ผลสำรวจเผย 1 ใน 5 ของผู้ป่วยเบาหวานหยุดงานสูงสุด 15 ชั่วโมงต่อเดือน จากสาเหตุภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ข่าวต่างประเทศ Tuesday June 7, 2011 12:29 —Asianet Press Release

โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก--7 มิ.ย.--พีอาร์นิวสไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ เกือบ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถอยู่ทำงานเต็มวันได้ตามปกติ เนื่องจากต้องลาหยุดเพราะมีภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมาอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย หรือที่รู้จักกันว่า hypoglycaemic event ผลสำรวจฉบับใหม่ซึ่งชูประเด็นการสูญเสียผลิตภาพอันเนื่องมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Value in Health ในวันนี้ โดยผลสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1 และประเภท 2 จำนวน 1,404 คนในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส ที่มีประวัติภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในเดือนก่อนหน้านี้ (โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20110414/NY80976LOGO ) สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการสำรวจ - การสูญเสียผลิตภาพในที่ทำงานโดยเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนอันเนื่องมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืนนั้นอยู่ที่ 14.7 ชั่วโมงสำหรับผู้ที่ขาดงาน ตัวเลขดังกล่าวเทียบเท่ามูลค่าเงินดอลลาร์ที่ 2,294 ดอลลาร์สำหรับการสูญเสียผลิตภาพต่อคนต่อปี* - ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ทำให้ 1 ใน 5 (22.7%) ของผู้ป่วยเข้างานสายหรือทำงานได้ไม่เต็มวัน จากผลของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในตอนกลางคืน สำหรับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดในระหว่างชั่วโมงทำงานมีผลให้ 18.3% ของผู้ป่วยต้องเลิกงานก่อนเวลา หรือทำงานได้ไม่เต็มวัน “ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายคนต้องต่อสู้กับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่เสมอ” ดร.เมอริล บรอด (Dr. Meryl Brod) หัวหน้านักวิจัยและนักจิตวิทยาสุขภาพกล่าว “ภาวะเช่นนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความจำเป็นในการสังเกตระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองด้วย นอกจากนี้ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะหลับเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน” ผลสำรวจเผยให้เห็นด้วยว่าผู้ป่วยได้รับการทดสอบระดับกลูโคสในเลือดเป็นพิเศษ 5.6 ครั้งเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดใน 7 วันถัดไปหลังมีอาการ และ 24.9% ได้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ (ทั้งแพทย์ที่ดูแลสุขภาพเบื้องต้น โรงพยาบาล คลินิกโรคเบาหวาน หรือเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพอื่นๆ) หลังมีอาการ ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินนั้น 25% รายงานว่าระดับอินซูลินของพวกเขาลดลงหลังแสดงอาการ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องส่งผลดีระยะยาวต่อผู้ป่วยเบาหวานในแง่ของการลดภาวะแทรกซ้อน สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้น มักมีอาการหัวใจเต้นแรง สั่น หิว เหงื่อออก ไม่มีสมาธิ หรือสับสน ผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาด้วยอินซูลินจะมีอาการ 1-3 ลักษณะนี้ในเวลา 1 เดือน สามารถติดตามผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ได้ในวารสาร Value in Health ฉบับเดือนกรกฎาคมและในรูปแบบออนไลน์ที่ http://www.valueinhealthjournal.com/ การศึกษาได้รับการสนับสนุนโดยโนโว นอร์ดิสค์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเบาหวาน - ในประชากร 1 รุ่น การแพร่ระบาดของโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 6 เท่าทั่วโลก ตัวเลขคาดการณ์แสดงให้เห็นว่ามีประชากร 285 ล้านคนเป็นโรคเบาหวานในปีพ.ศ. 2553 และคาดว่าโรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประชากร 438 ล้านคนภายในปีพ.ศ.2573 - กว่า 50% ของผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้ตัวว่าพวกเขามีอาการของโรคเบาหวาน - โรคเบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรเกือบ 4 ล้านคนทั่วโลก หรือเกือบ 7% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกทั้งหมดในปีพ.ศ.2553 ซึ่งเพิ่มขึ้น 5.5% จากตัวเลขในปีพ.ศ.2550 โรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 4 ของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคทั่วโลก - ในปีพ.ศ.2553 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคเบาหวานทั่วโลกมีมูลค่ารวมอย่างน้อย 3.76 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าตัวเลขนี้จะพุ่งเกิน 4.90 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปีพ.ศ.2573 โนโว นอร์ดิสค์ เป็นบริษัทด้านการดูแลสุขภาพระดับโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศเดนมาร์ก บริษัทเป็นผู้พัฒนานวัตกรรมและเป็นผู้นำด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานมาเป็นเวลา 87 ปี นอกจากนี้ บริษัทยังนำเสนอผลิตภัณฑ์ในการห้ามเลือด การรักษาด้วยฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือ Growth Hormone และการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ novonordisk.com [*ตัวเลขนี้เป็นยอดรวมและไม่สามารถใช้อธิบายความแตกต่างในการเบิกจ่ายค่ารักษาที่อาจมีอยู่ในแต่ละประเทศ] (c) 2011 Novo Nordisk 144108 June 2011 แหล่งข่าว: โนโว นอร์ดิสค์ ติดต่อ: สื่อมวลชน: นอกอเมริกาเหนือ Mette Kruse Danielsen โทร (+45) 44423883 อีเมล mkd@novonordisk.com ในอเมริกาเหนือ Ambre Morley โทร (+1) 609 987 5898 อีเมล abmo@novonordisk.com นักลงทุน: นอกอเมริกาเหนือ Klaus Bulow Davidsen โทร (+45) 4442 3176 อีเมล klda@novonordisk.com AsiaNet 44927 -- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
แท็ก วารสาร  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ