พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 25 กุมภาพันธ์ 2558 - 03 มีนาคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday February 25, 2015 15:54 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 25 กุมภาพันธ์ 2558 - 03 มีนาคม 2558

ภาคเหนือ

ตอนบนของภาคอากาศหนาว ส่วนตอนล่างอากาศเย็นและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 13-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อุณหภูมิจะแตกต่างกันมากหระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนช่วงที่มีหมอกหนา เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะรถที่ใช้ในการเกษตร ควรตรวจสอบสัญญานไฟหน้าและไฟท้ายให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะอาจลุกลามทำให้เกิดไฟป่าได้ และควันไฟจากการเผาไหม้จะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษทางอากาศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 25 - 27 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. –2 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูร้อนอากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกลางวันอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ระยะนี้มีแสงแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำและจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้มีความเหมาะสมหากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 25 - 27 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 2 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้อากาศแห้งปริมาณน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวหน้าดิน เป็นการรักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับสภาพอากาศร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ป้องกันสัตว์เลี้ยงเครียดปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนเกษตรกรที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 25 - 27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 2 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ย และไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม
  • ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 25 - 27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 2 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สภาพอากาศที่แห้งเหมาะต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวก ปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยชนิดต่างๆในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้พร้อมทั้งควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ

-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน

-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 25 - 27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 2 มี.ค. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สภาพอากาศที่แห้งเหมาะต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวก ปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยชนิดต่างๆในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้พร้อมทั้งควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ

-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน

-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ