สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2560 (มกราคม - มีนาคม) พ.ศ. 2560 (เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 1, 2017 15:32 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ในไตรมาส 1 ปี 2560 เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัว เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และเกาหลีใต้แต่ยังคงมีความผันผวนจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในยุโรปและนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอัตราอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น การว่างงานของสหภาพยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ 52.9 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 อยู่ที่ 30.7 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน (ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2560) อยู่ที่ 47.3 USD/Barrel ปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯที่ลดลงและผู้ผลิตน้ำมันทั้งในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกยังคงปรับลดกำลังการผลิต

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2560 ยังคงขยายตัว อันเนื่องมาจากการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น การจ้างงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเล็กน้อย

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 การบริโภคภาคเอกชน ไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 0.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 117.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 96.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 101.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 101.0

การส่งออกและนำเข้าการส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 6.8 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัว ร้อยละ 5.5

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 1.1 อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2 อัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.75 เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับเป้าหมายและเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจจีน

เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2559 ยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการค้าปลีกและการลงทุนในสินทรัพย์ชะลอตัว การส่งออกหดตัว

ภาวะเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.7 เท่ากับไตรมาส 1 ปี 2559 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.5 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 9.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 110.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 102.8

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 7.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.8

การส่งออกและนำเข้า การส่งออก ไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 4.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 23.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 13.3

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1 อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 เท่ากับไตรมาส 1 ปี 2559

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People,s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 4.35 ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเงินผ่านวงเงินกู้ระยะกลาง แต่ยังคงควบคุมการปล่อยกู้ระยะสั้น

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2559 ยังคงขยายตัว อันเป็นผลมาจากการลงทุนในภาคก่อสร้างที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมา และในไตรมาส 1 ปี 2560 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวต่อเนื่อง

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 1.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 0.1 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ43.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.8

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 99.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 96.2

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 8.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 7.9 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 8.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 15.6

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2560 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.0 เป็นผลมาจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2

สถานการณ์ด้านการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ -0.1 และจะเริ่มลดปริมาณการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปไตรมาส 4 ปี 2559 ยังคงขยายตัว จากการบริโภคและการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่อัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงอยู่ในระดับสูงและ ไตรมาส 1 ปี 2560 คาดว่ายังคงขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เท่ากับไตรมาส 4 ของปี 2558

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 109.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 101.7 สำหรับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคมและมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 109.4 และ 109.6 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 16.2 และ 6.9 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 18.1 และ 7.7 ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.0 ซึ่งอยู่ใกล้ระดับค่าเป้าหมายตามที่ธนาคารกลางยุโรปกำหนดที่ร้อยละ 2.0 อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 8.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.2 อัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.0 และปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเหลือ 6 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2560 จากเดิม 8 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนในเดือนมีนาคม

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง

เศรษฐกิจฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาครัฐและภาคเอกชน และการลงทุนรวมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงภาคการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 จากการบริโภคภายในประเทศทั้งการบริโภคภาครัฐและภาคเอกชนการลงทุนรวมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการบริโภคภาครัฐขยายตัวร้อยละ 3.3 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 5.2 รวมทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 และภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 จากกิจกรรมการก่อสร้างทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ขยายตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 94.2 หดตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.1

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 124,598 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 7.2 จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 14.4 ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 133,189 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 11.1 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 1 ปี 2560 ฮ่องกงขาดดุลการค้า 8,591 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ฮ่องกงเป็นประเทศที่ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 จากราคาอาหาร และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และค่าขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4

เศรษฐกิจเกาหลีใต้

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัวและภาคเอกชนที่ขยายตัว ประกอบกับการลงทุนในภาคก่อสร้างที่ขยายตัวดี

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการบริโภคของภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่องประกอบกับการลงทุนในภาคก่อสร้างและสิ่งเอื้ออำนวยที่ขยายตัวดี

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 108.9 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.0

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 132,332 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 14.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งหดตัวร้อยละ 13.7 ขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 หลังจากหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2558 การส่งออกของเกาหลีใต้ขยายตัวจากการส่งออกไปตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.4 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) ที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยขยายตัวร้อยละ 17.6 ด้านการนำเข้า ในไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 116,217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 23.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 16.2 ภาพรวมการค้าเกาหลีใต้เกินดุลการค้า 16,115 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปี จากราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ประมงปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2560 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.25 เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ

เศรษฐกิจสิงคโปร์

เศรษฐกิจสิงคโปร์ ในไตรมาส 1 ปี 2560 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 2.5 ตามภาคการผลิตที่ขยายตัวโดยเฉพาะการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรม และยังได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการบริการที่ขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาส 1 ปี 2560 ตัวเลข GDP คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 2.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ตามภาคการผลิตที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมโดยเฉพาะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และวิศวกรรมขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการบริการที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ขณะที่ภาคการก่อสร้างหดตัวร้อยละ 1.1

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ระดับ 106.6 ขยายตัวร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.6

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 89,003 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 15.9 ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 77,585 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 14.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 11.4 ภาพรวมการค้า สิงคโปร์เกินดุลการค้า 11,418 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ติดลบร้อยละ 0.8 โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย

เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากแรงสนับสนุนจากการการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการบริโภคทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในไตรมาส 1 ปี 2560 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 เศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการบริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนที่ รวมถึงภาคการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 132.2 ขยายตัวร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 129.6 ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2560 อยู่ที่ระดับ 131.4 และ 132.7ขยายตัวร้อยละ 3.9 และ 3.3 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 40,607 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 13.9 การส่งออกขยายตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาสหลังจากหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2557 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2560 มีมูลค่า 36,680 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 14.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่หดตัวร้อยละ 13.0 ภาพรวมการค้าอินโดนีเซียเกินดุลการค้า 3,927 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2560 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ และค่าสาธารณูปโภคโภคที่ปรับเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 4.75 เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและระบบการเงินของประเทศ

เศรษฐกิจมาเลเซีย

เศรษฐกิจมาเลเซีย ในไตรมาส 4 ปี 255 9 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5เท่ากันกับไตรมาส 4 ปี 2558 โดยอุปสงค์ภายในประเทศยังสูงขึ้น แม้ว่าการใช้จ่ายของภาครัฐจะลดลง แต่การบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการลดลงของรายจ่ายภาครัฐ ดุลการค้ายังคงเกินดุล

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5 คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 แม้ว่าการใช้จ่ายของภาครัฐจะลดลงแต่การบริโภคของภาคเอกชนยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากกว่าการลดลงของรายจ่ายภาครัฐ ในส่วนของการค้าการส่งออกและนำเข้ามีการขยายตัวเล็กน้อย โดยมูลค่าการส่งออกยังคงมากกว่ามูลค่าการนำเข้าอยู่

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 131.5 ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่อยู่ที่ระดับ 125.2 โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของการผลิตไฟฟ้าขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ในส่วนของการทำเหมืองแร่และเหมืองหินและการผลิตยังขยายตัวในระดับสูงที่ระดับร้อยละ 4.7 และ 5.0 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ทั้งนี้ดัชนีฯ ในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2560 อยู่ที่ระดับ 127.7 และ 120.3 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 4 ปี 2559 มีมูลค่า 50,3644 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่หดตัวร้อยละ 15.2 ตลาดส่งออกสำคัญที่มีการขยายตัว ได้แก่ เวียดนาม เยอรมัน และจีน ที่ขยายตัวร้อยละ 30.1 13.6 และ 11.3 ตามลำดับ ส่วนตลาดส่งออกที่หดตัว ได้แก่ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ที่หดตัวร้อยละ 14.3 14.1 และ 10.1 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2560 ขยายตัวร้อยละ 10.6 ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2559 มีมูลค่า 43,983 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2559 ภาพรวมการค้าในไตรมาส 4 ปี 2559 มาเลเซียเกินดุลการค้า 6,381 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 1 ปี 2560 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 119.2 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 ที่อยู่ที่ระดับ 114.3 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ขยายตัวร้อยละ 4.1 ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนค่าไฟฟ้าและเชื้อเพลิงขยายตัวร้อยละ 2.1 ค่าใช้จ่ายด้านการคมนาคมขยายตัวสูงร้อยละ 23.0 ในขณะที่เครื่องนุ่งห่มและรองเท้าหดตัวหดตัวร้อยละ 0.4

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางมาเลเซียมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight Policy Rate) ที่ร้อยละ 3 คงเดิมจากไตรมาสที่แล้วโดยเห็นว่าอัตราดังกล่าวเหมาะสมในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจและการค้าของโลกมีทิศทางกระเตื้องขึ้น

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 255 9 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.6ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 เป็นผลมาจากการใช้จ่ายของภาคของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ในขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.9 ในขณะที่ภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 1.3

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2559 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 223.6 ขยายตัวร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่อยู่ที่ระดับ 199.0 โดยดัชนีฯ ในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2560 อยู่ที่ระดับ 216.1 และ 180.6 ตามลำดับ ขยายตัวร้อยละ 9.7 และ13.6 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 4 ปี 2559 มีมูลค่า 14,622 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 โดยการส่งออกไปตลาดสำคัญที่ขยายตัวได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และจีน ขยายตัวร้อยละ 64.9 56.3 และ 29.7 ตามลำดับ ในขณะตลาดที่หดตัว ได้แก่ เยอรมัน ไต้หวัน และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 25.4 20.0 และ 5.7 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2559 มีมูลค่า 21,328 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 โดยการนำเข้าที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ อินโดนีเซีย เยอรมัน และฝรั่งเศส ขยายตัวร้อยละ 120.9 84.2 และ 81.4 ตามลำดับ ภาพรวมการค้าในไตรมาส 4 ปี 2559 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 6,706 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 1 ปี 2560 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPl) อยู่ที่ระดับ 145.7 ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอลล์ขยายตัวร้อยละ 3.9 ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่มขยายตัวร้อยละ 2.8 ส่วนค่าใช้จ่ายภายในบ้าน เช่น ไฟฟ้าและประปาขยายตัว ร้อยละ 2.9

สถานการณ์ด้านการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทข้ามคืน (Bangko Sentral ng Pilipinas,s Overnight Reverse Repurchase: RRP) ไว้ที่ร้อยละ 3 ต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากได้ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้และสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่มีทิศทางดี

เศรษฐกิจอินเดีย

เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว การค้ามีการขยายตัวทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดียในไตรมาส 4 ปี 2559 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.0 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 การใช้จ่ายของภาคภาคครัวเรือนและภาครัฐขยายตัวในระดับที่สูงแต่การนำเข้ายังคงขยายตัวสูงกว่าการส่งออก

การผลิตภาคอุตสาหกรรมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2559 อยู่ที่ระดับ 179.2 ขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบไตรมาส 4 ปี 2558 ที่อยู่ที่ระดับ 177.3 โดยเพิ่มขึ้นทั้งในการผลิตไฟฟ้าการทำเหมืองแร่ อาหาร และการผลิต ทั้งนี้ดัชนีในเดือนมกราคมอยู่ที่ 192.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกันกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และเดือนกุมภาพันธ์ดัชนีอยู่ที่ 182.3 ลดลงร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกันกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว

การส่งออกและนำเข้าการส่งออกไตรมาส 4 ปี 2559 มีมูลค่า 66,455 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบไตรมาส 4 ปี 2558 โดยตลาดสำคัญที่มีการขยายตัว ได้แก่ เนปาล มาเลเซีย และจีน ที่ขยายตัวร้อยละ 136.9 68.1 และ 23.3 ตามลำดับ ตลาดสำคัญที่มีการหดตัว ได้แก่ สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ที่หดตัวร้อยละ 26.4 และ 4.3 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2560 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 และ 16.9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2559 มีมูลค่า 101,287 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบไตรมาส 4 ปี 2558 สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2560 ขยายตัวร้อยละ 11.1 และ 21.8 ตามลำดับ ภาพรวมการค้าในไตรมาส 4 ปี 2559 อินเดียขาดดุลการค้า 34,832 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 1 ปี 2560 ดัชนีราคาผู้บริโภค อยู่ที่ระดับ 130.6 ขยายตัวร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2559 โดยราคาอาหารและเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าค่าไฟฟ้าและเชื้อเพลิงขยายตัวที่ตัวร้อยละ 2.1 4.6 และ 4.3 ตามลำดับ

สถานการณ์ด้านการเงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 (เดือนกุมภาพันธ์ 2560) ธนาคารกลางอินเดียยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Liquidity Adjustment Facility: LAF) ที่อัตราร้อยละ 6.25 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน เห็นว่าอัตราดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 5 ที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับภาวะจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะเติบโตระดับปานกลางในปี 2560 โดยเฉพาะจากประเทศที่ก้าวหน้า

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ