เอยูโพลล์: ดัชนีความเครียดของคนไทย

ข่าวผลสำรวจ Tuesday August 8, 2017 13:57 —เอแบคโพลล์

กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครเชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา

สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องดัชนีความเครียดของคนไทยกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,010 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1–31 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา พบว่า

ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 57.77 เป็นหญิง และร้อยละ 42.23 เป็นชาย เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า ร้อยละ 7.27 เป็นเจเนอเรชั่น Z (ตัวอย่างที่มีอายุ 15-18 ปี) ร้อยละ 11.75 เป็นเจเนอเรชั่น M (ตัวอย่างที่มีอายุ 19-24 ปี) ร้อยละ 21.42 เป็นเจเนอเรชั่น Y (ตัวอย่างที่มีอายุ 25-36 ปี) ร้อยละ 30.63 เป็นเจเนอเรชั่น X (ตัวอย่างที่มีอายุ 36-50 ปี) และร้อยละ 28.93 เป็นเจเนอเรชั่น B (ตัวอย่างที่มีอายุ 51-69 ปี) ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.70 สมรสแล้ว ร้อยละ 34.14 เป็นโสด และร้อยละ 9.16 เป็น หม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.63 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 36.72 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 7.65 ระดับสูงกว่า ปริญญาตรี ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.36 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 37.81 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 20.61 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 7.24 มีรายได้ 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.82 มีรายได้ 40,001-50,000 บาท และร้อยละ 2.16 มีรายได้สูงกว่า 50,000 บาท สำหรับอาชีพ พบว่า ร้อยละ 16.86 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 15.16 เป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 13.32 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 11.87 อาชีพรับราชการ ร้อยละ 9.78 อาชีพธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 9.73 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 7.58 อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.79 เป็นพ่อบ้านแม่บ้าน ร้อยละ 4.14 เกษียณอายุ และร้อยละ 6.77 ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น อาชีพเกษตรกรรม ว่างงาน พนักงานมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ผลสำรวจในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเบื่อหน่าย (ร้อยละ 78.40) ไม่มีความสุขเลย (ร้อยละ 72.94) รู้สึกหมดกำลังใจ (ร้อยละ 61.99) และไม่ อยากพบปะผู้คน (ร้อยละ 57.06) เป็นครั้งคราวถึงบ่อยๆ โดยในภาพรวมพบว่า ประชาชนมีความเครียดน้อยมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 คะแนนซึ่งเพิ่มขึ้นจากการ สำรวจเมื่อครั้งที่ผ่านมาในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2560 ที่มีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.26 คะแนนโดยเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียดมากที่สุด คือ เรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน(คะแนนความเครียด เฉลี่ยเท่ากับ 2.77) โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับราคาสินค้าแพง ปัญหาหนี้สิน/รายรับไม่พอกับรายจ่าย และสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นต้นรองลงมา คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม (คะแนนความเครียดเฉลี่ย เท่ากับ2.65 คะแนน) โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับปัญหาการจราจร/รถติด ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และสภาพแวดล้อม เช่น บ้าน ขยะ เสียงดัง น้ำเสีย เป็นต้น อีก 2 ด้านที่ประชาชนมี ความเครียดสูง คือ เรื่องการเรียน (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.63 คะแนน) โดยเฉพาะปัจจัยเกี่ยวกับผลการเรียน การศึกษาต่อ และเนื้อหาการเรียน เป็นต้น เรื่องการงาน (คะแนนความ เครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.63) โดยเฉพาะปัจจัยเกี่ยวกับปริมาณงานที่ทำ/ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ สวัสดิการและค่าตอบแทน และความมั่นคงในงานที่ทำ เป็นต้น

และผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนในต่างจังหวัดมีความเครียด (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 2.36 คะแนน) พอๆ กับประชาชนในกรุงเทพมหานคร (คะแนนความเครียดเฉลี่ย เท่ากับ 2.38 2.18 คะแนน) โดยประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความเครียดในเรื่องต่างๆ คือ มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่องการงาน และเรื่องการเรียน ตามลำดับ ส่วนประชาชนในต่างจังหวัดมีความเครียดในเรื่องต่างๆ คือ มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม และเรื่องการงานตามลำดับ รวมทั้งเมื่อ พิจารณาจากผลสำรวจในครั้งนี้ จะเห็นว่า ปัญหาที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความเครียด คือ ปัญหาสินค้าราคาแพงปัญหาหนี้สิน ปัญหาการแบ่งพรรคแบ่งพวก ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของนักการเมือง และปัญหาการจราจร ซึ่งเป็นปัญหาที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ประชาชนเกิดความเครียดต่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้น้อยลง

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความเครียดแต่ละเรื่องในกลุ่มประชาชนแต่ละวัย (Generation) พบว่า ประชาชนในกลุ่ม Gen B (อายุ 51-69 ปี) มีความเครียดมากที่สุด รองลงมา คือ Gen Y (อายุ 25-35 ปี) (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.43 และ 2.42 คะแนนตามลำดับ) ส่วนกลุ่มที่มีความเครียดน้อยที่สุด คือ ประชาชนในกลุ่ม Gen M(อายุ 19-24 ปี) (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 คะแนน) และเมื่อพิจารณารายละเอียดความเครียดในแต่ละเรื่องของกลุ่มประชาชนแต่ละวัย พบว่า

  • Gen Z (อายุ 15-18 ปี) มีความเครียดในเรื่องการเรียนมากที่สุด รองลงมาเครียดเรื่องตัวเอง และเครียดเรื่องสิ่งแวดล้อมตามลำดับ (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.99,
2.67 และ 2.59 คะแนนตามลำดับ)
  • Gen M (อายุ 19-24 ปี) มีความเครียดในเรื่องการงานมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องสิ่งแวดล้อม และเครียดเรื่องการเรียนตามลำดับ (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.71,
2.66 และ 2.61 คะแนนตามลำดับ)
  • Gen Y (อายุ 25-35 ปี) มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องสิ่งแวดล้อม และเรื่องการงานตามลำดับ (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.88,
2.76 และ 2.72 คะแนนตามลำดับ)
  • Gen X (อายุ 36-50 ปี) มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องสิ่งแวดล้อม และเรื่องการงานตามลำดับ (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.77,
2.58 และ 2.55 คะแนนตามลำดับ)
  • Gen B (อายุ 51-69 ปี) มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องสุขภาพ เรื่องตัวเอง และเรื่องสิ่งแวดล้อมตามลำดับ (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ
2.86, 2.69 และ 2.63 คะแนนตามลำดับ)

ส่วนวิธีปฏิบัติตนเพื่อแก้ปัญหาเมื่อตนเองรู้สึกเครียดในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องการเรียน และเรื่องการงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ มีความเครียด ในภาพรวมพบว่า เมื่อประชาชนรู้สึกเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินจะแก้ปัญหาความเครียดโดยการใช้จ่ายอย่างประหยัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำอาชีพเสริมทำงานให้มากขึ้น และหากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข หางานอดิเรกทำ เป็นต้น ในเรื่องสิ่งแวดล้อมจะแก้ปัญหาความเครียดโดยการปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสตินอนหลับพักผ่อน/พักผ่อนอยู่กับบ้าน และหา กิจกรรมทำแล้วมีความสุข หางานอดิเรกทำ เป็นต้น ส่วนในเรื่องการเรียนจะแก้ปัญหาโดยการตั้งใจเรียน/ขยันมากขึ้นหากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข หางานอดิเรกทำ และเรียนพิเศษเพิ่มเติม เป็นต้น สำหรับในเรื่องการงานจะแก้ปัญหาความเครียดโดยการหากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขหางานอดิเรกทำ ตั้งใจทำงานทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด/รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด และลาออก/หางานใหม่/ หางานอื่นทำ เป็นต้น

ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่   ความรู้สึก                    ระดับความรู้สึก                 รวมทั้งสิ้น
                          บ่อยๆ     เป็นครั้งคราว     ไม่รู้สึกเลย
1    ไม่มีความสุขเลย        19.95          52.99        27.06      100.00
2    รู้สึกเบื่อหน่าย          21.60          56.80        21.60      100.00
3    ไม่อยากพบปะผู้คน       27.06          30.00        42.94      100.00
4    รู้สึกหมดกำลังใจ        21.99          40.00        38.01      100.00
5    รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า     26.02          24.38        49.60      100.00

ตารางที่ 2          ค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุระดับความเครียดในแต่ละด้านจำแนกตาม Generation
ลำดับที่   ความเครียด                          Generation                       ภาพรวม
                          Gen Z     Gen M     Gen Y     Gen X     Gen B
1    เศรษฐกิจ/การเงิน        2.22      2.58      2.88      2.77      2.86       2.77
2    ครอบครัว               2.40      2.29      2.45      2.37      2.44       2.40
3    เพื่อน                  2.34      2.12      2.14      2.03      2.22       2.16
4    ความรัก (แฟน/คนรัก)     2.44      2.28      2.52      2.35      2.62       2.44
5    การงาน                   -      2.71      2.72      2.55      2.57       2.63
6    สุขภาพ                 2.11      2.30      2.35      2.33      2.69       2.47
7    การเรียน               2.99      2.61      2.23         -         -       2.63
8    การเมือง               2.00      2.16      2.25      2.17      2.29       2.21
9    สิ่งแวดล้อม              2.59      2.66      2.76      2.58      2.63       2.65
10   ตัวเอง                 2.67      2.44      2.45      2.41      2.69       2.51
        โดยภาพรวม          2.28      2.20      2.42      2.37      2.43       2.37

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุระดับความเครียดในแต่ละด้าน จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่   ความเครียด                  พื้นที่              ภาพรวม

กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด

1    เศรษฐกิจ/การเงิน           2.52         3.04       2.77
2    ครอบครัว                  2.24         2.59       2.40
3    เพื่อน                     2.09         2.19       2.16
4    ความรัก (แฟน/คนรัก)        2.27         2.53       2.44
5    การงาน                   2.51         2.77       2.63
6    สุขภาพ                    2.32         2.58       2.47
7    การเรียน                  2.48         2.76       2.63
8    การเมือง                  1.99         2.33       2.21
9    สิ่งแวดล้อม                 2.40         2.84       2.65
10   ตัวเอง                    2.34         2.58       2.51
        โดยภาพรวม             2.38         2.37       2.37

เอยูโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

โทร. 0-2723-2163-8

--เอยูโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ