พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 สิงหาคม 2557 - 26 สิงหาคม 2557

ข่าวทั่วไป Thursday August 21, 2014 08:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 สิงหาคม 2557 - 26 สิงหาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-21 ส.ค. และวันที่ 25-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และน่านส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ทางตอนบนของภาคยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรในพื้นทีเสี่ยงภัย ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • ส่วนลำไยที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อลดความชื้นในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรารวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นานขึ้น
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเตรียมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าบ่อเมื่อมีฝนตกหนัก จนทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและอาจส่งผลให้เป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-21 ส.ค. และวันที่ 25-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร และนครพนม ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ทางตอนบนของภาคยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรได้
  • ในช่วงที่มีฝนตกทำให้อากาศมีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และโรคใบขีดสีน้ำตาล เป็นต้น รวมทั้งป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำในช่วงที่มีฝนตกหนักโดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยไปทำลาย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลพื้นคอกไม่ให้ชื้นแฉะ หลังคาอย่าให้รั่วซึมป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะทำให้อากาศมีความชื้นสูงชาวสวนกล้วยไม้ควรปรับโรงเรือน ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับสภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น ป้องกันสัตว์อ่อนแอ เป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราดอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนัก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกชุก สภาพอากาศ มีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ และใบจุดสีน้ำตาล รวมทั้งศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกอข้าว และหนอนห่อใบข้าว เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • ในระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรได้
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผล แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวนานขึ้น
  • สำหรับชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 21-24 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 25-26 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ในระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรได้
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผล แล้วทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวนานขึ้น
  • สำหรับชาวสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ