หากมีแม่เป็นนายกฯ เยาวชนอยากให้แม่คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก และซื่อสัตย์ไม่โกงกิน
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นเยาวชนอายุ 15-25 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,060 คน เกี่ยวกับเรื่องที่อยากบอกในวันแม่โดยใช้คำถามแบบปลายเปิดให้ผู้ตอบเขียนคำตอบเองโดยไม่มีข้อคำตอบให้เลือกพบว่า
เรื่องที่อยากให้แม่ทำเพื่อประเทศชาติมากที่สุด หากมีแม่เป็นนายกรัฐมนตรี คือ อยากให้แม่นึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก และซื่อสัตย์ไม่โกงกินร้อยละ 22.2 รองลงมาคือให้เร่งแก้ปัญหาปากท้อง ลดราคาสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตร้อยละ 16.7 และทำให้คนในประเทศเกิดความปรองดอง รักใคร่สามัคคีกันร้อยละ 15.7
ส่วนการกระทำของแม่ที่เยาวชนส่วนใหญ่จะยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตคือ ความขยันและอดทนร้อยละ 44.9 รองลงมาคือ การใช้จ่ายอย่างประหยัด การใช้เงินอย่างรู้คุณค่าร้อยละ 18.1 และการเป็นคนดี ซื่อสัตย์ อยู่ในศีลธรรมร้อยละ 11.5
โอกาสวันแม่ปีนี้สิ่งที่เยาวชนตั้งใจจะให้คำมั่นสัญญากับแม่มากที่สุดคือ จะเป็นคนดี เป็นลูกที่ดีของแม่ ร้อยละ 44.8 รองลงมาคือ จะตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานร้อยละ 34.1 และจะดูแลแม่ให้ดีกว่าที่ผ่านมา จะทำงานหาเลี้ยงแม่ให้แม่อยู่อย่างสบายร้อยละ 10.5
สำหรับวิธีที่จะทำเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ในยุคปัจจุบันที่สินค้ามีราคาแพง เยาวชนส่วนใหญ่ระบุว่า จะใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือยร้อยละ 72.5 รองลงมาคือ จะหางานพิเศษทำเพื่อเลี้ยงตัวเองไม่ให้เป็นภาระของแม่ ร้อยละ 15.9 และจะรู้จักเก็บออม ซื้อของที่อยากได้เอง ร้อยละ 6.0
ทั้งนี้พรที่เยาวชนอยากขอให้แม่มากที่สุดในโอกาสวันแม่ปีนี้คือ ขอให้แม่มีสุขภาพแข็งแรงร้อยละ 54.8 รองลงมาคือ ขอให้แม่มีอายุยืนยาวอยู่กับลูกไปนานๆ ร้อยละ 21.5 และขอให้แม่มีความสุข ร้อยละ 15.0
ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
มีการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกัน
และไม่ซื้ออาหารนอกบ้านทานบ่อยๆ
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเรื่องที่อยากบอกแม่ ในโอกาสวันแม่ที่จะมาถึงในปีนี้ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชนผู้เป็นลูกส่งต่อไปยังผู้ที่เป็นแม่ ตลอดจน ให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่และลูกวัยเยาวชนต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนอายุ 15 -25 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น 36 เขต ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วัฒนา สะพานสูง สาทร สายไหม หนองจอก หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,060 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.9 และเพศหญิงร้อยละ 51.1
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของข้อมูลส่วนตัว และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form)ในส่วนของข้อคำถามทั้ง 5 ข้อ และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 — 25 กรกฎาคม 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 8 สิงหาคม 2554ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 518 48.9 หญิง 542 51.1 รวม 1,060 100.0 อายุ 15 - 18 ปี 347 32.7 19 - 22 ปี 375 35.4 23 - 25 ปี 338 31.9 รวม 1,060 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--