กรุงเทพโพลล์: ประเมินผลงาน 2 ปี รัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์ เปรียบเทียบก่อนและหลังนายกฯ แถลงผลงาน

ข่าวผลสำรวจ Monday December 27, 2010 07:38 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจพบว่า หลังฟังนายกฯ อภิสิทธิ์แถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาล ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจผลงานรัฐบาล 4.61 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจก่อนแถลงผลงาน 0.79 คะแนน หรือร้อยละ 7.9 การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของนายกฯ อภิสิทธิ์ ได้ 5.17 คะแนน โดยเพิ่มขึ้น 0.73 คะแนน หรือร้อยละ 7.3 สำหรับคะแนนการแถลงผลงานได้ 6.27 คะแนน

จากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 2 ปี ให้ประชาชนได้รับทราบ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภาคของประเทศที่ติดตามข่าวการแถลงผลงาน จำนวนทั้งสิ้น 1,298 คน เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม ที่ผ่านมา พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.8 ติดตามการแถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาลจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ มีเพียงร้อยละ 7.2 ที่ติดตามชมการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ร้อยละ 37.0 ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ โดยผู้ที่ติดตามชมการถ่ายทอดสดให้คะแนนการแถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาลของนายกฯ อภิสิทธิ์ 6.27 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยให้คะแนนด้านประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมได้รับมากที่สุด รองลงมาคือด้านความน่าสนใจชวนให้ติดตาม และด้านความน่าเชื่อถือ ตามลำดับ

          สำหรับความพึงพอใจต่อผลงาน 2 ปีของรัฐบาลได้คะแนนเฉลี่ย 4.61 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจก่อนแถลงผลงาน (สำรวจเมื่อ 10-14 ธ.ค. 53)  0.79 คะแนน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกด้าน          สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ โครงการเรียนฟรี 15 ปี  โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา และ โครงการลดค่าครองชีพให้ประชาชน ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ 5.00 คะแนน (เพิ่มขึ้นกว่าก่อนแถลงผลงาน 0.89 คะแนน) พรรคร่วมรัฐบาลได้ 3.89 คะแนน (เพิ่มขึ้น 0.47 คะแนน) พรรคฝ่ายค้านได้ 3.75 คะแนน (ลดลง 0.10 คะแนน)

สำหรับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเฉลี่ย 5.17 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนแถลงผลงาน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.73 คะแนน โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกด้าน

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การติดตามรับชม รับฟัง หรือติดตามข่าวการแถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาล ของนายกฯ อภิสิทธิ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา
          ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง                     ร้อยละ           7.2
          ติดตามถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ                           ร้อยละ          37.0
          ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ                    ร้อยละ          55.8

2. คะแนนการแถลงผลงาน 2 ปี รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

(เฉพาะผู้ที่ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่องและการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ)

คะแนนเต็ม 10

          ด้านความน่าสนใจชวนให้ติดตาม            6.25
          ด้านความน่าเชื่อถือ                     6.18

ด้านประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมได้รับ 6.38

          เฉลี่ยรวม                            6.27

3. คะแนนความพึงพอใจผลงาน 2 ปี ของรัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังแถลงผลงาน พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 4.61 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนแถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาล (เก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 10 - 14 ธันวาคมที่ผ่านมา) พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย
เพิ่มขึ้น 0.79 คะแนน โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกด้าน

ก่อนแถลงผลงาน(คะแนนที่ได้) หลังแถลงผลงาน(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง

ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต                     4.12                    5.06                    0.94
ด้านเศรษฐกิจ                             3.78                    4.71                    0.93
ด้านความมั่นคงของประเทศ                   3.74                    4.45                    0.71
ด้านการต่างประเทศ                        3.90                    4.44                    0.54
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย     3.53                    4.38                    0.85
เฉลี่ยรวม                                3.82                    4.61                    0.79

หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

4. ผลงาน หรือ โครงการ ของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                              ก่อนแถลงผลงาน(ร้อยละ)     หลังแถลงผลงาน(ร้อยละ)      เพิ่มขึ้น / ลดลง(ร้อยละ)
-โครงการเรียนฟรี 15 ปี                   23.5                    23.4                    -0.1
-โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา                  13.9                    18.5                    +4.6
-โครงการลดค่าครองชีพให้ประชาชน
  (ค่าไฟฟ้า ค่ารถเมล์ ค่ารถไฟ ฟรี)          17.7                    17.6                    -0.1
-โครงการประกันราคาสินค้าเกษตร
  (เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ)       9.9                     9.6                    -0.3
-การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ                    2.2                     8.0                    +5.8

5. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน หลังแถลงผลงานเมื่อวัน
ศุกร์ที่ 24 ธ.ค. ที่ผ่านมา (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ 5.00 คะแนน รองลงมาได้แก่ พรรคร่วม
รัฐบาลได้ 3.89 คะแนน พรรคฝ่ายค้าน 2.75 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนแถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาล พบว่า พรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเพิ่มขึ้น 0.89 คะแนน พรรคร่วม รัฐบาลมีคะแนนเพิ่มขึ้น 0.47 คะแนน ส่วนพรรคฝ่ายค้านมีคะแนนลดลง 0.10 คะแนน

ก่อนแถลงผลงาน(คะแนนที่ได้) หลังแถลงผลงาน(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง -พรรคแกนนำรัฐบาล

 (พรรคประชาธิปัตย์)                                4.11                    5.00                    0.89
-พรรคร่วมรัฐบาล
 (พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเผื่อแผ่นดินฯลฯ)   3.42                    3.89                    0.47
-พรรคฝ่ายค้าน
 (พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช ฯลฯ)                  3.85                    3.75                    -0.10

หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

6. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังแถลงผลงาน พบว่า
ได้คะแนนเฉลี่ย 5.17 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนแถลงผลงาน 2 ปีรัฐบาล
พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.73 คะแนน โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกด้าน

ก่อนแถลงผลงาน(คะแนนที่ได้) หลังแถลผลงาน(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง

ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ          5.02                    5.96                    0.94
ความซื่อสัตย์สุจริต                                    4.86                    5.63                    0.77
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ               4.53                    5.18                    0.65
ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ ที่มี         4.18                    5.01                    0.83
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ            4.30                    4.93                    0.63
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ                             3.75                    4.31                    0.56
คะแนนเฉลี่ย                                        4.44                    5.17                    0.73

หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,298 คน เป็นเพศชายร้อยละ 52.9 และเพศหญิงร้อยละ 47.1

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  24-25 ธันวาคม 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  26 ธันวาคม 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                                จำนวน        ร้อยละ
เพศ
            ชาย                                  687          52.9
            หญิง                                  611          47.1
          รวม                                  1,298         100.0

อายุ
            18 ปี - 25 ปี                          199          15.3
            26 ปี — 35 ปี                          356          27.4
            36 ปี — 45 ปี                          389          30.0
            46 ปีขึ้นไป                             354          27.3
          รวม                                  1,298         100.0

การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                         668          51.5
            ปริญญาตรี                              535          41.2
            สูงกว่าปริญญาตรี                          95           7.3
          รวม                                  1,298         100.0

อาชีพ
            ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ                    286          22.0
            พนักงานบริษัทเอกชน                      276          21.3
            ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว              310          23.9
            รับจ้างทั่วไป                            140          10.8
            พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ              64           4.9
            อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน    222          17.1
          รวม                                  1,298         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ