สวนดุสิตโพล: ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ

ข่าวผลสำรวจ Thursday November 24, 2016 15:30 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ ในพื้นที่ อบต.เขาเจ็ดลูก จ.พิจิตร อบต.ท้ายดง จ.เพชรบูรณ์ อบต.วังโพรง จ.พิษณุโลก โดยสำรวจกับประชาชนที่พักอาศัยอยู่รอบเหมืองแร่ทองคำภายในรัศมี 10 กิโลเมตร กระจายเพศ อายุ ระยะเวลาที่พักอาศัย ระหว่างวันที่ 14 – 18 ตุลาคม 2559 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,121 คน สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้

1. การรับรู้เกี่ยวกับประเด็นการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ
อันดับ   ประเด็นการรับรู้                                                                                          ภาพรวม
 1     เหมืองแร่ทองคำมีการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพน้ำ ปริมาณฝุ่น เสียง น้ำ แรงสั่นสะเทือน                        74.40%
 2     เหมืองแร่ทองคำได้นำเงินเข้ากองทุนพัฒนาท้องถิ่น/กองทุนประกันความเสี่ยงด้านสุขภาพ/กองทุนพัฒนาตำบล และกองทุนหมู่บ้าน           73.33%
เพื่อใช้ในการช่วยเหลือและพัฒนาคนในชุมชน
 3     เหมืองแร่ทองคำจัดให้มีการให้บริการตรวจสุขภาพกับคนในชุมชนที่อาจจะเป็นกลุ่มเสี่ยง                                        71.01%
 4     มีการตรวจประเมินคุณภาพการประกอบกิจการเหมืองตามกฎหมายจากหน่วยงาน เช่น กรมอนามัย กรมควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม          65.39%
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นต้น
 5     เหมืองแร่ทองคำมีการตรวจรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ กำหนด                                                   63.87%

2. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานของเหมืองแร่ทองคำ
อันดับ   ประเด็น                                                                   ค่าเฉลี่ย 4 ระดับ          เทียบเป็นร้อยละ
 1     การมีเหมืองแร่ทองคำทำให้เกิดงาน/สร้างอาชีพในชุมชน                                         3.17                 79.25
 2     เหมืองแร่ทองคำกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้                                                 2.87                 71.75
 3     ยินดีเข้าร่วมกิจกรรม/สนับสนุนกิจกรรมในชุมชนของเหมืองแร่ทองคำ                                 2.79                 69.75
 4     เกิดมีการซื้อ-ขายที่ดินในราคาที่สูงขึ้นกว่าราคาประเมิน                                          2.66                 66.50
 5     คาดว่าเหมืองแร่ทองคำมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของชุมชน                           2.42                 60.50
 6     การมีเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ทำให้มีคนย้ายถิ่นเข้ามาในชุมชนมากขึ้น                                 2.38                 59.50
 7     เหมืองแร่ทองคำทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์/กลุ่มผู้มีอิทธิพลเข้ามาในพื้นที่                              2.14                 53.50

3. ระดับความกังวลเกี่ยวกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่จังหวัด
อันดับ   ความคิดเห็น                                                                                             ภาพรวม
 1     ไม่กังวลเลย                                                                                             54.68%
 2     กังวลน้อย                                                                                               20.61%
 3     กังวลมาก                                                                                               13.74%
 4     กังวลมากที่สุด                                                                                            10.35%
       ไม่แสดงความคิดเห็น                                                                                        0.62%
เหตุผลที่รู้สึกกังวล คือ กลัวสารเคมีที่อันตราย ที่ตกค้างที่มีผลกระทบในระยะยาว, เรื่องคุณภาพน้ำ น้ำประปา น้ำฝน อาจจะกินไม่ได้ น้ำอาจปนเปื้อนสารเคมี กังวลเรื่องสุขภาพ
ของคนในชุมชน และการมีอาชีพ เพราะหากมีการปิดกิจการเหมืองแร่ ประชาชนในพื้นที่จะไม่มีงานทำ เหตุผลที่ไม่กังวลเลย เพราะ อยู่ห่างไกลเหมืองแร่ ไม่มีสิ่งใดต้องกังวล สามารถใช้
ชีวิตได้ตามปกติ ไม่เดือดร้อน

4. การได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ
อันดับ   ความคิดเห็น                                                                                            ภาพรวม
 1     ไม่ได้รับผลกระทบ                                                                                        73.15%
เพราะ ที่พักอาศัยอยู่ห่างไกลเหมืองแร่ทองคำ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหมืองแร่ทองคำ/ไม่มีญาติ/คนรู้จักทำงานในเหมือง
ไม่ได้รับผลกระทบสามารถดำเนินชีวิต เหมืองแร่ทองคำมีการดำเนินการที่ดี มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาไม่ได้
ใช้น้ำในคลองอุปโภค-บริโภค  เป็นต้น

 2     ได้รับผลกระทบ                                                                                          23.73%
คือ ด้านน้ำอุปโภค-บริโภค ทำให้ต้องซื้อน้ำดื่ม  ทำให้เกิดมลพิษทางอากศ ในอากาศอาจมีสารเคมีที่มีอันตรายต่อร่างกาย
การปิดเหมืองทำให้เกิดการว่างงาน เศรษฐกิจในชุมชนแย่ เสียงดังจากการระเบิดเหมือง ดินมีสารเคมีตกค้าง ทำให้ได้
ผลผลิตน้อยลง ไม่สวยงาม เป็นต้น
       ไม่แสดงความคิดเห็น                                                                                       3.12%

5. ผลกระทบต่อประชาชน/ชุมชนในพื้นที่จากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ
ด้านดี                                            ภาพรวม        ด้านลบ                                         ภาพรวม
คนในชุมชนมีงานทำ/มีอาชีพ                            25.11%        มีเสียง/แรงสั่นทะเทือนถึงที่พักอาศัย                    23.38%
สนับสนุนทุนการศึกษาให้เยาวชน                         14.45%        มีฝุ่นละอองมาก                                   21.34%
พัฒนาสถานศึกษา                                    12.94%        น้ำที่ใช้ในครัวเรือนมีสี/กลิ่น                          15.87%
มีการค้าขายในชุมชน                                 11.73%        มีสารไซยาไนร์/สารหนูรั่วไหล                        13.14%
ส่งเสริมกิจกรรม/วัฒนธรรมประเพณีชุมชน                   8.68%        ราคาซื้อ-ขายที่ดินสูงเกินความจริง                     10.01%
มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก                              8.19%        มีกลุ่มผลประโยชน์มาในพื้นที่                           7.35%
ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก                                  7.91%        ถนนเสียหาย/ชำรุด                                 5.00%
พัฒนา/ให้ทุนสนับสนุนโรงพยาบาล                         5.85%        มีการย้ายครัวเรือนมาอยู่ใหม่มากขึ้น                     3.13%
ส่งเสริมการปลูกป่า                                   5.14%

6. ความคิดเห็นต่อการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ “ควรดำเนินการต่อไป” หรือไม่
อันดับ   ความคิดเห็น                                                                                            ภาพรวม
 1     ควรดำเนินการต่อไป                                                                                      75.02%
เพราะ เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด, ทำให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้าน
สร้างความเจริญ ไม่ได้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเดือดร้อน ควรมีแต่ควรดูแลให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
 2     ไม่ควรดำเนินการต่อไป                                                                                    22.66%
เพราะ กังวลเรื่องสารเคมี (สารไซยาไนร์) สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และน้ำอุปโภค-บริโภค, ประชาชนที่พักอาศัยใกล้เหมืองแร่
อาจได้รับอันตรายหรือผลกระทบ, กลัวส่งผลกระทบในระยะยาว, ได้รับผลกระทบในหลายด้าน ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย เป็นต้น
       ไม่แสดงความคิดเห็น                                                                                       2.32%

--สวนดุสิตโพล--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ