เอแบคโพลล์: เสียงสะท้อนคนติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทย กับ นายกอภิสิทธิ์ฯ

ข่าวผลสำรวจ Monday November 16, 2009 07:30 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการ สำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำ การสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่องเสียงสะท้อนคน ติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ฯ กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหา นคร เชียงใหม่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และสุราษฏ์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,101 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2552

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 ติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผ่านช่วงข่าว ภาคค่ำ ข่าวต้น ชั่วโมงทางโทรทัศน์ ในแต่ละอาทิตย์ที่ผ่านมา ร้อยละ 57.9 ติดตามผ่านรายการวิเคราะห์ข่าว ทางโทรทัศน์ ร้อยละ 32.1 ติดตามผ่านรายการข่าว ทางวิทยุ ร้อยละ 31.4 ติดตามทางหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น ร้อยละ 28.3 ติดตามรายการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เนต และร้อย ละ 22.7 ติดตามทางเว็บไซต์สำนักข่าวต่างๆ

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยหลังจากติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปรียบเทียบกับช่วง แรกๆ ของการจัดรายการ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.4 เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 36.6 เชื่อมั่นลดลง

เมื่อถามถึงความประทับใจต่อเรื่องที่นายกรัฐมนตรีพูดถึงเมื่อเช้าที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 ประทับใจเรื่องการปฏิรูป การรถไฟ รองลงมาคือร้อยละ 57.3 ประทับใจเรื่องท่าทีรัฐบาลต่อความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา ร้อยละ 55.2 ประทับใจการประชุมความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ที่ประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 50.1 ประทับใจการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาบตาพุด และร้อยละ 46.8 ประทับใจ เรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด

เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อบทบาทของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในสายตาของชาวต่างประเทศ พบว่าร้อยละ 54.7 ระบุดีขึ้น ร้อยละ 24.8 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 20.5 ระบุแย่ลง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 เป็นหญิง

ร้อยละ 48.2 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 25.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 74.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 25.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 14.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 8.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และว่างงาน

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทย กับนายกอภิสิทธิ์ ผ่านสื่อต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          สื่อที่ติดตาม                                           ค่าร้อยละ
1          ข่าวค่ำ ข่าวต้นชั่วโมง ทางโทรทัศน์                              60.8
2          รายการวิเคราะห์ข่าว ทางโทรทัศน์                              57.9
3          รายการข่าวทางวิทยุ                                         32.1
4          หนังสือพิมพ์                                                31.4
5          รายการถ่ายทอดสด ทางโทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เนต               28.3
6          เว็บไซต์สำนักข่าวต่างๆ                                       22.7

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเชื่อมั่นหลังจากติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทย กับนายกอภิสิทธิ์

เปรียบเทียบกับช่วงระยะแรกของการจัดรายการฯ

ลำดับที่          ความเชื่อมั่น                                          ค่าร้อยละ
1          เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น                                              63.4
2          เชื่อมั่นลดลง                                               36.6
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความประทับใจต่อเรื่องที่นายกรัฐมนตรีพูดถึงเมื่อเช้า (เฉพาะคนที่ติดตามชม)
ลำดับที่          ความประทับใจต่อเรื่องที่นายกรัฐมนตรีพูดถึงเมื่อเช้า                   ค่าร้อยละ
1          การปฏิรูปการรถไฟ                                                 60.8
2          ความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา                                         57.3
3          การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ที่ประเทศสิงคโปร์      55.2
4          กรณีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มาบตาพุด                                        50.1
5          การแก้ปัญหายาเสพติด                                               46.8

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อบทบาทของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในสายตาของชาวต่างประเทศ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                        ค่าร้อยละ
1          ดีขึ้น                                                   54.7
2          เหมือนเดิม                                              24.8
3          แย่ลง                                                  20.5
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ