ผลการศึกษาล่าสุดระบุมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกลดลงจาก 5.6% เป็น 1.36% หรือกว่า 3.2 ล้านล้านบาท

ข่าวต่างประเทศ Tuesday November 2, 2010 16:10 —Asianet Press Release

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--พีอาร์นิวสไวร์ - เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ มูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกในประเทศไทยยังคงสูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย-แปซิฟิก โดยอัตราการขโมยสินค้าในปี 2553 อยู่ที่ 1.57% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก 15% การใช้จ่ายในการป้องกันความสูญเสียที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกส่งผลให้อัตราการขโมยสินค้าลดลง ? ความเสียหายจากการขโมยสินค้าลดลง 6.5% ในเอเชีย-แปซิฟิก แต่เกือบ 1 ใน 4 ของร้านค้าปลีกในเอเชีย-แปซิฟิก และประเทศไทย ยังคงประสบปัญหาความพยายามที่จะขโมยสินค้าหรือการขโมยไปได้สำเร็จเพิ่มสูงขึ้น ? นมผงดัดแปลงสำหรับทารก และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/เหล้า มีสัดส่วนการถูกขโมยสูงสุดในร้านค้าปลีก ส่วนสินค้าแฟชั่น/เสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม เช่น ผลิตภัณฑ์โกนหนวด ลิปสติก และลิปมัน เป็นเป้าหมายหลักของพวกหัวขโมยในเอเชีย-แปซิฟิก การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก (The Global Retail Theft Barometer: GRTB) ฉบับที่ 4 ระบุว่า มูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลกในปี 2553 คิดเป็นเงิน 3.261 ล้านล้านบาท (1.073 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 5.6% จากปีก่อนหน้า (6.5% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ขณะที่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกที่สูงถึง 1.57% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากสถิติเดิมที่ 1.66% ในปี 2552 แต่ยังคงสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกถึง 35% (อ่านสรุปรายงานการศึกษาฯ ได้ที่ http://globalretailtheftbarometer.com/press ) (Video: http://www.prnasia.com/sa/2010/10/20101019063608.flv ) (Photo: http://www.prnasia.com/sa/2010/10/29/20101029590905.html ) (Photo: http://www.prnasia.com/sa/2010/10/29/20101029499945.html ) (Logo: http://www.prnasia.com/xprn/sa/200701241626.jpg ) การศึกษาครั้งนี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ (Checkpoint Systems, Inc.) ได้ติดตามสำรวจมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้า (ความสูญเสียจากการลักเล็กขโมยน้อย/อาชญากรรมที่กระทำโดยลูกจ้าง และความผิดพลาดด้านการจัดการ) ในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนมิถุนายน 2553 พบว่า อัตราการขโมยสินค้าลดลงในทุกภูมิภาคที่ได้ทำการสำรวจ โดยอเมริกาเหนือลดลงมากที่สุด ทั้งนี้ ร้านค้าปลีกทั่วโลกได้รายงานอัตราการขโมยสินค้าไปได้จริงหรือพยายามจะขโมยในปี 2553 ว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ 31.1% (23.1% ในเอเชีย-แปซิฟิก) “แม้ว่าอัตราการขโมยสินค้าจะลดลง แต่การโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทำให้ครัวเรือนใน 42 ประเทศและภูมิภาคที่ทำการสำรวจ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น 5,654 บาท (186 ดอลลาร์สหรัฐ)” ศจ.โจชัว แบมฟิลด์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการค้าปลีก (Centre for Retail Research) และผู้เขียนรายงานการศึกษาฉบับนี้ กล่าว “สำหรับในประเทศไทย ตัวเลขนี้อยู่ที่ 1,550 บาท (51 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่ำสุดเป็นอันดับสามในเอเชีย-แปซิฟิก” ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายเพื่อรักษาความปลอดภัยกับการลดลงของอัตราการขโมยสินค้า รายงานการศึกษาฉบับปี 2553 ระบุว่า บรรดาร้านค้าปลีกมีการใช้จ่ายเพื่อป้องกันความสูญเสียและการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับปี 2552 ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมทั่วโลก 8.15 แสนล้านบาท (2.68 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อป้องกันความสูญเสียในเอเชียเพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา “ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นกับอัตราการขโมยสินค้าที่ลดลง 5.6% นั้นมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง” ศจ. แบมฟิลด์ กล่าว “ตัวเลขนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของมาตรการการปรับปรุงและพัฒนาระบบป้องกันความสูญเสียที่ต่อเนื่อง เพราะการลดอัตราการขโมยสินค้าถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จและการเติบโตของธุรกิจค้าปลีก” “ในปี 2551 ในช่วงเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ร้านค้าปลีกมีแนวโน้มลดการใช้จ่ายเพื่อป้องกันความสูญเสีย” มร. ร็อบ แวน เดอ เมอร์วี ประธานและซีอีโอบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ แสดงความเห็น “แต่แนวโน้มดังกล่าวกลับนำไปสู่ความสูญเสียที่มากขึ้น และนั่นเป็นสิ่งที่เราพบในรายงานผลการศึกษาฉบับปี 2552 ไม่นานร้านค้าปลีกก็เล็งเห็นความจำเป็นที่จะปรับทิศทางและเริ่มลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด ซึ่งนำไปใช้งานได้ง่าย ทั้งยังให้อัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่สูง อย่างเช่น ระดับการป้องกันสินค้าที่มีแนวโน้มถูกขโมยสูงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีระบบการฝึกอบรมพนักงานและตรวจสินค้าในร้านได้มากขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลดีต่อธุรกิจในเวลาอันสั้นและช่วยลดความสูญเสียจากการขโมยสินค้า” เขากล่าวต่อไปว่า “ขณะที่เรากำลังฟื้นจากภาวะถดถอยไปอย่างช้าๆ อาจเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะต่อกรกับความสูญเสียจากการขโมยสินค้าด้วยวิธีการป้องกันที่ครอบคลุมกว่าเดิม และถึงเวลาแล้วที่จะต้องหาเทคโนโลยีที่ทำงานผสานกันได้อย่างลงตัว เพื่อนำพาร้านค้าปลีกฟันฝ่าอุปสรรคไปสู่การเติบโตในอนาคต ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดอย่างระบบ EAS และ RFID มาใช้เพื่อช่วยให้สามารถตรวจติดตามและมองเห็นสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั่วทั้งซัพพลายเชน ซึ่งจะนำไปสู่การลดปริมาณสินค้าขาดตลาดและยอดขายที่เพิ่มขึ้น” อัตราการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก ในช่วงที่ทำการศึกษา การขโมยสินค้าทำให้ร้านค้าปลีกได้รับความเสียหายเป็นเงินถึง 3.261 ล้านล้านบาท (1.073 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือคิดเป็น 1.36% ยอดค้าปลีกโดยรวมทั่วโลก ซึ่งลดลงจาก 1.43% ในปีที่ผ่านมา ประเทศ/ภูมิภาคที่มีอัตราการขโมยสินค้าสูงสุดเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย คือ อินเดีย (2.72% ของยอดค้าปลีก) ส่วนประเทศที่มีอัตราการขโมยสินค้าต่ำสุด คือ ไต้หวัน (0.87%) สำหรับประเทศไทย มีอัตราการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกสูงเป็นอันดับสองในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ 1.57% ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งเอเชีย-แปซิฟิกอย่างน้อย 35% (อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 1.16%) และสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลก 15% สินค้าที่มีแนวโน้มถูกขโมยมากขึ้น นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราการขโมยสินค้าในภาพรวมจะลดลง แต่สินค้าบางรายการที่มักถูกขโมยไปมากที่สุดกลับมีแนวโน้มจะถูกขโมยมากขึ้นอีก ซึ่งได้แก่ เสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าสำหรับใส่ชั้นนอก (เช่น หมวก ถุงมือ เสื้อโค้ท) ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวด เนื้อสัตว์พร้อมปรุงราคาแพง และนมผงดัดแปลงสำหรับทารก การขโมยสินค้าในตลาดแนวดิ่ง (Vertical Market) ทั่วโลก การขโมยสินค้าจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ ตลาดแนวดิ่ง และประเทศ ในปี 2553 การขโมยสินค้าพบมากสุดในร้านขายเสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น/เครื่องประดับ (1.72%) และร้านขายเครื่องสำอาง/น้ำหอม/ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ/ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม/ร้านขายยา (1.70%) ที่มาของความสูญเสียจากการขโมยสินค้า การขโมยสินค้าโดยลูกค้าของร้าน ซึ่งรวมถึงการลักเล็กขโมยน้อยและอาชญากรรมในร้านค้าปลีกที่มีการเตรียมการไว้ก่อน สร้างมูลค่าความเสียหายสูงสุดในเกือบทุกประเทศ โดยคิดเป็น 42.4% ของอัตราการขโมยสินค้า ตามด้วยการขโมยสินค้าโดยพนักงานเอง 35.3% “แม้ว่าบรรดาร้านค้าปลีกมีความก้าวหน้าอย่างมากในการหามาตรการใหม่ๆ มาจัดการกับปัญหาการขโมยสินค้า กว่า 25% ของหมวดสินค้าในร้านค้าปลีกที่มักถูกขโมย ’50 อันดับแรก’ ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่ชัด” นายแวน เดอ เมอร์วี กล่าว “ดังนั้น กลุ่มธุรกิจค้าปลีกจำเป็นต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อช่วยปกป้องร้านค้าปลีกและลูกค้า” ตัวเลขที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายจากการขโมยสินค้าในเอเชีย-แปซิฟิกและประเทศไทย การใช้จ่ายเพื่อป้องกันความสูญเสียในประเทศไทย (0.13% ของยอดขาย) อยู่ในอันดับต่ำสุดในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (0.19%) และค่าเฉลี่ยทั่วโลก (0.34%) อยู่มาก ตัวเลขนี้อาจเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยหลักที่ทำให้ความสูญเสียจากการขโมยสินค้าในประเทศนี้สูงเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของโลก การลักเล็กขโมยน้อย ? ร้านค้าปลีกในประเทศไทยได้รับความเสียหายจากการลักเล็กขโมยน้อยคิดเป็น 48.9% รวมเป็นมูลค่าความเสียหายต่อปีสูงถึง 1.49 หมื่นล้านบาท (491 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ? อัตราเฉลี่ยสูงสุดของความเสียหายจากการขโมยสินค้ามักพบในร้านขาย เสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น/เครื่องประดับ (1.72%) และร้านขายเครื่องสำอาง/น้ำหอม/ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ/ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม/ร้านขายยา (1.71%) การขโมยโดยพนักงาน ? แหล่งที่มาของความเสียหายจากการขโมยสินค้าสูงเป็นอันดับสอง คือ การขโมยสินค้าโดยพนักงาน ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 23.4% เกี่ยวกับผลสำรวจ การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก (GRTB) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2544 ในยุโรปและขยายไปทั่วโลกในปี 2550 เป็นการสำรวจประจำปีซึ่งจัดทำขึ้นโดยศูนย์วิจัยการค้าปลีกในเมืองนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร และได้รับทุนสนับสนุนจาก เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ ปัจจุบัน GRTB เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการขโมยสินค้าและก่ออาชญากรรมในร้านค้าปลีกที่มีขอบเขตกว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุดในโลก โดยมีเนื้อหาครอบคลุมแนวโน้มสำคัญๆ ด้านการขโมยสินค้าและก่ออาชญากรรมในร้านค้าปลีกใน 42 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และรัสเซีย (เริ่มศึกษาปีนี้เป็นปีแรก) รายงานฉบับนี้สรุปจากข้อมูลที่เป็นความลับที่ได้จากธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ 1,103 ราย ซึ่งมีจำนวนร้านค้าปลีกรวมกัน 233,721 ร้าน ยอดขายรวมกัน 26.56 ล้านล้านบาท (8.738 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เกี่ยวกับศูนย์วิจัยการค้าปลีก การศึกษาระดับการโจรกรรมในธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกฉบับที่ 4 (ฉบับที่ 10 สำหรับยุโรป) จัดทำขึ้นโดยศจ.โจชัว แบมฟิลด์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการค้าปลีก (http://www.retailresearch.org) โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ โดยศูนย์วิจัยดังกล่าวเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินการวิจัยและให้คำปรึกษากับภาคธุรกิจค้าปลีกที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของธุรกิจค้าปลีก รวมถึงการโจรกรรมและยักยอกสินค้า ทางศูนย์วิจัยได้ขยายการศึกษาด้านค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันการโจรกรรม รวมถึงการใช้ประโยชน์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการโจรกรรมและการยักยอกสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก เกี่ยวกับเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ เป็นผู้นำด้านการจัดหาโซลูชั่นระบบป้องกันสินค้าสูญหาย การมองเห็นสินค้า การติดป้ายสินค้า ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและซัพพลายเออร์ของบริษัทลดอัตราการสูญหายของสินค้า ปรับปรุงชั้นสินค้าที่มีอยู่ และจัดหาข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อให้การบริการที่เป็นเลิศ โซลูชั่นของเช็คพอยท์ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี RF มาเป็นเวลากว่า 40 ปี ตลอดจนการนำเสนอบริการป้องกันสินค้าสูญหาย โซลูชั่นการติดป้ายสินค้าที่ครอบคลุม แอพพลิเคชั่น RFID ระดับชั้นนำของตลาด โซลูชั่นป้องกันการโจรกรรม และแพลทฟอร์มการบริหารข้อมูลผ่านเว็บ Check-Net ด้วยเหตุนี้ ลูกค้าของเช็คพอยท์จึงสามารถพีงพอใจได้กับยอดขายและกำไรที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงประสิทธิภาพซัพพลายเชน รวามถึงการพิมพ์ฉลากสินค้าตามความต้องการและจากการจัดหาสภาพแวดล้อมด้านการค้าขายแบบเปิดที่ปลอดภัยซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์ในการช็อปปิ้งของผู้บริโภค ทั้งนี้ เช็คพอยท์จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE: CKP) บริษัทดำเนินงานในตลาดหลักๆ ของโลกและมีพนักงาน 5,700 คนทั่วโลกสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.checkpointsystems.com ติดต่อ: นาตาลี ชาน (Natalie Chan) เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ โทรศัพท์: +852-2995-8350 อีเมล: natalie.chan@checkpt.com แหล่งข่าว: เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ