รายงานข้อมูลผลเบื้องต้น สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560

ข่าวผลสำรวจ Monday May 29, 2017 13:47 —สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำมะโนอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560

การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน

ปัจจุบันโครงสร้างการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว อีกทั้งมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่มุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยส่งเสริมการนำเข้าเทคโนโลยี ขั้นสูง และนวัตกรรมใหม่ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า ตามกรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ดังนั้นข้อมูลสถิติและสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานประกอบการจึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาครัฐและเอกชนใช้ในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นกรอบให้ทุกภาคส่วนนำไปใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีการค้าโลก

สำหรับสรุปผลข้อมูลเบื้องต้น ฉบับนี้เป็นผลการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการในปี 2559 เช่น ประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จำนวนคนทำงานในสถานประกอบการ รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย การร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศ การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการประกอบการจากสถานประกอบการทุกแห่งทั่วประเทศที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทยปี 2552 (Thailand Standard Industrial Classification: TSIC - 2009) ได้แก่การผลิต การขายปลีก การขายส่ง ที่พักแรม บริการอาหารและเครื่องดื่ม การขายและซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ การขนส่งทางบก สถานที่เก็บสินค้า การก่อสร้างการจัดการและบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลเอกชน และกิจการด้านข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร เป็นต้น สรุปได้ดังนี้

จำนวนสถานประกอบการ

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานประกอบการทั่วประเทศ พบว่า มีจำนวนสถานประกอบการทั้งสิ้น 2.5 ล้านแห่ง หากพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด3 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และนครราชสีมา ส่วนจังหวัดที่มีจำนวนสถาน-ประกอบการน้อยที่สุด 3 อันดับ คือ จังหวัดสมุทรสงคราม ตราด และนครนายก ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเมียบจำนวนสถาน-ประกอบการระหว่างปี 2554 และ 2559 พบว่า จำนวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้น 13.6โดยสถานประกอบการที่ประกอบกิจการ ด้านอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง และการขายส่ง มีอัตราการเพิ่มขึ้นมากกว่า 25.0 และหากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่าทุกภาคมีจำนวนสถานประกอบการเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยปริมณฑลมีอัตราการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการสูงสุด 21.6 % รองลงมาเป็นกรุงเทพมหานคร และภาคกลาง มีอัตราการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการ 20.8 % และ 18.1 % ตามลำดับ ส่วนในภาค อื่น ๆ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของสถานประกอบการต่ำกว่า 10

ขนาดสถานประกอบการ

เมื่อพิจารณาขนาดสถานประกอบการจำแนกตามจำนวนคนทำงาน พบว่าเป็นสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีคนทำงาน ไม่เกิน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 95.5 และอีก ร้อยละ 4.5 เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 10 คน โดยเป็นสถาน-ประกอบการที่มีคนทำงาน 11 - 15 คน ร้อยละ 1.7 มีคนทำงาน 16 - 25 คน ร้อยละ 1.2 มีคนทำงาน 26 - 30 คน ร้อยละ 0.3 มีคนทำงาน 31 - 50 คน ร้อยละ 0.5 มีคนทำงาน 51 - 200 คน ร้อยละ 0.6 และอีกร้อยละ 0.2 เป็นสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน

จำนวนคนทำงานในสถานประกอบการ

สำหรับจำนวนคนทำงานที่ทำงาน ในสถานประกอบการทั่วประเทศในปี 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 11.2 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นคนทำงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 1 - 10 คน จำนวน 5.0 ล้านคน รองลงมาเป็นคนทำงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีคนทำงานมากกว่า 200 คน และสถานประกอบการที่มีคนทำงาน 51 - 200 คน จำนวน 2.8 ล้านคน และ 1.5 ล้านคน ตามลำดับ ส่วนสถานประกอบการขนาดอื่น ๆ มีคนทำงานในสถานประกอบการรวมกันประมาณ 1.9 ล้านคน

เมื่อเปรียบเมียบจำนวนคนทำงาน ในปี 2554 และ 2559 พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากเดิม 10.2 เป็น 11.2 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 9.7 โดยสถานประกอบการ ในทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีจำนวนคนทำงานเพิ่มขึ้น ยกเว้น สถานประกอบการที่ประกอบ กิจกรรมทางด้านการผลิต ที่มีจำนวนคนทำงานลดลง จากเดิม 4.3 ล้านคน เหลือเพียง 4.2 ล้านคน เช่น ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องหนัง สิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

เมื่อเปรียบเมียบจำนวนคนทำงานในแต่ละภาคในปี 2559 พบว่า กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง มีจำนวนคนทำงานสูงสุดถึง 2.5 ล้านคน รองลงมาเป็นปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีคนทำงาน1.8 ล้านคน ส่วนภาคเหนือและภาคใต้ มีจำนวนคนทำงาน 1.3 ล้านคน อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบจำนวนคนทำงานในปี 2554 และ 2559 ในแต่ละภาค พบว่า ภาคใต้มีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนทำงานสูงสุดถึง 29.7

รูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย

เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมาย พบว่า สถานประกอบการ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90.8) มีรูปแบบการจัดตั้งเป็นส่วนบุคคล รองลงมาเป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) ร้อยละ 6.4 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ร้อยละ 1.8 สำหรับสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มแม่บ้าน และรูปแบบอื่น ๆ (ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ สมาคม มูลนิธิ ฯลฯ) มีเพียง ร้อยละ0.7 และ 0.3 ตามลำดับ ซึ่งหากพิจารณาจำนวนคนทำงานเฉลี่ยต่อสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการที่เป็นบริษัทจำกัด บริษัทจำกัด (มหาชน) มีจำนวนคนทำงานเฉลี่ยสูงสุดถึง 33.7 คนต่อสถานประกอบการ

รูปแบบการจัดตั้งทางเศรษฐกิจ

เมื่อพิจารณาตามรูปแบบการจัดตั้งมางเศรษฐกิจ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.7) เป็นสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานแห่งเดียว ส่วนที่เหลืออีก ร้อยละ 2.3 เป็นสำนักงานสาขา ร้อยละ 1.7 เป็นสำนักงานใหญ่ ร้อยละ 0.5 และสถานประกอบการที่มีการจัดตั้งในรูปแบบอื่น ๆ เช่น แฟรนไชส์ มีเพียงร้อยละ 0.1

การร่วมลงมุนจากต่างประเทศ

สถานประกอบการ ที่มีรูปแบบการจัดตั้งตามกฎหมายเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทจำกัด (มหาชน) ทั่วประเทศ มีจำนวน 1.6 แสนแห่ง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.4) ไม่มีการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศ สำหรับสถานประกอบการที่มีต่างประเทศร่วมลงทุนหรือถือหุ้นมีเพียงร้อยละ 3.6 ซึ่งในจำนวนนี้ มีสัดส่วนการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศระหว่าง 10 - 50 คิดเป็น ร้อยละ 42.8 รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่มีสัดส่วนการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศ น้อยกว่า 10 ร้อยละ 30.5 ส่วนสถานประกอบการที่มีการร่วมลงทุนหรือถือหุ้นจากต่างประเทศมากกว่า 50 มีประมาณร้อยละ 26.7

การมีการใช่เมคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการดำเนินกิจการ

สำหรับการมีการใช่เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในการดำเนินกิจการ พบว่า สถานประกอบการทั่วประเทศมีการใช่คอมพิวเตอร์ในการดำเนินกิจการ ประมาณ 300,000 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 12.2 ของสถานประกอบการทั้งสิ้น โดยสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครมีการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุดร้อยละ 26.5 รองลงมาเป็น สถานประกอบการในเขตปริมณฑล มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินกิจการ ร้อยละ 21.2 ส่วนสถานประกอบการในภาคอื่น ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์ต่ำกว่าร้อยละ 15.0 สำหรับการใช่อินเมอร์เน็ตจากสถาน-ประกอบการที่มีการใช้คอมพิวเตอร์

พบว่ามีการใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ 93.8 โดยสถานประกอบการในแต่ละภาคมีการใช้อินเทอร์เน็ตในการดำเนินกิจการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.0 ของจำนวนสถานประกอบการที่ใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ยังพบว่า สถานประกอบการที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการดำเนินกิจการยังมี

การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเมอร์เน็ต ( E - Commerce)ร้อยละ 36.8 โดยในแต่ละภาคมีการใช้ E-Commerce ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25.0

ระยะเวลาในการดำเนินกิจการ

สำหรับระยะเวลาในการดำเนินกิจการของสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการไม่เกิน 5 ปี (ร้อยละ 33.6) รองลงมาเป็นสถานประกอบการที่ดำเนินการมาแล้ว 10 - 19 ปี และ 5 - 9 ปี โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ ร้อยละ 29.0 และ 25.6 ตามลำดับ สำหรับสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการมายาวนาน เกิน 20 ปี มีเพียง ร้อยละ 11.9 เท่านั้น

เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่าสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการด้านที่พักแรม บริการอาหารและเครื่องดื่ม กิจกรรมด้านการบริการอื่น ๆ การขายปลีก การขายส่ง และการขายและซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ และกิจการที่ประกอบการด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินกิจการน้อยกว่า 5 ปี ส่วนสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการด้านการก่อสร้าง การขนส่งทางบกและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ และการผลิตส่วนใหญ่มีระยะเวลาดำเนินกิจการ 10 - 19 ปี ส่วนสถานประกอบการที่ประกอบกิจกรรม ด้านโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ มีระยะเวลาการดำเนินกิจการ 20 - 29 ปี

ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ