เขี่ยบุหรี่ใส่ขวดยาแก้ไอ ยาก! ที่จะระเบิด

ข่าวทั่วไป Tuesday May 31, 2016 16:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ.สุชาดา ไชยสวัสดิ์ ผอ.ศูนย์การจัดการด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย eesh (มจธ.) เปิดเผยกรณีเกิดเหตุระเบิดที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมาว่า การจะเกิดการขยายตัวของก๊าซแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนผสมเดียวที่ติดไฟได้ในยาแก้ไออย่างรุนแรงนั้น เกิดขึ้นได้ยากและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสามารถให้เหตุผลได้ใน 3 ประเด็นคือ 1. ยาแก้ไอ โดยเฉพาะยาแก้ไอของเด็กนั้น ถูกควบคุมให้มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในช่วง1-5เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (ซึ่งน้อยมากและไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการระเบิดได้) 2. เมื่อเปิดฝาขวดยาแก้ไอแล้วแอลกอฮอล์เหล่านั้นจะระเหยออกไปจนเกือบหมด 3. บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุยาแก้ไอนั้น มีความทนต่อแรงดันภายในได้ดี ดังนั้นจึงมีปัจจัยเสี่ยงน้อยมากที่หากมีคนเขี่ยบุหรี่ลงไปในขวดยาแก้ไอแล้วจะเกิดการระเบิดขึ้นมา โดยสารประกอบภายในตัวของยาแก้ไอ ส่วนแอลกอฮอล์ที่หลายคนสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นฉนวนในการระเบิดในครั้งนี้ พบว่า แม้เราทดลองนำสำลีชุบแอลกอฮอร์แล้วจุดภายในขวดบรรจุภัณฑ์ก็ไม่เกิดการระเบิดแต่อย่างใด ส่วนเหตุการณ์ระเบิดที่สถานีรถไฟหัวลำโพงในวันนี้จะเกิดจากสาเหตุใดจะต้องพิจารณาจากหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ EOD พบจากที่เกิดเหตุอีกครั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ