นักเศรษฐศาสตร์ประเมินนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดปัจจุบันพบ 7 โครงการเป็นโครงการประชานิยมที่ไม่ดี 4 โครงการเป็นโครงการประชานิยมที่ดี และ 5 โครงการเป็นโครงการประชานิยมที่ดีแต่มีวิธีดำเนินการไม่ถูกต้อง พร้อมระบุนโยบายประชานิยมไม่ช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ไม่ช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้นอย่างยั่งยืน แต่ซ้ำร้ายเชื่อว่าคนไทยเริ่มเสพติดนโยบายประชานิยมแล้ว
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 70 คน เรื่อง “นโยบายประชานิยมส่งผลดีหรือเสียต่อประเทศไทย”โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 21-28 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 58.6 เห็นว่าโครงการประชานิยมไม่ช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ รองลงมาร้อยละ 38.6 คิดว่าช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้บ้างแต่ไม่ยั่งยืน และเมื่อถามต่อว่าโครงการประชานิยมจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ ร้อยละ 50.0 คิดว่าช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้บ้างแต่ไม่ยั่งยืน รองลงมาร้อยละ 47.1 คิดว่าไม่ช่วย
ด้านความเห็นต่อโครงการประชานิยมจะนำไปสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Demand) มากขึ้นได้หรือไม่ ร้อยละ 52.9 คิดว่าช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้นได้บ้างแต่ไม่ยั่งยืน รองลงมาร้อยละ 40.0 คิดว่าไม่ช่วย
ในส่วนของโครงการประชานิยมที่มีการแทรกแซงกลไกราคาผ่านโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรต่างๆ ของรัฐบาลจะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญ(โดยเฉพาะในระยะยาว) คือ ร้อยละ 77.1 เชื่อว่าจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การโก่งราคาเกษตรกร รองลงมาร้อยละ 68.6 เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่สามารถกำหนดราคาขายในตลาดโลกได้ เนื่องจากสินค้าเกษตรจะเก็บไว้นานไม่ได้ และจะขาดทุนจากการดำเนินโครงการ ร้อยละ 65.7 เห็นว่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาด ราคารับจำนำที่สูงจะทำให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น และร้อยละ 60.0 เชื่อว่าประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรจะลดลง
ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ได้ทำการประเมินผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยมกับงบประมาณที่ใช้ไป ว่าสิ่งใดจะมากกว่ากัน ร้อยละ 77.1 เห็นว่าผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยมจะน้อยกว่างบประมาณที่ใช้ไป และมีเพียงร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่เห็นว่าผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยมจะมากกว่างบประมาณที่ใช้ไป
สุดท้ายเมื่อถามนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นว่าปัจจุบันนี้ “คนไทยเสพติดนโยบายประชานิยมหรือไม่” ร้อยละ 48.6 เชื่อว่าประชาชนเสพติดโครงการประชานิยมแล้ว รองลงมาร้อยละ 47.1 เชื่อว่าประชาชนเริ่มเสพติดโครงการประชานิยม (ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนใดเลยที่เห็นว่าคนไทยยังไม่เสพติดโครงการประชานิยม) นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังได้ทำการประเมินนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดปัจจุบันจำนวน 16โครงการ ว่าโครงการใดถือเป็นโครงการประชานิยมที่ดีหรือไม่ดี ผลสำรวจพบว่า
-โครงการโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (ร้อยละ 65.7)
-โครงการแจกแท็บเลต พีซี (ร้อยละ 65.7)
-โครงการรถยนต์คันแรก (ร้อยละ 58.6)
-โครงการการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน (ร้อยละ 50.0)
-โครงการจบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท (ร้อยละ 45.7)
-โครงการเบี้ยยังชีพคนชราแบบขั้นบันได (ร้อยละ 80.0)
-โครงการอินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ (ร้อยละ 78.6)
-โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง (ร้อยละ 71.4)
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใดและจะขาดทุนจากการดำเนินโครงการ
ร้อยละ 65.7 เป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาด ราคารับจำนำที่สูงจะทำให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.0 ประสิทธิภาพการผลิตที่จะลดลง ร้อยละ 54.3 ประชาชนได้ประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และประโยชน์ตกอยู่กับกลุ่มอื่น เช่น ผู้ส่งออก โรงสี เป็นต้น ร้อยละ 34.3 ข้อจำกัดของพื้นที่เก็บรักษาสินค้าเกษตร ร้อยละ 22.9 การดำเนินนโยบายที่ขาดความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ จะทำให้ประเทศอื่นได้ประโยชน์ ร้อยละ 10.0 อื่นๆ คือ ไม่ได้แก้ปัญหาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ไม่ช่วยแก้ทั้งปัญหาความยากจนของเกษตรกรและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ นอกจากนี้ การบิดเบือนกลไกตลาดจะยิ่งทำให้เกษตรกรอ่อนแอ ประเทศสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
ซึ่งจะเป็นปัญหาในระยะยาวโดยเฉพาะการเปิดเสรีอาเซียนที่กำลังจะมาถึง
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำข้อมูลผลสำรวจมาใช้ประกอบการทำนโยบาย
2. เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายประชานิยมที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
3. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารธนชาต บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21-28 สิงหาคม 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 29 สิงหาคม 2555ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่ หน่วยงานภาครัฐ 33 47.2 หน่วยงานภาคเอกชน 22 31.4 สถาบันการศึกษา 15 21.4 รวม 70 100.0 เพศ ชาย 35 50.0 หญิง 35 50.0 รวม 70 100.0 อายุ 26 ปี — 35 ปี 23 32.9 36 ปี — 45 ปี 22 31.4 46 ปีขึ้นไป 25 35.7 รวม 70 100.0 การศึกษา ปริญญาตรี 4 5.7 ปริญญาโท 49 70.0 ปริญญาเอก 17 24.3 รวม 70 100.0 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 10 14.3 6-10 ปี 17 24.3 11-15 ปี 10 14.3 16-20 ปี 9 12.9 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 24 34.2 รวม 70 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--