“เสี่ยวซาน” จากเขตเศรษฐกิจชั้นนำของจีน สู่เขตเมืองระดับโลก

ข่าวต่างประเทศ Wednesday November 22, 2017 14:46 —Asianet Press Release

หางโจว, จีน--22 พ.ย.--ซินหัว-เอเชียเน็ท/อินโฟเควท์ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เขตเสี่ยวซาน ในนครหางโจว ซึ่งเป็นเขตเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดในภาคตะวันออกของจีน ได้จัดงานรวมญาติครั้งพิเศษขึ้น โดยชาวเสี่ยวซานกว่า 800 คนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในระดับประเทศและระดับโลก ได้เดินทางกลับมาบ้านเกิดเพื่อเข้าร่วมงานตามคำเชิญของรัฐบาลท้องถิ่นเขตเสี่ยวซาน เขตเสี่ยวซานซึ่งเป็นศูนย์รวมของนักธุรกิจและนักปฏิรูป ได้ใช้เวลาเกือบ 40 ปีในการพัฒนาจากเขตเศรษฐกิจชั้นนำจนกลายเป็นเขตเมืองระดับโลกที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง เขตเสี่ยวซานอันทันสมัยตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำเฉียนถัง และเป็นที่ตั้งของสถานที่หลักที่ใช้จัดการประชุมสุดยอด G20 นครหางโจว เขตเสี่ยวซานมีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังครองตำแหน่งจุดหมายปลายทางการลงทุนที่ดีที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่หลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่ที่ทางการจีนได้ปฏิรูปและเปิดประเทศ ชาวเสี่ยวซานก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ หลู่ ก้วนฉิว มหาเศรษฐีชาวจีนผู้ล่วงลับ ก็เป็นคนเสี่ยวซาน เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น "เจ้าพ่อ" ของบริษัทเอกชนจีน ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 เขาได้ก่อตั้งบริษัท วั่นเซียง กรุ๊ป ซึ่งต่อมากลายเป็นบริษัท OEM แห่งแรกในจีนที่ผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ให้แก่บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส นอกจากนี้ บริษัทสาขาในสหรัฐอเมริกายังดำเนินธุรกิจใน 26 รัฐ และสร้างงานกว่า 8,000 ตำแหน่งในอเมริกา จนกระทั่งรัฐอิลลินอยส์กำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวัน "วั่นเซียง" เพื่อรำลึกถึงสิ่งดีๆที่บริษัทได้ทำให้กับรัฐนี้ นอกจากนั้นยังมีบริษัท ฉวนหัว กรุ๊ป ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1986 ในฐานะบริษัทเคมี ก่อนจะพัฒนาจนกลายเป็นบริษัทเอกชนอันทันสมัยที่มีธุรกิจมากมายในปัจจุบัน ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เขตเสี่ยวซานซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจ ต้องแบกรับภารกิจขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและเศรษฐกิจรอบด้านผ่านการปฏิรูปเมือง รัฐบาลท้องถิ่นตระหนักดีว่า นวัตกรรมคือกลไกหลักที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา Hangzhou Bay Information Port ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเสี่ยวซาน คือศูนย์กลางในการบ่มเพาะอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของเขตเสี่ยวซาน โดยรวมบริษัทอินเทอร์เน็ตชั้นนำของจีนกว่า 30 แห่งไว้ด้วยกัน และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะผลักดันให้เขตเสี่ยวซานก้าวกระโดดจากเขตการผลิตไปเป็นเขตเศรษฐกิจสารสนเทศ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ในเสี่ยวซานที่เน้นระบบการผลิตอัจฉริยะกำลังเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง โดยมีการตั้งกลุ่มความร่วมมือและห้องปฏิบัติการบิ๊กดาต้าเชิงอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในประเทศจีนที่เขตเสี่ยวซาน ขณะที่บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อย่าง อาลีบาบา และ เน็ตอีส ตลอดจนบริษัทไอทีชั้นนำอีกมากมาย ต่างก็เลือกตั้งบริษัทที่นี่ นอกจากนี้ เขตเสี่ยวซานยังเป็นที่ตั้งของสถานที่จัดการประชุมสุดยอด G20 นครหางโจว นั่นคือ Hangzhou International Expo Center ซึ่งตั้งอยู่ใน Olympic Sports Expo City ที่จะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ปี 2022 ข้อมูลสถิติระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2016 ซึ่ง Hangzhou International Expo Center เปิดตัวจนกระทั่งปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้ได้จัดการประชุมมากกว่า 1,800 ครั้ง และนิทรรศการ 37 ครั้ง กินพื้นที่รวมกว่า 3.5 ล้านตารางเมตร โดยเฉพาะ G20 Summit Experience Hall ที่ต้อนรับผู้มาเยือนกว่า 1 ล้านคน Hangzhou International Expo Center เป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่บริษัทจัดการประชุมทั่วโลก และในปีนี้ก็ประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ICCA (International Congress & Convention Association) ทั้งยังเป็นผู้เดียวในจีนที่ได้เป็นสมาชิกของ UIA (Union of International Associations) ทั้งนี้ Hangzhou International Expo Center จะจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และงานเชิงวัฒนธรรมระดับนานาชาติอีกมากมายในอนาคต เขตเสี่ยวซานจะกลายเป็นศูนย์กลางการจัดนิทรรศการที่คึกคักที่สุดของจีน รวมถึงเป็นจุดหมายปลายทางการประชุมและการจัดนิทรรศการชั้นนำระดับโลก มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2019 รายได้จากการจัดนิทรรศการจะพุ่งทะลุ 1.5 หมื่นล้านหยวน (2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และจะมีการจัดประชุมระดับนานาชาติมากว่า 1,000 ครั้ง ดังนั้นจึงเชื่อกันว่าเขตเสี่ยวซานจะพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา นั่นคืออุตสาหกรรมการจัดนิทรรศการระดับไฮเอนด์ หลังการประชุมสุดยอด G20 นครหางโจว เสี่ยวซานก็กลายเป็นเขตเมืองที่มีความสำคัญซึ่งเชื่อมโยงนครหางโจวกับทั่วโลก ในอนาคต เขตเสี่ยวซานจะรุกพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดนิทรรศการและการประชุม เพื่อผลักดันให้เสี่ยวซานกลายเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติภายใต้แนวคิด "Exhibition +" ที่มา: รัฐบาลท้องถิ่นเขตเสี่ยวซาน ลิงค์รูปภาพ http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=301333 AsiaNet 71162

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ