เอยูโพล (AU POLL) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง
?GEN Z กับประสบการณ์โดนหลอก? จากนักศึกษาปริญญาตรีทั่วประเทศ จำนวน 890 คน เก็บข้อมูลระหว่าง กุมภาพันธ์ ? มีนาคม 2567
สมัครแอพพลิเคชั่น ซื้อของออนไลน์ หน่วยงานรัฐ ... ต้นเหตุข้อมูลรั่ว...
แหล่งข้อมูลที่มิจฉาชีพเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
o สมัครแอพพลิเคชั่นต่างๆ (56.4%)
o ซื้อของออนไลน์ (54.9%)
o หน่วยงานของรัฐ (51.9%)
o สถาบันการเงิน (34.6%)
o เกมออนไลน์ (26.3%)
o บริษัทประกัน (16.5%)
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ... ระบาดเมือง
รูปแบบที่ GEN Z เคยโดนมิจฉาชีพหลอก ได้แก่
o แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (ร้อยละ 58.0)
o ชวนทำงานหรือหารายได้พิเศษ เช่น การกดรับออเดอร์ กดไลค์ กดแชร์ กดหัวใจ (ร้อยละ 52.4)
o หลอกว่ามีของมาส่ง (ร้อยละ 52.1)
o ซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับของหรือได้ของไม่ตรงปก (ร้อยละ 26.3)
o โดนแฮ็กเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม ทวิตเตอร์ ไลน์ ฯลฯ (26.1%)
ความสะดวกสบายและเทคโนโลยีในปัจจุบันมาพร้อมกับการแอบแฝงอย่างแนบเนียนของเหล่ามิจฉาชีพในหลากหลายรูปแบบและพัฒนารูปแบบการหลอกลวงอย่างก้าวกระโดด ทำให้ประชาชนใช้ชีวิตยากลำบากมากขึ้น ซึ่งวิธีที่ยังคงนิยมของเหล่ามิจฉาชีพคือการอ้างตัวเป็นหน่วยงานต่างๆ แล้วติดต่อมาหลอกเพื่อจุดประสงค์บางประการ หรือชวนหารายได้พิเศษประเภทงานสบาย รายได้ดี และยังใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องรู้เท่าทันกลโกงต่างๆ พร้อมกับระมัดระวังตัวเองในการใช้ชีวิตมากขึ้นเพื่อให้รอดพ้นจากเหล่ามิจฉาชีพที่มีอยู่เกลื่อนเมือง
ที่มา: เอยูโพล