แนวโน้มการลงทุนในปี 2558 ของ UBP เน้นการสร้างความแตกต่าง

ข่าวต่างประเทศ Wednesday November 19, 2014 17:01 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

เจนีวา--19 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ เนื่องจากยุโรปไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการฟื้นฟูอย่างที่ได้มีการคาดหวังไว้ในปี 2557 ในขณะที่พันธบัตรระยะยาวให้ผลตอบแทนสูง แต่หลักทรัพย์ในยุโรปกลับให้ผลตอบแทนต่ำ “สหรัฐบริหารเศรษฐกิจด้วยความใส่ใจเป็นพิเศษ แต่ประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆไม่ได้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกับสหรัฐ และเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากการชะลอตัว และพบว่าประเทศของตนเองกำลังถูกมองข้าม” ปาทริซ เกาทรี (Patrice Gautry) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ UBP กล่าว นี่ถือเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและสหรัฐมีความแตกต่างกันมากขึ้น โดยสหรัฐสามารถดูแลกลไกเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม ซึ่งส่งผลให้เกิดความแตกต่างมากยิ่งขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพการขยายตัวที่สูงขึ้นในช่วงหลังวิกฤต เศรษฐกิจยุโรปกลับจะชะลอตัวลงอีกครั้ง นอกจากนี้ หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐยกเลิกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณไปเมื่อเร็วๆนี้ และเริ่มพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2558 ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัดฉีดสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่า แนวโน้มผลตอบแทนของสหรัฐจะยังคงให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าแนวโน้มผลตอบแทนในยุโรปและญี่ปุ่น ความคล้ายคลึงกับอดีต “สถานการณ์ทางการเงินและนโยบายเงินตราในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2537-2543” ฌอง-ซิลเวน แปร์ริก (Jean-Sylvain Perrig) ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน (CIO) ของ UBP กล่าว ถึงแม้ว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบันจะอ่อนแรงลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยมีการคาดการณ์เกี่ยวกับผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่า แต่ก็ดูเหมือนว่าจะมีความแตกต่างกันอีกครั้ง โดยสหรัฐได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2537 ในขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เช่นเดียวกับเยอรมนีซึ่งรวมตัวกันเมื่อไม่นานมานี้ ช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดคลื่นแห่งนวัตกรรมจากการเริ่มเข้ามามีบทบาทของอินเทอร์เน็ต ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ร่วงลง ส่วนปริมาณเงินออมที่สูงเกินไปในเอเชียก็กำลังมองหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนด้วยการนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินในสหรัฐ ปัจจุบัน เศรษฐกิจเยอรมนียังคงชะลอตัวและยุโรปกำลังได้รับผลกระทบจากกำลังการผลิตที่สูงเกินไป ความเชื่อมั่นในภูมิภาคยังไม่ฟื้นตัวและมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันจากความต้องการปฏิรูปโครงสร้างและเพิ่มความร่วมมือในเรื่องนโยบายงบประมาณและนโยบายการเงิน อีซีบีอาจจะเดินหน้าสนับสนุนภาคธนาคารและอัดฉีดสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่มีอะไรที่ธนาคารจะสามารถทำได้มากไปกว่านั้น “มีความเป็นไปได้ที่องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ยกเว้นสหรัฐ จะยังติดอยู่ในวัฏจักรของการฟื้นตัว วิกฤต และภาวะชะงักงัน โดยมองไม่เห็นโอกาสของการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ” เกาทรีกล่าวเสริม เลือกลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2558 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่มั่นคง “ผิดไปจากความเชื่อที่ว่า การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์จะผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ ข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ทั้งสองเรื่องไม่มีความเกี่ยวโยงกัน” แปร์ริกกล่าว ตลาดหลักทรัพย์สหรัฐมีแนวโน้มที่ดี ดังนั้นจึงน่าจะมีผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการขยายตัวที่ยั่งยืน ซึ่งมีแนวโน้มจะอยู่ที่ประมาณ 3% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ที่ระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และมีการซื้อหุ้นคืนเป็นจำนวนมาก “ควรจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเทคโนโลยี ซึ่งเรามองว่ามีรายได้และศักยภาพด้านการเติบโตที่สูงที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล่านี้มีค่าพรีเมียมเพิ่มขึ้นสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ” แปร์ริกกล่าวย้ำ ในทางตรงกันข้าม ตลาดหลักทรัพย์ยุโรปกลับน่าสนใจลดลง ในขณะที่มีการคาดการณ์เกี่ยวกับรายได้ในระดับสูงและจำเป็นต้องปรับลดการคาดการณ์ลง บริษัทต่างๆในประเทศตลาดเกิดใหม่โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มว่า จะมีศักยภาพในการทำกำไรที่น้อยลง สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และมูลค่าหลักทรัพย์ไม่น่าดึงดูดใจ เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับยอดหนี้สินและศักยภาพด้านการผลิตที่สูงเกินไปในทั้งยุโรปและญี่ปุ่น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งหมายความว่า ต้องเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง “ช่วงเวลาต่อไปนี้ น่าจะเป็นช่วงที่ดีขึ้น แต่ก็มีความผันผวนมากกว่าในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา” แปร์ริกกล่าวสรุป เกี่ยวกับ Union Bancaire Privee (UBP) UBP เป็นธนาคารเอกชนระดับแนวหน้าของสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นธนาคารที่มีเงินทุนมั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ด้วยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 28% ธนาคารมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารความมั่งคั่งทั้งสำหรับลูกค้าเอกชนและลูกค้าสถาบัน ธนาคารมีสำนักงานใหญ่ในนครเจนีวา และมีพนักงานราว 1,350 คนปฏิบัติงานในสาขาต่างๆราว 20 สาขาทั่วโลก ทั้งนี้ ธนาคารมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 9.5 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (7.8 หมื่นล้านยูโร) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2556 http://www.ubp.com http://www.ubpperform.com ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: Jerome Koechlin หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร.: +41-58-819-26-40 อีเมล: jko@ubp.ch แหล่งข่าว: UBP - Union Bancaire Privee
แท็ก ยุโรป   สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ