พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 06 กรกฎาคม 2558 - 12 กรกฎาคม 2558

ข่าวทั่วไป Monday July 6, 2015 15:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 กรกฎาคม 2558 - 12 กรกฎาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 - 10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 - 12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้ทางตอนบนของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาภัยแล้งลงได้บ้าง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนน้อย รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคที่ฝนตกน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชผัก เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นในดิน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7 - 10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 - 12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้ทางตอนบนของภาคจะมีฝนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อพืชไร่และพืชผักที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด แต่ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหาย
  • ส่วนตอนล่างของภาคยังคงมีฝนน้อย ปริมาณฝนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6- 10 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 - 12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้จะมีฝนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด แต่ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนที่จะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหาย
  • ส่วนทางตอนบนของภาคอากาศร้อน และบางวันมีฝนตก ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันสัตว์อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ
  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศ มีความชื้นสูง ซึ่งจะส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ปีกอาจเจ็บป่วยเป็นหวัดได้ เกษตรกรควรหมั่นดูแล หากพบสัตว์ป่วย ควรรีบให้การรักษา
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-12 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็ก ควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 6-9 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพารา และไม้ผล ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-12 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7 - 9 ก.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนัก
  • ช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพารา และไม้ผล ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-12 ก.ค.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ