พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 08 กันยายน 2560 - 14 กันยายน 2560

ข่าวทั่วไป Friday September 8, 2017 14:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 08 กันยายน 2560 - 14 กันยายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พืชไร่/ ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ดินและอากาศ มีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้มีความชื้นในอากาศสูงขึ้น อาจทำให้เกิดสภาวะอับชื้นขึ้นได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ง่าย ประกอบกับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจะทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด อ่อนแอและติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง และไม่อับชื้น รวมทั้งควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มและรีบรักษา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังคงมีฝนตกชุกโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลการเกษตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ข้าวนาปี ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง สำหรับข้าวนาปีที่กำลังแตกกอ ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง รวมทั้งระวังการระบาดของหอยเชอรี่ ซึ่งจะกัดกินต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกเป็นเวลานานทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตาย นอกจากนี้ควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ ให้พร้อมใช้งาน
  • สัตว์น้ำ ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่อง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตสัตว์ที่เลี้ยงโดยเฉพาะหลังจากที่มีฝนตกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำและสภาพน้ำเปลี่ยน อาจจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

  • นาข้าว ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้นสูง สำหรับนาข้าวที่กำลังออกรวงถึงใกล้เก็บเกี่ยว ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลง
  • ไม้ผล สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ควรระวังและป้องกัน การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะ โรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และตายได้ รวมทั้งควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเท ได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 8 - 11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกน้อยโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาค และช่วง 7 วันข้างหน้าแม้จะมีฝนแต่ปริมาณอาจไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรบริเวณดังกล่าวจึงควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกตามความเหมาะสม ส่วนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ระยะนี้ทางภาคไต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหยุดสลับกัน เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลควรระวัง และป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกิน ใบและยอดอ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต การผลิดอก ออกผลลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 8 - 12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 14 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงที่ผ่านมาบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกน้อยโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาค และช่วง 7 วันข้างหน้าแม้จะมีฝนแต่ปริมาณอาจไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรบริเวณดังกล่าวจึงควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกตามความเหมาะสม ส่วนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ยางพารา บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งจะทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจชักนำให้เกิดโรคพืชจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง

ออกประกาศ 08 กันยายน 2560 00:00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ