สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2558 (มกราคม - มีนาคม 2558)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 26, 2015 14:56 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีปริมาณการผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวในประเทศแถบโอเชียเนีย ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ อย่างไรก็ดี ความต้องการของตลาดในประเทศยังคงชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรยังไม่ฟื้นตัว

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 60 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 16,934.15 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้น 4,913 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการของบริษัท สปาร์คเทค(ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนโลหะ เช่น METAL SHELL เป็นต้น และชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น SPARK PLUG เป็นต้น มีเงินลงทุน 3,700.25 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 220 คน และ 2) โครงการของ MR.FUSASHI OBORA ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชุดเกียร์ส่งกำลังอัตโนมัติ (AUTOMATIC TRANSMISSION) มีเงินลงทุน 4,248.40 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 288 คน (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 522,968 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 517,492 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 208,622 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 306,596 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 7,750 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.75, 0.05 และ 28.76 ตามลำดับ

สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 335,012 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 64.06 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 121,515 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.27 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 213,497 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.73 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.92 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.58 และ 13.78 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 3.99

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 197,787 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 224,171 คัน ลดลงร้อยละ 11.77 โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 78,970 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 84,830 คัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 22,047 คัน ลดลงร้อยละ 12.53, 12.52 และ 13.16 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 11,940 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 15.27 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) ลดลงร้อยละ 17.86, 14.82, 14.68 และ 6.97 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 328,232 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 291,509 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.60 โดยมีมูลค่าการส่งออก 146,884.94 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 136,336.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.74 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.52 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.92

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีมูลค่า 1,578.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.26 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.13, 14.82 และ 9.11 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 0.89 และ 26.27 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.44 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีมูลค่า 106.88 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 10.98 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 52.79, 16.88 และ 7.02 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.30 แต่การส่งออกรถแวนและรถปิคอัพไปอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ลดลงร้อยละ 46.54 และ 69.96 ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีมูลค่า 2,873.14 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.58 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และนิวซีแลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 23.00, 15.08 และ 4.69 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบียและมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.80, 26.82 และ 36.87 ตามลำดับ

การนำเข้า จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 217.48 และ 153.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.17 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 44.49 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 8.94

แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 24.36, 21.13 และ 20.06 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากมาเลเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมนี ลดลงร้อยละ 24.18, 29.06 และ 19.28 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 21.02, 18.73 และ 17.67 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15, 69.32 และ 103.33 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีปริมาณการผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวในประเทศแถบโอเชียเนีย ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ อย่างไรก็ดี ความต้องการของตลาดในประเทศยังคงชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรยังไม่ฟื้นตัว

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 คาดว่าจะชะลอตัว เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 480,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 40 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 60

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 536,903 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 488,381 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.94 โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 423,623 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 113,280 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.45 และ 20.33 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.20 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.56 และ 23.74 ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 478,942 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 431,798 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.92 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 241,881 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.46 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 171,549 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.85 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 65,532 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.63 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.06 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.18, 21.46 และ 48.93 ตามลำดับ

          การส่งออก  ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทย                ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 264,276 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 105,637 คัน และ CKD จำนวน  158,639 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 220,598 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.80 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 14,053.45 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน  ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 11,971.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.40  หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.42 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.62

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 มีมูลค่า 390.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.98 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.98, 14.08 และ 8.55 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.56, 8.39 และ 27.78 ตามลำดับ

การนำเข้า จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ มูลค่า 48.04 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 26.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.20 หากพิจารณาใน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 40.01, 29.47 และ 11.71 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.87, 848.85 และ 15.83 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 การผลิตรถจักรยานยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 คาดว่า จะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 80 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 20

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 48,271.63 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 5.65 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 7,199.75 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.83 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,294.08 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.82 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส ที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ลดลงร้อยละ 0.34, 12.81 และ 12.53 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 2,003.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.42 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซียและอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 12.69, 12.44 และ 11.00 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 0.74 และ 12.30 ตามลำดับ แต่การส่งออกไปมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 1,046.58 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 27.71 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 319.63 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.07 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลงลงร้อยละ 20.22 และ 5.86 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 173.42 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 4.60 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ บราซิล กัมพูชา และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.95, 19.69 และ 9.20 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ไปบราซิลและ กัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.01 และ 23.17 ตามลำดับ แต่การส่งออกไปอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 13.73

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 2,290.60 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับ ปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.97 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 42.67, 14.62 และ 5.95 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 6.82 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากจีนและอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64 และ 50.70 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 154.64 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.59 หากพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.80 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ของปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 24.62, 17.03 และ 11.46 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 16.60 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และเวียดนาม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.80 และ 18.29 ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 ได้มีการประชุมร่วมระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดรายการสินค้าและบริการควบคุมปี 2558 จำนวน 43 รายการ ตามมติของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมสินค้าที่สำคัญ จำแนกเป็น 40 สินค้า 3 บริการ แบ่งเป็น 10 หมวดสินค้าและบริการ โดยในหมวดบริภัณฑ์ขนส่งมีสินค้ายานยนต์ จำนวน 3 รายการ

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 ได้มีการประชุมร่วมระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระจกนิรภัยสำหรับยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังนี้

1. กำหนดให้พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 365 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (ที่มา : www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ