สวนดุสิตโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไร? กับ กระแสข่าวหา “คนกลาง”

ข่าวผลสำรวจ Monday March 10, 2014 06:38 —สวนดุสิตโพล

จากกระแสข่าวที่มีการพูดคุยกันระหว่างนายกฯยิ่งลักษณ์ กับ ผบ.เหล่าทัพต่างๆ และมีการเรียกร้องให้หาคนกลางที่จะมาดำเนินการพูดคุยไกล่เกลี่ยให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวดังกล่าว “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,404 คน ระหว่างวันที่ 6-8 มีนาคม 2557 สรุปผลได้ ดังนี้

1. จากกระแสข่าวที่มีการพูดคุยกันระหว่างนายกฯยิ่งลักษณ์ กับ ผบ.เหล่าทัพต่างๆ และมีการเรียกร้องให้หาคนกลางที่จะมาดำเนินการพูดคุยไกล่เกลี่ยให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร?
อันดับ 1   เป็นเรื่องที่ดี การหาคนกลางมาเจรจาน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด สถานการณ์ต่างๆคงจะดีขึ้น                49.81%
อันดับ 2   อยากให้คนกลางที่จะเข้ามาดำเนินการทำหน้าที่สำเร็จและทุกฝ่ายพอใจ / เต็มใจที่จะทำตาม               27.17%
อันดับ 3   กลัวว่าจะหาคนกลางไม่ได้ หรือถ้ามีคนกลางจริงก็ไม่แน่ใจว่าจะเจรจาได้สำเร็จ                        23.02%

2. จากสถานการณ์บ้านเมือง ณ ขณะนี้ ประชาชนคิดว่าถึงเวลาหรือยัง? ที่ควรจะหาคนกลางเข้ามาดำเนินการ
อันดับ 1   ถึงเวลาแล้ว                                                                         68.06%
เพราะ ประเทศชาติและประชาชนได้รับผลกระทบมามากพอแล้ว เป็นเหตุการณ์ที่ยืดเยื้อมานาน
ไม่อยากให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข ทุกคนช่วยกันพัฒนาประเทศ ฯลฯ
อันดับ 2   ไม่แน่ใจ                                                                            24.72%
เพราะ ควรประเมินสถานการณ์ให้ละเอียดรอบคอบ อาจเป็นเพียงกระแสในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ฯลฯ
อันดับ 3   ยังไม่ถึงเวลา                                                                         7.22%
เพราะ อยากให้ทั้ง 2 ฝ่าย เจรจากันเองมากกว่า การที่จะหาคนกลางเข้ามาทำหน้าที่นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย
และคงต้องใช้เวลาในการหาพอสมควร ฯลฯ

3. “บทบาท หน้าที่” ของผู้ที่จะมาเป็น “คนกลาง” ควรเป็นอย่างไร?
อันดับ 1   เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เป็นที่รู้จัก ประวัติดี  มีคุณธรรม                                         44.81%
อันดับ 2   ฉลาด มีไหวพริบ เข้าใจพูด พูดเป็น ไม่บิดเบือนข้อมูล                                           32.05%
อันดับ 3   ทำหน้าที่ให้เต็มที่ ทำเพื่อส่วนรวม ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้                    23.14%

4. ใครหรือหน่วยงานใด? ที่ประชาชนเห็นว่าเหมาะสมที่จะเข้ามาเป็น “คนกลาง” ในครั้งนี้
อันดับ 1   กลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง                                               41.47%
อันดับ 2   กองทัพ                                                                             27.13%
อันดับ 3   ศาลฎีกา                                                                            23.64%
*อื่นๆ     เช่น คณะองคมนตรี ตัวแทนภาคประชาชน หน่วยงานเอกชน องค์กรต่างประเทศ ฯลฯ                     7.76%

5. ถ้ามี “คนกลาง” แล้ว ประชาชนคิดว่าการเมืองท่ามกลางความขัดแย้งที่มีอยู่ ณ วันนี้ จะเป็นอย่างไร?

อันดับ 1   ขัดแย้งน้อยลง                                                                        49.17%
เพราะ ได้พูดคุยและเข้าใจกันมากขึ้น รู้ถึงเหตุผล มุมมอง และความต้องการของแต่ละฝ่าย
สถานการณ์ต่างๆน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2   ขัดแย้งเหมือนเดิม                                                                     41.39%
เพราะ การเมืองไทยเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อและสั่งสมมานาน ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน มีหลายเรื่องที่ทำให้
เกิดความขัดแย้ง ฯลฯ
อันดับ 3   ขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น                                                                      9.44%
เพราะ ยังไม่รู้ว่าคนกลางจะเจรจาได้สำเร็จหรือไม่ กลุ่มที่สนับสนุนของแต่ละฝ่ายอาจไม่เห็นด้วย
กับการเจรจา ฯลฯ

6. ประชาชนคิดว่าการที่จะตั้ง “คนกลาง” เพื่อทำให้สถานการณ์ต่างๆดีขึ้น น่าจะมี “ปัญหาอุปสรรค” อะไรบ้าง?
อันดับ 1   หาคนกลางที่เหมาะสมหรือมีคุณสมบัติตามที่ต้องการไม่ได้ หรือไม่มีใครอยากทำหน้าที่เป็นคนกลาง             39.27%
อันดับ 2   คนกลางที่หาได้อาจไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เกิดการต่อต้าน คัดค้าน                            35.59%
อันดับ 3   การทำหน้าที่ของคนกลางอาจถูกแทรกแซง ข่มขู่ ได้รับความกดดันหรือสังคมคาดหวังมากเกินไป              25.14%

7. “ข้อเสนอแนะ” ต่อ “คนกลาง หรือ หน่วยงาน” ที่จะมาดำเนินการในครั้งนี้
อันดับ 1   ต้องอดทน มีสติ เข้าใจต่อสถานการณ์ต่างๆที่จะต้องเผชิญทั้งในเรื่องของการข่มขู่ หรือความไม่ปลอดภัย        42.78%
อันดับ 2   ทำหน้าที่อย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา แจ้งความคืบหน้าให้สังคมทราบเป็นระยะๆ                        29.38%
อันดับ 3   ควรกำหนดกรอบกติกาในการเจรจาหรือประเด็นที่จะพูดคุยให้ชัดเจน พร้อมรับฟัง ความต้องการทั้ง 2 ฝ่าย     27.84%

--สวนดุสิตโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ