการ

เมื่อพิจารณาขนาดสถานประกอบการจำแนกตามจำนวนคนทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 92.8) เป็นสถานเป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-15 คน สถานประกอบการที่มีคนทำงาน 16 - 25 คน ร้อยละ 2.5 ส่วนสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 51-200 คน และ 31-50 คน มีร้อยละ 1.9 และ ร้อยละ 1.5 ตามลาดับ สำหรับ สถานประกอบการขนาดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมีสัดส่วน ไม่เกินร้อยละ 1.0

คนทำงานในสถานประกอบการ

สำหรับคนทำงาน ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล ในปี 2559 มีจานวนประมาณ 1.7 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นคนทำงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน ประมาณ 609,400 คน รองลงมาเป็นคนทำงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1-15 คน และ 51-200 คน ประมาณ 491,500 คน และ 386,800 คน ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการขนาดอื่นๆ แต่ละขนาด มีคนทำงานในสถานประกอบการไม่เกิน 120,000 คน

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคนทำงาน ในปี 2559 และปี 2554 พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้น จาก 1.6 ล้านคน เป็น 1.7 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.0 โดยเกือบทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีจานวนคนทำงานเพิ่มขึ้น ยกเว้น สถานประกอบการที่ประกอบกิจกรรมทางด้านการผลิต ที่มีจำนวนคนทำงานลดลงจากเดิม 1.1 ล้านคน เหลือเพียง 1.0 ล้านคน เช่น ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องหนัง สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ไฟฟา ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาคนทำงานปี 2559 ในแต่ละจังหวัดของปริมณฑล พบว่า สมุทรปราการ มีคนทำงานมากที่สุดประมาณ 581,300 คน รองลงมาคือ สมุทรสาคร มีคนทำงานประมาณ 351,500 คน ส่วนจังหวัด ที่มีคนทำงานน้อยที่สุดคือ นครปฐม ประมาณ 232,600 คน

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนคนทำงานในปี 2559 และปี 2554 พบว่า จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี และสมุทรสาคร มีคนทางานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจังหวัดนนทบุรีมีคนทำงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 43.9 สาหรับจังหวัดปทุมธานี และนครปฐม มีสัดส่วนคนทำงานลดลงไม่เกินร้อยละ 7.0

รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย

เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81.7)มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นส่วนบุคคล รองลงมาเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ร้อยละ 15.3 ห้างหุ้นส่วนจากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ร้อยละ 2.9 สำหรับสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มแม่บ้าน และรูปแบบอื่นๆ (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ) มีเพียง ร้อยละ 0.1 หากพิจารณาจำนวนคนทำงานเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่เป็นบริษัทจำกัด และบริษัทจำกัด (มหาชน) มีจำนวนคนทำงานเฉลี่ยต่อสถานประกอบการสูงสุดถึง 43 คนต่อแห่ง

รูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ

เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่มีรูปแบบ การจัดตั้งเป็นสานักงานแห่งเดียว ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ (ร้อยละ 95.5) สำนักงานสาขา และร้อยละ 0.7 เป็นสำนักงานใหญ่

การร่วมลงทุนหรือถือหุ้น

สถานประกอบการ ที่มีรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมายเป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) ในเขตปริมณฑลมีจำนวน 30,215 แห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.3) ไม่มีการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศ สำหรับสถานประกอบการที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนหรือถือหุ้นมีเพียงร้อยละ 2.7 ในจำนวนนี้

สถานประกอบการที่มีสัดส่วนการ ร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศระหว่าง 10 - 50% คิดเป็นร้อยละ 1.2 รองลงมามีสัดส่วนการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศมากกว่า 50% ร้อยละ 0.9 ส่วนสถานประกอบการ ที่มีการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศน้อยกว่า 10% มีร้อยละ 0.6

การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในการดำเนินกิจการ

สำหรับการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการดำเนินกิจการ พบว่า สถานประกอบการในปริมณฑลมีการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินกิจการประมาณ 41,936 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 21.2 ของสถานประกอบการทั้งสิ้น

สำหรับการใช้อินเทอร์เน็ต ในสถานประกอบการที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ พบว่ามีการใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 88.8 นอกจากนี้ ยังพบว่า สถานประกอบการที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการดำเนินกิจการยังมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ต(E-Commerce) ร้อยละ 28.6

ระยะเวลาในการดาเนินกิจการ

สาหรับระยะเวลาในการดำเนินกิจการของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 36.3) เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการไม่เกิน 5 ปี รองลงมาคือสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการ 10-19 ปี และ 5-9 ปี โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 28.2 และ ร้อยละ 26.8 ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีร้อยละ 8.7 เท่านั้น

เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่า สถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับที่พักแรม บริการอาหารและเครื่องดื่ม กิจกรรม บริการอื่นๆ และกิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน กว่าร้อยละ 40.0 มีระยะเวลาในการดาเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 42.5 มีระยะเวลาในการดำเนินกิจการ 10- 19 ปี

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ