Reuters Plus เผยผลการวิจัย พบผู้บริโภคสนใจแบรนด์คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาตรงกับตัวเองมากขึ้น

ข่าวต่างประเทศ Thursday May 10, 2018 11:10 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ลอนดอน--10 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ปัจจุบัน ผู้บริโภคให้ความสนใจคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาตรงกับบุคลิกของตนเองและนำเสนอในโทนและสไตล์ที่ตนชื่นชอบกันมากขึ้น ข้อสรุปดังกล่าวมาจากผลการวิจัยล่าสุดที่ได้รับการเผยแพร่วันนี้โดยReuters Plusสตูดิโอผู้สร้างสรรค์แบรนด์คอนเทนต์ (branded content) ของผู้ให้บริการข่าวสารมัลติมีเดียระดับนานาชาติรายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานContent Connect IIซึ่งอาศัยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งานReuters.comทั่วโลก พบว่าผู้บริโภค77%ทั่วโลกคาดหวังว่า ในอนาคตจะมีคอนเทนต์ที่ตรงกับบุคลิกลักษณะของตนเองมากขึ้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แคมเปญที่มีแบรนด์คอนเทนต์จะได้ผลดีมากกว่า หากมีการแทรกเนื้อหาที่ตรงกับตัวบุคคลรวมอยู่ด้วย โดยผู้บริโภค63%เห็นด้วยว่า คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตนทำให้พวกเขารู้สึกดีกับแบรนด์มากขึ้น และ58%จะมองแบรนด์ในแง่บวกมากขึ้น หากแบรนด์มีการนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของตน การสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยSynergy Research and Consultingซึ่งชูให้เห็นความสำคัญของสไตล์และโทนในการนำเสนอแบรนด์คอนเทนต์ ขณะเดียวกันก็พบว่าคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงในเรื่องต่าง ๆ นั้น ดึงดูดบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น บุคลิกลักษณะอันดับหนึ่งสำหรับคอนเทนต์ด้านธุรกิจและการเงินคือ'ความทะเยอทะยาน'ส่วนคอนเทนต์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมคือ'ความสร้างสรรค์'นอกจากนี้ การเมืองคือ'ความตรงไปตรงมา'และการท่องเที่ยวคือ'สัญชาตญาณ' ผลการวิจัยยังพบคุณลักษณะที่ผู้บริโภคมองว่ามีความดึงดูดใจมากที่สุดในแบรนด์คอนเทนต์ โดยผู้บริโภคทั่วโลกมองว่าคอนเทนต์ที่มีแบรนด์สนับสนุนนั้นจะดึงดูดความสนใจได้มากกว่า หากคอนเทนต์ดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระตุ้นความคิด(64%)สร้างสรรค์(58%)ตลกขบขัน(55%)และแปลกใหม่(51%) การวิจัยContent Connect IIพบว่า ผู้บริโภคมีการเปิดรับแนวทางที่ใหม่และสร้างสรรค์ในการสื่อสารด้วยคอนเทนต์ โดยรูปแบบการนำเสนอที่ผู้บริโภคมองว่ามีความดึงดูดใจเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่บทความสั้น(64%)บทวิเคราะห์เชิงลึก(60%)วิดีโอ(55%)และอินโฟกราฟิก(45%) ในส่วนของรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ ผู้บริโภคที่สนใจแบรนด์คอนเทนต์71%ต้องการให้แบรนด์ที่ตนชื่นชอบนั้นมีการสนับสนุนเว็บไซต์ พื้นที่ส่วนต่าง ๆ บนเว็บไซต์ หรือเพจ ขณะที่57%อยากเห็นแบรนด์สนับสนุนบทความตามเว็บไซต์ เว็บเพจ หรือแอปต่าง ๆ ในภาพรวมนั้น ผู้บริโภคมองว่าแบรนด์จะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนคอนเทนต์คุณภาพกันมากขึ้น โดยมีผู้บริโภคเห็นด้วยเพิ่มขึ้นเป็น68%จาก60%เมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่ผู้บริโภคยังคงเต็มใจรับแบรนด์คอนเทนต์หากมีประเด็นที่ตรงกับความสนใจของตน โดยมีผู้เห็นด้วยอยู่ที่75%เท่ากับปีที่แล้ว มูนิรา อิบราฮิม รองประธานอาวุโสฝ่ายขายและโซลูชั่นคอนเทนต์ของReutersกล่าวว่า"ในขณะที่การตลาดคอนเทนต์และแบรนด์คอนเทนต์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคเองก็มีความต้องการคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจและบุคลิกของตนเองเพิ่มขึ้นตาม ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า นักการตลาดคอนเทนต์จำเป็นต้องเข้าใจความต้องการและบุคลิคของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพื่อดึงดูดความสนใจและการมีส่วนร่วมจากผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่Reuters Plusให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ในการนำเสนอโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพแก่ลูกค้าของเรา" รายงานContent Connect IIได้ประเมินผลการค้นพบ จนสรุปได้เป็นเคล็ดลับ 7 ขั้นตอนที่นักการตลาดคอนเทนต์สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อสร้างสรรค์แคมเปญที่มีแบรนด์คอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ โดยรับชมขั้นตอนเหล่านี้ได้ ที่นี่ การสำรวจออนไลน์ทั่วโลกครั้งนี้มาจากความคิดเห็นของผู้ใช้งานReuters.comทั้งสิ้น752ราย ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2561 รับชมรายงานContent Connect IIฉบับเต็มได้ ที่นี่ เกี่ยวกับReuters Reutersธุรกิจข่าวสารและสื่อในสังกัดของThomson Reutersเป็นผู้ให้บริการข่าวสารมัลติมีเดียระดับนานาชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก ที่เข้าถึงผู้คนได้กว่าวันละ 1 พันล้านคนReutersให้บริการข่าวสารแวดวงธุรกิจ การเงิน ข่าวสารในประเทศและทั่วโลกที่น่าเชื่อถือ แก่เหล่าผู้เชี่ยวชาญผ่านหน้าจอเดสก์ทอปของThomson Reutersตลอดจนองค์กรสื่อทั่วโลก และส่งตรงถึงผู้บริโภคที่ Reuters.com และReuters TVติดตามข่าวสารเกี่ยวกับReutersได้ที่ @ReutersPR เกี่ยวกับReuters Plus Reuters Plusเป็นสตูดิโอผู้สร้างสรรค์แบรนด์คอนเทนต์ ของผู้ให้บริการข่าวสารมัลติมีเดียระดับนานาชาติรายใหญ่ที่สุดในโลก รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ plus.reuters.com ติดต่อ: Pete Biggs โทร: +442075424214 อีเมล: Pete.biggs@thomsonreuters.com โลโก้- https://mma.prnewswire.com/media/13199/THOMSON_REUTERS_LOGO.jpg
แท็ก ข่าวสาร   โทน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ