นักเศรษฐศาสตร์พอใจผลงานเศรษฐกิจที่ผ่านมาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ 5.12 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
พร้อมแนะรัฐบาลใหม่ควรสานต่อโครงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าระบบประกันสังคม (สำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในระบบ) มากที่สุด ส่วน โครงการที่ไม่ควรสานต่อมากที่สุดคือ โครงการขายไข่แบบชั่งกิโล
นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เน้นนโยบายพัฒนาการศึกษา ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเสริม สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 30 แห่ง จำนวน 76 คน เรื่อง “สรุปผลงานเศรษฐกิจของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์: นโยบายใดบ้างที่ควรสาน ต่อ?” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 10-13 พ.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจในภาพรวมของรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ โดยให้คะแนน 5.12 คะแนน(จากเต็ม 10) โดยมีรายละเอียดในแต่ละด้านดังนี้
ด้านการเติบโตของ GDP 6.85 คะแนน ด้านการนำพาเศรษฐกิจไทยในช่วง Hamburger Crisis 6.39 คะแนน ด้านการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ 5.03 คะแนน ด้านการสร้างความเป็นธรรมในสังคม ลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ 4.76 คะแนน ด้านการแก้ปัญหา/ดูแลเสถียรภาพของราคาสินค้า 4.00 คะแนน ด้านการบริหารจัดการราคาพลังงาน 3.70 คะแนนสำหรับการประเมินผลงานตามโครงการ(ที่อยู่ในความสนใจของสังคม)จำนวน 18 โครงการ พบว่า โครงการที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ไม่พอใจในผลการทำงาน และเห็นว่ารัฐบาลใหม่ไม่ควรสานต่อ 3 อันดับแรก คือ
- โครงการ(ทดลอง)ขายไข่แบบชั่งกิโล ได้ 1.99 คะแนน (ร้อยละ 84.2 ไม่ต้องการให้สานต่อ)
- โครงการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อไม่ให้ราคาสินค้า และค่าครองชีพของประชาชนปรับตัวสูงขึ้น ได้ 3.38 คะแนน (ร้อยละ
- โครงการขายสลากกินแบ่งฯ แบบออนไลน์ ได้ 3.67 คะแนน (ร้อยละ 43.4 ไม่ต้องการให้สานต่อ)
ส่วนโครงการที่นักเศรษฐศาสตร์พอใจในผลการทำงานของรัฐบาล และต้องการให้รัฐบาลใหม่เข้ามาสานต่อมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
- โครงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าระบบประกันสังคม (สำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในระบบ) ได้ 7.33 คะแนน (ร้อยละ 92.1 ต้องการให้
- โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา 500 บาทต่อเดือน ได้ 7.29 คะแนน (ร้อยล 90.8 ต้องการให้สานต่อ)
- โครงการเรียนฟรี 15 ปี ได้ 7.16 คะแนน(ร้อยล 90.8 ต้องการให้สานต่อ)
ด้านข้อเสนอของนักเศรษฐศาสตร์ต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญมี ดังนี้
1. พัฒนาการศึกษา ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันใน ระยะยาว (ร้อยละ 30.8)
2. ลดการบิดเบือนกลไกตลาด (ราคาน้ำมันดีเซลและแก๊สLPG)/ลดการแซกแซงราคาสินค้า(อย่าแทรกแซงในลักษณะที่ทำให้เกิดการ รวมตัวของผู้ผลิต หรือ Cartel) /ลดการผูกขาดตลาดพลังงาน/จัดหาพลังงานทดแทนให้เพียงพอ (ร้อยละ 20.5)
3. ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง (ร้อยละ 15.4)
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: โครงการที่เลือกทำการประเมินจะเป็นโครงการที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและมีผลกระทบกับประชาชนส่วนใหญ่
***หมายเหตุ: มีนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 33 คนตอบคำถามในประเด็นนี้ *********************************************************************************************************** หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด ***********************************************************************************************************
รายละเอียดในการสำรวจ
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนัก งานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง บริษัททริสเรทติ้ง บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย สมาคมธนาคารไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัย ประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 10-13 พฤษภาคม 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 18 พฤษภาคม 2554ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
หน่วยงานภาครัฐ 30 39.5 หน่วยงานภาคเอกชน 29 38.2 สถาบันการศึกษา 17 22.3 รวม 76 100.0 เพศ ชาย 40 52.6 หญิง 36 47.4 รวม 76 100.0 อายุ 26 ปี — 35 ปี 28 36.9 36 ปี — 45 ปี 22 28.9 46 ปีขึ้นไป 26 34.2 รวม 76 100.0 การศึกษา ปริญญาตรี 3 3.9 ปริญญาโท 56 73.7 ปริญญาเอก 17 22.4 รวม 76 100.0 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 16 21.1 6-10 ปี 23 30.3 11-15 ปี 9 11.8 16-20 ปี 9 11.8 ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป 19 25.0 รวม 76 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--