โครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ต่อยอดความสามารถให้กับนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่

ข่าวทั่วไป Wednesday November 11, 2015 12:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ยกระดับความสามารถและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักเทคโนโลยีของประเทศไทย ผ่านการประกาศผลรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ผลักดันให้กับนักวิจัย นักเทคโนโลยีที่มีความมานะอุตสาหะและทุ่มเทให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีของไทยให้สามารถแข่งขันในเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสาววรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) กล่าวว่า ทางสมาคมฯ ได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานประกาศผลรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ในงานสัมมนา STI Forum ในหัวข้อ Creativity and Commercialization เพื่อเปิดมุมมองของนักนวัตกรรมและนักวิจัยพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ โดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุน และแนะนำแนวทางการนำผลงานวิจัยจากห้องทดลอง ไปสู่การพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่งานวิจัยด้านเทคโนโลยีของนักเทคโนโลยีไทย และผลักดันให้เกิดการยกย่องส่งเสริมผลงานที่มีความโดดเด่นด้านการวิจัยและพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาตินี้ ออกสู่สาธารณชนในวงกว้างให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ทางด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวเสริม "สำหรับรางวัลพระราชทานนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ทางมูลนิธิฯ มีเกณฑ์ในการพิจารณาและเฟ้นหาบุคคลที่สมควรได้รับรางวัลทั้งมิติด้านการพัฒนาทางเทคโนโลยีและมิติด้านบุคคล มีคณะกรรมการคัดเลือกที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา จากทั้งมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน โดยในปีนี้ 2558 มีโครงการที่ส่งเข้าประกวดจำนวนกว่า 30 โครงการ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทกลุ่ม 15 โครงการ และประเภทบุคคล 15 โครงการ และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จำนวน18 โครงการ ทั้งนี้มีผลงานอันโดดเด่นของผู้เข้ารอบ 3 ผลงานสุดท้ายของรางวัลแต่ละประเภท" โครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ได้แก่ คุณฉัตรชัย คงเดชอุดมกุล และคณะ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จากโครงการ "Deepliftนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากหลุมน้ำมันดิบโดยการฉีดแก๊สสู่ก้นหลุม (ระบบส่งผ่านแก๊สช่วยผลิตลงไปใต้แพ็คเกอร์แบบท่อผลิตท่อเดียวและวิธีการผลิตปิโตรเลียม)" ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย และคณะ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จากโครงการ "การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมวลผลเสียงพูด เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ด้อยโอกาส" คุณอ้อมใจ ปิ่นฑะแพทย์ และคณะ บริษัท สยามมอร์ตาร์ จำกัด จากผลงานเรื่อง "Platinum Mortar: การวิจัยและพัฒนาปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ป้องกันการแตกร้าว เพื่อคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น" โครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้แก่ ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เรื่อง "แพลตฟอร์มบริการข้อมูลด้วยเสียงพูด" ดร. ณัฐพล ชโยพิทักษ์ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เรื่อง "การออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบขับเคลื่อนและอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เพื่อการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม" ผศ.ดร.ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "GN Coating: เทคโนโลยีการเคลือบผิวเหล็กกล้าประสิทธิภาพสูง" ขอเสียงปรบมือให้กับทุกผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในปีนี้ด้วยครับ ผู้ชนะเลิศรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ได้แก่ คุณอ้อมใจ ปิ่ณฑะแพทย์ และคณะ จากบริษัท สยามมอร์ตาร์ จำกัด จากผลงานเรื่อง Platinum Mortar: การวิจัยและพัฒนาปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ป้องกันการแตกร้าว เพื่อคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมต่อการได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น โดยได้ทำการศึกษา พัฒนา คิดค้นสูตรและผลิตปูนซิเมนต์จนได้รับรางวัลมากมายอย่างต่อเนื่องมาทุกปีตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งตัวผลงานพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามี impact ต่อประเทศโดยได้รับการยอมรับจาก Developer ชั้นนำของไทย และCommercial จริงออกสู่ตลาดแล้ว ปัจจุบันขยายการใช้งานไปสู่ Developer รายอื่น ๆ ทั่วประเทศ และกลุ่ม Segment อื่น เช่นHome Owner, Contractor, Home Builder โดยผลงานที่ส่งเข้ามาประกวดนี้ก็ได้ยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ชนะรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานเรื่อง GN Coating: เทคโนโลยีการเคลือบผิวเหล็กกล้าประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่มีผลงานน่าสนใจยิ่ง โดยอาจารย์เคยได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ในปี 2554 ในการศึกษาการชุบโลหะด้วยสังกะสีและนิกเกิล ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นกระบวนชุบเหล็กด้วยสังกะสีและนิกเกิลที่ราคาถูกและมีความคงทนเทียบเท่าการชุบด้วย Fluoropolymer จึงน่าจะเป็นตัวอย่างของนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จจากงานวิจัยและดำเนินงานด้านพื้นฐานแล้วหาทางต่อยอดประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้ "เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้นในหลากหลายสาขา โดยคุณภาพของผลงานอยู่ในระดับมาตรฐานสากล หากทุกฝ่ายร่วมมือกันส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ มีการจัดการที่ดี การส่งเสริมผู้ทำงานอย่างจริงจัง ประเทศไทยน่าจะสามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สูงขึ้นได้ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือเป็นแรงผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีที่คิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนาโดยคนไทย กระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นและร่วมเป็นพลังงานขับเคลื่อนเทคโนโลยีไทยในอนาคตต่อไป" รองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ สรุปทิ้งท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ