ASIANET: ผลศึกษาพบ venlafaxine รักษาโรคซึมเศร้าดีกว่า SSRIs

ข่าวต่างประเทศ Thursday March 1, 2001 20:01 —Asianet Press Release

พิทส์เบิร์ก--1 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท
ผลการศึกษาครั้งใหม่ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวันนี้ในวารสาร British Journal of Psychiatry แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการรักษาด้วยสาร venlafaxine (Effexor(R)) หรือ venlafaxine extended-release capsules (Effexor XR(R)) สามารถหายจากอาการซึมเศร้าได้เป็นจำนวนสูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) หรือผู้ป่วยที่ได้รับ placebo(1) (สารที่ไม่มีฤทธิ์ทางยาแต่ให้ผู้ป่วยทานแทนยา) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นหลักฐานอย่างต่อเนื่องว่าอัตรา remission rate (อัตราการทุเลาจากโรค) โดยใช้ venlafaxine อยู่ในระดับสูงกว่าอัตรา remission rate โดยใช้ SSRIs ราว 10 % หรือหากจะเปรียบเทียบกันระหว่างสาร 2 อย่างนี้ ก็สามารถกล่าวได้ว่าความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยจะหายจากอาการดังกล่าวเพิ่มขึ้น 30 % หากใช้ venlafaxine เมื่อเทียบกับ SSRIs ทั้งนี้ เป็นที่เชื่อกันว่าความแตกต่างดังกล่าวเกิดจากการที่ venlafaxine เป็นทั้ง selective serotonin และ nonrepinephrine reuptake inhibitor ซึ่งอาจส่งผลในการรักษา 2 รูปแบบ
โดยปกติแล้วยาต้านอาการซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีระดับความสามารถในการลดอาการซึมเศร้าลง 50 % ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานนี้ใช้ในการตัดสินว่ายาใดควรได้รับการอนุมัติโดยหน่วยงานควบคุมเช่นองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA)(2) การวัดประสิทธิภาพของยาโดยใช้มาตรฐานที่สูงยิ่งขึ้นมีชื่อเรียกว่า "remission" ซึ่งเป็นการกำจัดอาการซึมเศร้าไปจนเกือบหมดทุกอาการ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ full remission จะมีความเป็นไปได้น้อยมากที่อาการจะกำเริบขึ้นมาอีก(3) และจะกลับมาทำงานในสังคมด้วยสภาพจิตปกติได้อย่างสมบูรณ์(4) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ป่วยดังกล่าวสามารถกลับมาทำกิจกรรมที่เคยทำก่อนเริ่มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
Michael E. Thase แพทย์และอาจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัย University of Pittsburgh School of Medicine และผู้นำในการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า "สำหรับผู้คนหลายล้านคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมาก เมื่อคำนึงว่าโรคซึมเศร้าเป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากทั่วโลกและสาเหตุของโรคดังกล่าวก็มีอยู่มากมาย ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการใช้สารตัวนี้บ่งชี้ว่าเรื่องนี้อาจก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางการแพทย์ได้อย่างมหาศาล ผลการศึกษาครั้งนี้คือหลักฐานที่แข็งแกร่งที่สุดที่แสดงให้เห็นว่ายาต้านอาการซึมเศร้าทุกตัวไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน"
ข้อมูลใหม่ดังกล่าวได้มาจากการทำการทดสอบ double-blind 8 ครั้ง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบอัตรา remission rates ของผู้ป่วย 2,045 คนที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงและได้รับการรักษาด้วย venlafaxine หรือ venlafaxine extended-release capsules, SSRI หรือ placebo ทั้งนี้ ในการศึกษาดังกล่าว อัตรา remission rates ของผู้ป่วยที่ได้รับ venlafaxine โดยรวมอยู่ที่ระดับ 45 % เทียบกับระดับ 35 % ของผู้ป่วยที่ได้รับ SSRIs และ 25 % ของผู้ป่วยที่ได้รับ placebo
Sheila Singleton ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากล่าวว่า "ฉันป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามานานหลายปีและเคยใช้ยาต้านอาการซึมเศร้ามาแล้วหลายตัวแต่ไม่ประสบผล แต่ Effexor XR คือยาที่ช่วยชีวิตฉันไว้และทำให้ฉันหายขาดจากโรคเศร้าซึม ฉันรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ยินผลการศึกษานี้และบางทีผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นจากการใช้ยาอื่นๆอาจได้รับการรักษาที่ดีกว่าเดิมและอย่างน้อยผลการศึกษานี้ได้ให้ความหวังแก่ผู้ป่วยว่าพวกเขายังมีโอกาสที่จะมีชีวิตที่มีความสุขขึ้นและสามารถทำงานได้มากขึ้น"
ในฐานะที่ venlafaxine เป็น selective serotonin และ nonrepinephrine reuptake inhibitor ดังนั้น venlafaxine จึงส่งผลต่อทั้ง serotonin และ nonrepinephrine neurotransmitters พร้อมกัน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าและอาการวิตกกังวล(5,6) ยา extended-release formulation of venlafaxine (Effexor XR(R)) คือยาต้านอาการซึมเศร้าชนิดแรกและชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองจาก FDA และประเทศ 33 ประเทศทั่วโลกให้ใช้ในการรักษาอาการเศร้าซึมและโรค generalized anxiety disorder (GAD) ซึ่งเป็นโรควิตกกังวลที่พบบ่อยที่สุด โดย GAD คือโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรงและเรื้อรังและมีอาการเครียดติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่ง Effexor XR จะมีความสามารถในการทำงานระยะยาวเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรค GAD และโรคซึมเศร้า โดยยาตัวนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังช่วยให้โรคดังกล่าวไม่กำเริบขึ้นมาอีกในระยะยาวด้วย
ผลการศึกษา
remission คือการที่ผู้ป่วยหายจากอาการซึมเศร้าและกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติอย่างมีความสุขได้อีก ในการศึกษาอาการซึมเศร้านั้นภาวะ remission คือภาวะที่ค่า Hamilton Rating Scale for Depression (HAM-D) อยู่ในระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 จากค่าเต็ม 17
ได้มีการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา double-blind แบบสุ่ม 8 ครั้งเข้าด้วยกันเพื่อเปรียบเทียบอัตรา remission rates ของผู้ป่วย 3 กลุ่ม ซึ่งได้แก่กลุ่มผู้ป่วย 851 คนที่มีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงและได้รับการรักษาด้วย venlafaxine หรือ venlafaxine extended-release, กลุ่มผู้ป่วย 748 คนที่ได้รับการรักษาด้วย SSRIs (Prozac(R)(fluoxetine), Paxil(R)(paroxetine) และ Luvox(R)(fluvoxamine) และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ป่วย 446 คนที่ได้รับ placebo (จากการศึกษา 4 ครั้ง) เป็นระยะเวลาราว 8 สัปดาห์
มีความแตกต่างอย่างเด่นชัดในอัตรา remission rates ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ venlafaxine และผู้ป่วยที่ได้รับ SSRI หรือ placebo โดยความแตกต่างอย่างเด่นชัดระหว่าง venlafaxine กับ SSRIs เริ่มปรากฏขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 ในขณะที่ความแตกต่างระหว่าง SSRIs กับ placebo เริ่มปรากฏชัดในสัปดาห์ที่ 4 ซึ่งผลการวิเคราะห์ต่อมายืนยันว่าผลการค้นพบดังกล่าวไม่ได้ปรากฏขึ้นในการศึกษาครั้งนี้เพียงครั้งเดียว และยืนยันว่าผลการค้นพบนี้เป็นจริงถึงแม้คำจำกัดความของคำว่า remission แตกต่างออกไป
Dr. Thase กล่าวว่า "ผมเชื่อว่ากลไกการรักษา 2 ทางของ venlafaxine ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งก็คือการที่ผู้ป่วยได้เข้าสู่ภาวะ remission และเท่ากับว่าผู้ป่วยมีโอกาสสูงยิ่งขึ้นที่จะหายจากโรคในระยาว"
อาการซึมเศร้า
โรค Major depressive disorders ซึ่งรวมถึงอาการซึมเศร้า คือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนราว 340 ล้านคนทั่วโลก(7) องค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่งสรุปว่าโรคซึมเศร้าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และถ้าไม่ได้รับการรักษา ผลกระทบจากโรคดังกล่าวอาจอยู่ในระดับร้ายแรงมาก โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหมดแรงและขาดแรงจูงใจที่จะประกอบกิจวัตรประจำวันและในบางกรณีอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย อาการของโรคนี้รวมถึงความรู้สึกเศร้าสร้อยหรือว่างเปล่า, ขาดความสนใจและความพึงพอใจในเกือบทุกกิจกรรม, รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ทั้งนี้ นอกจากโรคซึมเศร้าจะสร้างความเสียหายในระดับบุคคลแล้ว โรคนี้ยังสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีในสหรัฐเนื่องจากทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร, ประสิทธิภาพทางการผลิตลดลง และอัตราการขาดงานเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย University of Pittsburgh School of Medicine จัดอยู่ในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศ โดยเป็น 1 ใน Schools of the Health Sciences ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย schools of Nursing, Dental, Pharmacy, Health and Rehabilitation Sciences และ Graduate School of Public Health
ภารกิจร่วมกันของทางสถาบันคือการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชีวภาพในอนาคต, ดำเนินการวิจัยบุกเบิกที่จะเสริมสร้างความเข้าใจในสาเหตุและการรักษาโรค รวมทั้งมีส่วนร่วมในการให้การดูแลรักษาในฐานะหุ้นส่วนของระบบ Health System ของ UPMC ซึ่งทางสถาบันและโครงการได้รับการยอมรับในระดับสากลในด้านต่างๆ อาทิ จิตวิทยา, พันธุกรรม, การปลูกถ่ายอวัยวะ และสาธารณสุข
หนังสืออ้างอิง
(1) "Remission Rates During Treatment with Venlafaxine or SSRIs" abstract, Thase et al.
(2) Thase ME, Entsuah AH, Rudolph RI. "Br J Psych."Remission Rates During Treatment with Venlafaxine or SSRIs". In Press.
(3) Judd LL, Akiskal HS, Paulus MP. "J Affect Disorder." The role and clinical significance of subsyndromal depressive symtoms (SSD) in unipolar major depressive disorder. 1997;45:5-18.
(4) Sulser F.J "Clin Psychiatry" Serotonin-norepinephrine receptor interactions in the brain: implications for the pharmacology and pathophysiology of affective disorders. 1999;60;213-214.
(5) Dubovsky SL."J Clin Psych." Beyond the Serotonin Reuptake Inhibitors: Rationales for the Development of New Sero-tonergic Agents. 1994
(6) Brunello N, Racagni G."Human Psychopharmacology." Rationale for the Development of Noradrenaline Reuptake Inhibi-tors. 1998.
(7) World Health Organization. The Newly Defined Burden of Mental Problems. WHO website: http://www.who.int/inf-fs/en/fact217.html. Accessed September, 2000.
* HAM-D เป็นการวัดค่าทางจิตเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการซึมเศร้าเพื่อตัดสินถึงความมีประสิทธิภาพในการรักษา
แหล่งข่าว : University of Pittsburgh School of Medicine
ติดต่อ : เครก ดันฮอฟฟ์ จากฝ่ายข่าวของ UPMC, 412-624-2607, dunhoffcc@msx.upmc.edu; หรือสตีเฟน คูเปอร์จากฝ่ายประชาสัมพันธ์เอเดลแมน, 212-704-8242, steven.cooper@edelman.com --จบ--
--แปลและเรียบเรียงโดย-จพ/กก--

แท็ก AsiaNet   วารสาร   asian  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ