สวนดุสิตโพลล์: การทะเลาะวิวาท /ตีกัน ของ “เด็กอาชีวะ”ในทัศนะของประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday September 6, 2010 07:26 —สวนดุสิตโพล

** ประชาชน 87.14% คิดว่าการทะเลาะกัน ตีกันของเด็กอาชีวะ จะยังคงมีต่อไปอย่างยืดเยื้อ **

จากเหตุการณ์สะเทือนใจเด็กนักเรียนวัย 9 ขวบ ถูกลูกหลงจนเสียชีวิต จากการยกพวกถล่มอริต่างสถาบันบนรถเมล์ของเด็กอาชีวะ และเหตุการณ์อีกรายที่ปากน้ำถึงขั้นปาระเบิดใส่รถสองแถวแล้วยิงซ้ำ ทำให้เด็กนักเรียนหญิง ม.1 ถูกลูกหลงเจ็บไปด้วย ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการต้องออกโรงแจ้งหนังสือเตือนไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆให้เข้มงวดและดูแล สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาอย่างใกล้ชิด เพราะยิ่งนับวันเหตุการณ์เหล่านี้ยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่มีผลกระทบและเสนอแนะแนวทางที่ควรเร่งแก้ไข “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,219 คน ระหว่างวันที่ 1-4 กันยายน 2553 สรุปผลการสำรวจ ได้ดังนี้

1.          ประชาชนคิดอย่างไร? กับ ข่าวเด็กอาชีวะตีกันจนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ
อันดับ 1          รู้สึกเศร้าใจ หดหู่ใจที่ต้องเห็น /ได้ยินเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นซ้ำซาก                        34.60%
อันดับ 2          รู้สึกสงสาร เห็นใจพ่อแม่ของเด็กนักเรียนที่ต้องสูญเสียลูกชายไป                           32.49%
อันดับ 3          คิดว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องหันมาหารือกันโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ          19.82%

จะต้องมีมาตรการหรือแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างเด็ดขาด

อันดับ 4          อยากขอร้องให้เด็กนักเรียนอาชีวะทุกคนมีสติ คิดหรือไตร่ตรองให้ดี ก่อนที่จะทำอะไรลงไป
                นึกถึงผลเสียหรือผลที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังว่าคุ้มกันหรือไม่                             13.09%

2. สาเหตุที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท คือ
อันดับ 1          มาจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง คิดว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีระหว่างสถาบัน        40.18%
อันดับ 2          มาจากอารมณ์ชั่ววูบ /ใจร้อน /ขาดสติ /ความแค้นส่วนตัว /ไม่ชอบหน้ากัน /ไม่ถูกกัน           30.09%
อันดับ 3          คิดว่าเป็นการกระทำที่เท่ห์ ดูดี / มาจากความเชื่อที่ผิด                                 11.73%
อันดับ 4          กระทรวงศึกษาธิการ /ผู้บริหารสถานศึกษายังไม่สามารถควบคุมดูแลเด็กเหล่านี้อย่างทั่วถึง        10.68%
อันดับ 5          เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เอาจริงเอาจัง / ไม่เข้มงวดกวดขันมากพอ                            7.32%

3.          ประชาชนคิดว่าการทะเลาะกัน ตีกันของเด็กอาชีวะจะมีต่อไปอย่างยืดเยื้อหรือไม่?
อันดับ 1          มีต่อไป           87.14%

เพราะ ที่ผ่านมาก็ไม่เห็นมีการแก้ไขอะไรให้ดีขึ้น เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ,ผู้บริสุทธิ์มักโดนลูกหลงไปด้วย , เป็นการแก้แค้นกันไปมา ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่แน่ใจ          11.28%

เพราะ เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทีไรมักตื่นตัวกันเป็นพักๆ แล้วก็เงียบไป ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่มี              1.58%

เพราะ ควรถึงเวลาเสียที ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องช่วยกันหยุดปัญหาเหล่านี้ ควบคุมดูแลและแก้ปัญหาขั้นเด็ดขาดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก ฯลฯ

4. แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ
อันดับ 1          ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักศึกษาเหล่านี้ใหม่ ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมาภายหลัง                      29.88%
อันดับ 2          ต้องมีกฎหมายหรือบทลงโทษที่เด็ดขาดสำหรับกรณีนี้                                               26.53%
อันดับ 3          ผู้ปกครองต้องให้ความรัก ดูแลเอาใจใส่บุตรหลานของตนให้ดี/ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม             16.90%
อันดับ 4          กระทรวงศึกษาธิการต้องมีบทลงโทษต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อย่างจริงจังและมีมาตรการป้องกันดูแลอย่างเข้มงวด 14.27%
อันดับ 5          ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ จะต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ดูแลนักศึกษาของตนเองให้ดี                    12.42%

5. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากหรือเตือนสติให้กับเด็กอาชีวะ คือ
อันดับ 1          อยากให้นึกถึงหัวอกหรือความรู้สึกของผู้ที่เป็นพ่อแม่                              58.70%
อันดับ 2          อยากให้มองว่าเด็กอาชีวะทุกคนคือเพื่อนกัน /มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน              22.66%

ไม่ควรทะเลาะกันเอง

อันดับ 3          อยากให้นำเรื่องที่เกิดขึ้นไปทบทวนหรือใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ                      10.29%
อันดับ 4          อยากให้คิดถึงสถาบันที่กำลังศึกษาอยู่ให้มาก /ไม่ทำความเดือดร้อนให้กับสถาบัน          8.35%

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ