ถึงเวลาแล้วที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้าร่วมความพยายามระดับโลก เพื่อปกป้องผืนดินและมหาสมุทรของโลกอย่างน้อย 30%

ข่าวต่างประเทศ Tuesday May 25, 2021 17:10 —Asianet Press Release

เนื่องในโอกาสวันความหลากหลายทางชีวภาพโลก เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้ง ผู้นำชนพื้นเมือง นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ จำนวนมาก กำลังเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนรับรองข้อเสนอที่เปี่ยมความมุ่งมั่นเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และยกระดับสิทธิของชนพื้นเมืองผ่านอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

หลังจากล่าช้ามานาน 1 ปี การเจรจาอย่างเป็นทางการของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพกลับมาดำเนินการอีกครั้งในเดือนนี้ และน่าจะได้ข้อสรุปที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน ในเดือนตุลาคมนี้ เนื่องจากบรรดาผู้แทนจาก 196 ประเทศ รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด เข้าร่วมการเจรจานี้ ทุกสายตาต่างจับตามองมาที่ภูมิภาคอาเซียน ในฐานะหนึ่งในภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก ประเทศสมาชิกอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนายุทธศาสตร์ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ อาเซียนเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 2545 ตลอดจนเป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพโลกถึง 70%

ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยังไม่ได้สรุปถึงจุดยืนของตน แต่มีการสนับสนุนเพิ่มขึ้นทั่วโลกสำหรับข้อเสนอทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์ผืนดินและมหาสมุทรอย่างน้อย 30% ของโลก ซึ่งจะเคารพสิทธิของชนพื้นเมืองและผนวกรวมชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นมาเป็นพันธมิตรในการดำเนินการ

ข้อเสนอ 30x30 ได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่ม High Ambition Coalition for Nature and People (HAC) ซึ่งเป็นพันธมิตรระหว่างรัฐบาลมากกว่า 60 ประเทศ โดยมีคอสตาริกา ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรร่วมเป็นประธาน กัมพูชาเป็นสมาชิก HAC รายแรกจากภูมิภาคอาเซียน ส่วนสมาชิกรายอื่น ๆ ในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ปากีสถาน และมัลดีฟส์ ข้อเสนอ 30x30 ที่ว่านี้ ได้ผนวกรวมอยู่ในร่างยุทธศาสตร์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งสหประชาชาติโดยเป็นเป้าหมายระดับโลกอย่างหนึ่ง ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ จะมีโอกาสแตกต่างกันในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะเจาะจงในอาณาเขตของตน โดยการดำเนินการตามเป้าหมายที่เห็นพ้องกันในระดับโลกนั้น ควรเป็นเรื่องที่อยู่ในการตัดสินใจของแต่ละประเทศ ควบคู่กับหลักวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด

ปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลทางเศรษฐกิจมากมายที่แสดงให้เห็นว่า การอนุรักษ์ผืนดินและผืนน้ำอย่างน้อย 30% ของทั้งโลก เป็นแนวทางสำคัญในการจัดการปัญหาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ นอกเหนือไปจากการจัดเก็บคาร์บอน ป้องกันโรคระบาดในอนาคต ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มพูนการผลิตทางการประมง และยกระดับสิทธิของชนพื้นเมือง

ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีมากมาย โดยผลการศึกษาอิสระจากนักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญกว่า 100 รายพบว่า การบรรลุเป้าหมาย 30% ที่ว่านี้ จะช่วยสร้างผลประโยชน์ด้านบริการทางการเงินและบริการระบบนิเวศมากกว่าต้นทุนกว่า 5 เท่า

เมื่อพิจารณาผลประโยชน์เหล่านี้แล้ว บรรดาผู้นำตามรายชื่อด้านล่างนี้ได้ร่วมกันแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่ชาติสมาชิกอาเซียนควรสนับสนุนเป้าหมาย 30x30 และส่งเสริมสิทธิของชนพื้นเมือง

ผู้ลงนามรับรองปฏิญญาฉบับนี้ ประกอบด้วย

1. ศ. ดร. Zakri Abdul Hamid - ประธาน Atri Advisory ผู้เป็นตัวแทนและที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของ Campaign for Nature และอดีตที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ประจำนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

2. ดร. Antonio G. M. La Vi?a - ผู้อำนวยการบริหารหอสังเกตการณ์มะนิลา และอดีตปลัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมของฟิลิปปินส์

3. ศ. ดร. Emil Salim - สมาชิกประจำ Brundtland Commission ประธานสภาที่ปรึกษาต่อประธานาธิบดีอินโดนีเซีย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงประชากรและสิ่งแวดล้อม

4. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทย

5. ดร. Salleh Mohd Noor อดีตประธานสมาคมองค์กรวิจัยป่าไม้ระหว่างประเทศ ผู้รับรางวัล 2016 Merdeka Award อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์มาเลเซีย

6. ดร. Ravi Sharma - ที่ปรึกษาของ Athena Infonomics เคยปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพประจำมอนทรีออล

7. ดร. Saw Leng Guan - ผู้ดูแลสวนพฤกษชาติปีนัง ผู้ได้รับเหรียญจากสวนพฤกษศาสตร์เอดินเบอระ

8. ศ.ดร. Ahmad Ismail - ประธานสมาคมธรรมชาติแห่งมาเลเซีย ได้รับทุนจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์มาเลเซีย

9. ศ.ดร. Mohamad Osman - อดีตประธานสมาคมพันธุศาสตร์แห่งมาเลเซีย

10. ศ.ดร. Khatijah Yusoff - รองประธาน World Academy of Sciences ผู้ได้รับรางวัล 2015 Merdeka Award

คำกล่าวแสดงความคาดหวัง:

- ศ.ดร. Zakri Abdul Hamid (มาเลเซีย)

ตัวแทนและที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของ Campaign for Nature อดีตที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้รับรางวัล 2017 ASEAN Biodiversity Hero ของมาเลเซีย

"เพื่อเอาชนะวิกฤติสุขภาพโลกในปัจจุบันและบรรเทาสิ่งที่จะเกิดตามมา วิทยาศาสตร์ได้นำทางเรา การส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่ง IMF ประเมินว่าจะสร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจโลก 28 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เรียกร้องให้เราอนุรักษ์พื้นที่ธรรมชาติที่สมบูรณ์เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อที่คล้ายกันนี้ไม่ให้แพร่ระบาดในอนาคต การปกป้องพื้นที่อย่างน้อย 30% ของดาวเคราะห์ดวงนี้ภายในปี 2573 คือการกระทำที่สมควรต่อเวลาและสำคัญ ที่จะป้องกันและยกระดับสุขภาพของโลกเรา เศรษฐกิจของเรา และตัวเราเอง ผมเรียกร้องให้ชาวมาเลเซียและเพื่อนบ้านชาวอาเซียนทุกคนสนับสนุนเป้าหมายนี้"

- ศ.ดร. Emil Salim (อินโดนีเซีย)

ประธานสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีอินโดนีเซีย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงประชาชนและสิ่งแวดล้อม

"ข้อเสนอเพื่อปกป้องพื้นที่อย่างน้อย 30% ของดาวเคราะห์ดวงนี้ภายในปี 2573 สร้างขึ้นจากความเชื่อที่ว่า การอนุรักษ์ที่ดีที่สุดคือสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นและสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น การยอมรับและมีส่วนร่วมในเป้าหมายระดับโลกนี้เป็นโอกาสอันทรงพลังสำหรับประเทศอาเซียน ที่จะกลับมาให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติอีกครั้ง ในฐานะแนวทางสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน"

- ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ (ไทย)

ที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อดีตรองนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย

"วิทยาศาสตร์มีความชัดเจนอย่างมาก มีพื้นที่บนโลกของเราอีกมากมายที่ต้องได้รับการปกป้อง ขณะที่เวลาเหลือน้อยลงทุกที ข้อเสนอในการปกป้องผินดินและพื้นที่มหาสมุทรอย่างน้อย 30% ของโลกภายในปี 2573 ถือเป็นเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้จริง และถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการแก้ไขวิกฤตที่โลกของเราเผชิญอยู่ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีพื้นที่ป่าไม้ตามธรรมชาติอยู่ 32% และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 10% สำหรับแผนกลยุทธ์ของเรานั้น ไทยตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายในการรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติ 35% และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 15% ผมสนับสนุนให้ทุกประเทศในอาเซียนร่วมส่งเสริมเป้าหมายที่สำคัญระดับโลกนี้ ผ่านการกำหนดแผนระดับชาติ และความร่วมมือกับประชาคมโลก"

- ดร. Antonio G. M. La Vi?a

ผู้อำนวยการบริหารหอสังเกตการณ์มะนิลา และอดีตปลัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมฟิลิปปินส์

"ผู้คนเริ่มตระหนักมากขึ้นว่า การรับมือต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มงบลงทุนด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ผมสนับสนุนให้ทุกประเทศในอาเซียนยอมรับข้อเสนอที่จะปกป้องโลกอย่างน้อย 30% ในฐานะนโยบายที่สำคัญของยุทธศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศที่ยิ่งใหญ่นี้"

- ศ. ดร. Ahmad Ismail

ประธานสมาคมธรรมชาติแห่งมาเลเซีย และสมาชิกแห่งสถาบันบัณฑิตสภาทางวิทยาศาสตร์มาเลเซีย

"ในฐานะประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพขนาดใหญ่อันดับ 12 ของโลก มาเลเซียควรพิจารณาถึงความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ ไม่เพียงแค่ปกป้องผืนป่าและพื้นที่ทางทะเลตามปริมาณที่กำหนด แต่มาเลเซียจำเป็นต้องยกระดับขีดความสามารถในการปกป้อง การจัดการ และการอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย"

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

ชื่อ: Azmil Zakri

อีเมล: azmil.zakri@gmail.com

ที่มา: Atri Advisory

AsiaNet 89706


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ