สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2558 (กรกฎาคม - กันยายน 2558)(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 24, 2015 14:28 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่3ปี 2558ปริมาณการผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกในประเทศแถบอเมริกาเหนือ ยุโรป และโอเชียเนียตามลำดับ อย่างไรก็ตามตลาดในประเทศชะลอตัวเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ประกอบกับหนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี2558 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 40โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 23,648.90ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3,132 คนในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ คือ 1) โครงการของบริษัท ไดเซล เซฟตี้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น อุปกรณ์กำเนิดก๊าซสำหรับถุงลมนิรภัย (Airbag Inflation) เป็นต้นมีเงินลงทุน 2,944.20 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 186 คน2) โครงการของบริษัท โอตานิ เรเดียลจำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตยางยานพาหนะมีเงินลงทุน 6,555.80ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 345 คน 3) โครงการของบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัดได้รับการส่งเสริมให้ผลิตรถยนต์ปิคอัพ (Pick-up Include PPV) มีเงินลงทุน 6,269.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 620 คน 4)โครงการของบริษัท เซนจูรี่ ไทร์ จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตยางยานพาหนะและยางผสมมีเงินลงทุน 5,750.00ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 335 คน(รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558(ก.ค.ก.ย.)มีปริมาณการผลิตรถยนต์496,508คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 456,435คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.78โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 191,232 คัน รถปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์ 295,837 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 9,439 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.93,7.94 และ 81.90 ตามลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 328,954 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.25ของปริมาณการผลิตทั้งหมดโดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 125,983คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.30และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์202,971คันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.70หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.89 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ1 ตันและอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ3.46, 35.68และ 20.58ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 184,723คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 207,239คัน ลดลงร้อยละ 10.86โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 67,600คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 79,146คันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10,421คัน ลดลงร้อยละ 24.67, 8.77และ 15.67ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV)27,556 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.87 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 14.47 และ 13.85 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.43และ 24.19ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 329,293คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 278,905คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.07โดยมีมูลค่าการส่งออก 166,857.19ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 131,558.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.83หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.86และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.64

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า6,222.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.72ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.46, 14.23 และ 6.54 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียและฟิลิปปินส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.73 และ 32.51 ตามลำดับแต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซียมีมูลค่าลดลงร้อยละ24.65

มูลค่าการส่งออกรถแวนของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 มีมูลค่า 221.61 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ32.63 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวน ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ56.64, 14.31 และ 8.72 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนไปญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ลดลงร้อยละ 30.29, 44.28 และ 24.72ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.70หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.89 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ1 ตันและอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ3.46, 35.68และ 20.58ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 184,723คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 207,239คัน ลดลงร้อยละ 10.86โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 67,600คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 79,146คันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10,421คัน ลดลงร้อยละ 24.67, 8.77และ 15.67ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV)27,556 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.87 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 14.47 และ 13.85 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV(รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.43และ 24.19ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 329,293คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 278,905คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.07โดยมีมูลค่าการส่งออก 166,857.19ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 131,558.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.83หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.86และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.64

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า6,222.35 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.72ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.46, 14.23 และ 6.54 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียและฟิลิปปินส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.73 และ 32.51 ตามลำดับแต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซียมีมูลค่าลดลงร้อยละ24.65

มูลค่าการส่งออกรถแวนของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 มีมูลค่า 221.61 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ32.63 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวน ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ56.64, 14.31 และ 8.72 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนไปญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ลดลงร้อยละ 30.29, 44.28 และ 24.72ตามลำดับ

มูลค่าการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 6,563.05ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 14.66 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และนิวซีแลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30.06, 11.10และ 5.72 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.92 และ 16.87 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถปิกอัพ รถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดิอาระเบียมีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.26

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 186.81และ66.06ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 30.88 และ 40.36ตามลำดับหากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและ รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 30.08 และ 20.59 ตามลำดับ

มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า671.36 และ 303.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 32.42 และ 6.60แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 ได้แก่ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 30.20, 18.81และ 18.76 ตามลำดับโดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.79 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งไปมาเลเซีย และเยอรมนีลดลงร้อยละ 36.70 และ 29.88ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซียและจีนคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 22.93, 20.56 และ 17.29 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 21.17แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากอินโดนีเซียและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.87 และ 54.26ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์อุตสาหกรรมรถยนต์

ในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 มีปริมาณการผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของตลาดส่งออกในประเทศแถบอเมริกาเหนือ ยุโรป และโอเชียเนีย ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศชะลอตัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ประกอบกับ หนี้ในภาคครัวเรือนยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่4ของปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาเนื่องจากเป็นฤดูกาลขายรถยนต์ทำให้บริษัทรถยนต์แต่ละค่ายจัดส่งเสริมการตลาดประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศสำหรับประมาณการของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2558 จากข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.38 โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 800,000 คัน ลดลงร้อยละ 9.25และเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,200,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 405,394คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 426,607 คัน ลดลงร้อยละ 4.97โดยแบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 330,651คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 74,743คัน ลดลงร้อยละ 3.44 และ 11.21 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมามีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 6.50โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 3.72และ 17.08ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.ก.ย.)มีจำนวน 373,531คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์446,857 คัน ลดลงร้อยละ 16.41แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 187,567คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 138,260 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 47,704คัน ลดลงร้อยละ 17.88,16.96 และ 8.19 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 11.86โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ11.84, 9.25 และ 18.68ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)จำนวน 196,757คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 65,677 คัน และ CKD จำนวน 131,080 ชุด)เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 225,752 คัน ลดลงร้อยละ 12.84หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 9,075.96ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า10,679.30ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.01หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 16.22หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 20.84

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 มีมูลค่า 872.25 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.44 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.28, 12.09และ10.07 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.50 และ 26.61 ตามลำดับแต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักรมูลค่าลดลงร้อยละ 2.70

การนำเข้าจากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 54.23ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.62หากพิจารณาจากไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.63

มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 มีมูลค่า 155.64 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 104.80 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.51 เมื่อพิจารณาแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 ได้แก่อินโดนีเซีย เวียดนามและญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 37.23, 35.89 และ 12.03 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 826.81แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนามและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 6.85และ 3.61ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3ของปี 2558การผลิตรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการลดลงจากความต้องการของตลาดในประเทศอย่างไรก็ดีตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศเนเธอร์แลนด์สหรัฐอเมริกาและจีน

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่4ของปี 2558 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาโดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2558จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 465,000 คันแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า 50,294.18 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 ส่วนการส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 8,241.21ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.88และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 6,371.88ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.43หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ6.05, 18.89 และ 14.70 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 มีมูลค่า 6,147.47ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ4.50ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.65,11.42และ 10.09 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่นและมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10และ 5.21ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซียลดลงร้อยละ19.07

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า611.09ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 52.09การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 314.36 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.70หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 16.94 และ 2.26 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 มีมูลค่า 451.45ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ15.26ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่กัมพูชา บราซิล และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ19.61, 17.58 และ 9.40 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ21.39 แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปบราซิลและอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 21.33และ29.47 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า 2,836.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.22 หากพิจารณาในไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.35

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีของปี 2558 มีมูลค่า 7,303.90ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.80แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 35.77, 22.16 และ 5.67 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 8.53แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากจีนและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.20 และ 4.98 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 (ก.ค.-ก.ย.)มีมูลค่า121.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.46หากพิจารณาในช่วงไตรมาสที่ 3ของปี 2558 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ3.43

มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่า 401.38 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ1.59 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2558 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ24.35, 19.06 และ 10.20 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากญี่ปุ่น และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 8.17 และ 2.47 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯจากจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่14 กรกฎาคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะพ.ศ. ....ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังนี้

1. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปและให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การเพิกถอนทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะพ.ศ. 2553

2. กำหนดให้นายทะเบียนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบที่มีที่ตั้งสถานที่รอรับคนโดยสารมีอำนาจเพิกถอนทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะในกรณีที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะหรือเสียชีวิตหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะได้

3. กำหนดให้นายทะเบียนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบที่มีที่ตั้งสถานที่รอรับคนโดยสารมีอำนาจเพิกถอนทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะในกรณีที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการว่าผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด

4. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งเหตุแห่งการเพิกถอน รวมทั้งการตรวจสอบและการพิจารณาของนายทะเบียนเมื่อได้รับหนังสือแจ้งจากคณะกรรมการ

5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการมีคำสั่งเพิกถอนหรือไม่มีคำสั่งเพิกถอนของนายทะเบียน รวมทั้งการดำเนินการของผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเมื่อได้รับคำสั่งเพิกถอนทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะ(รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการรับมอบรถยนต์ตามโครงการรถยนต์คันแรกตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอสาระสำคัญของเรื่อง

1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 กำหนดระยะเวลาตามโครงการรถยนต์คันแรกไว้ชัดเจนตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ซึ่งผลการดำเนินงานตามโครงการรถยนต์คันแรก มีผู้ขอใช้สิทธิ์จำนวน 1,259,113 ราย คิดเป็นเงินจำนวน92,812 ล้านบาท โดยผู้ที่อยู่ในสถานะขอใช้สิทธิในปัจจุบัน จำนวน 1,234,773 ราย คิดเป็นเงินจำนวน 91,125 ล้านบาท และปัจจุบันมีผู้ยังไม่ได้ยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม จำนวน 111,481 ราย

2. กค. จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการรับมอบรถยนต์ตามโครงการรถยนต์คันแรก โดยผู้ขอใช้สิทธิที่จะได้รับสิทธิตามโครงการฯจะต้องรับมอบรถยนต์ภายในวันที่ 30 กันยายน 2558 ส่วนการยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ยื่นภายใน 90 วันนับถัดจากวันรับมอบรถยนต์ตามที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ทั้งนี้ หากรับมอบรถยนต์ภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2558 ให้ถือว่าไม่ได้รับสิทธิตามโครงการฯ นี้ และจะเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหายใด ๆ กับทางราชการไม่ได้(รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเรื่อง นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอโดยเห็นชอบนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์ต่อไปและมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ให้เป็นรูปธรรมและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานการพัฒนาในแต่ละคลัสเตอร์ โดยมีสาระสำคัญของเรื่อง ดังนี้

1. นายกรัฐมนตรีได้มอบแนวทางการดำเนินนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนสำหรับธุรกิจที่ใช้แรงงานจำนวนมากธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นบริเวณชายแดนหรือประเทศเพื่อนบ้าน และธุรกิจด้านโลจิสติกส์ และ (2) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ ซึ่งจะอยู่บริเวณพื้นที่ตอนใน สำหรับธุรกิจที่ไม่เหมาะสมกับชายแดนเช่น กิจการวิจัยและพัฒนา กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและใช้แรงงานน้อยและคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (ขนพ.) และ(รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้มอบหมายให้ สกท. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรทมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และอก. จัดทำข้อเสนอนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์โดยเน้นคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพและมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต

2. การพัฒนาคลัสเตอร์ที่มีศักยภาพในระยะแรก ประกอบด้วย คลัสเตอร์สิ่งทอ คลัสเตอร์ไอที คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ คลัสเตอร์แปรรูปอาหาร และคลัสเตอร์แปรรูปยางพารา (ไม่รวมไม้ย่าง)

3. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาคลัสเตอร์ มีดังนี้

3.1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) และนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

3.2 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการลงทุนของประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีคุณค่า ทั้งจากนักลงทุนรายเดิมและรายใหม่

3.3 เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SMEs

4. การกำหนดคลัสเตอร์เป้าหมายในระยะแรก ได้แก่

4.1 Super Cluster เป็นคลัสเตอร์สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม คลัสเตอร์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคลัสเตอร์ดิจิทัล

4.2 คลัสเตอร์เป้าหมายอื่น ๆ ได้แก่ คลัสเตอร์เกษตรแปรรูปและคลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

4.3 กิจการเป้าหมายที่จะส่งเสริมเป็นพิเศษ ในแต่ละคลัสเตอร์ ประกอบด้วย 2 กลุ่มที่สำคัญ ดังนี้

(1) โครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคลัสเตอร์ ได้แก่ กิจการฐานความรู้ และกิจการโลจิสติกส์

(2) กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตที่มีความสำคัญสูง ได้แก่ กิจการต้นน้ำที่สำคัญของแต่ละคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมสนับสนุนที่จะส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

5. ในการดำเนินนโยบายคลัสเตอร์ให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งช่วยยกระดับคลัสเตอร์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การให้สิทธิประโยชน์ การพัฒนาคนและเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคและการสนับสนุนเงินทุน

6. ในส่วนของสิทธิประโยชน์สำหรับคลัสเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) สิทธิประโยชน์สำหรับ Super Cluster รวมถึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมดิจิทัล (2) สิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มคลัสเตอร์อื่น ๆ และ (3) สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการสนับสนุนการพัฒนาคลัสเตอร์(รายละเอียดเพิ่มเติมที่www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ