ผู้สมัครที่คนกรุงเทพฯ อยากให้มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. มากที่สุดอันดับแรกคือ เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ ร้อยละ 34.8 รองลงมาคือเบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ร้อยละ 27.7 และเบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์
เตมียาเวส ร้อยละ 4.5 ขณะที่ร้อยละ 18.2 ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 10.1 บอกว่าตัดสินใจแล้วแต่ขอไม่เปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่เลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2 อันดับแรกที่มีคะแนนมากที่สุด ในคำถามที่ว่า “ในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งมีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครเบอร์อื่นหรือไม่” พบว่า กลุ่มที่เลือกผู้สมัครเบอร์ 16 คิดเป็นร้อยละ 19.7 ระบุว่า “มีโอกาสเปลี่ยนใจ” ซึ่งเป็นสัดส่วนพอๆ กับกลุ่มที่เลือกผู้สมัครเบอร์ 9 คิดเป็นร้อยละ 18.5 ที่ระบุว่า “มีโอกาสเปลี่ยนใจ” เช่นเดียวกัน
เมื่อถามคนกรุงเทพฯ ว่าในพื้นที่ละแวกบ้านของท่าน มีการติดต่อซื้อเสียงหรือไม่ ร้อยละ 72.1 ระบุว่า ไม่มีการซื้อเสียง ขณะที่ร้อยละ 6.8 ระบุว่ามีการซื้อเสียง และร้อยละ 21.1 ระบุว่าไม่ทราบ
สำหรับความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.4 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 47.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
รายละเอียดดังต่อไปนี้
ทั้งนี้เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่เลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2 อันดับแรกที่มีคะแนนมากที่สุด ในคำถามที่ว่า “ในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งมีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกผู้สมัครเบอร์อื่นหรือไม่” พบว่า
กลุ่มผู้ที่เลือก มีโอกาสเปลี่ยนใจ(ร้อยละ) ไม่เปลี่ยนใจ(ร้อยละ) เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ 18.5 81.5 เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร 19.7 80.3 2. การติดต่อซื้อเสียงจากคนในพื้นที่ละแวกบ้านของท่าน พบว่า มีการซื้อเสียง ร้อยละ 6.8 ไม่มีการซื้อเสียง ร้อยละ 72.1 ไม่ทราบ ร้อยละ 21.1 3. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรม เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 35.9 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 16.5) ร้อยละ 52.4 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 39.6 และเชื่อมั่นน้อยที่สุดร้อยละ 8.0) ร้อยละ 47.6รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี 2556
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,637 คน เป็นเพศชายร้อยละ 41.8 และเพศหญิงร้อยละ 58.2
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 - 17 กุมภาพันธ์ 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 กุมภาพันธ์ 2556ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 684 41.8 หญิง 953 58.2 รวม 1,637 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 228 13.9 26 - 35 ปี 308 18.8 36 - 45 ปี 313 19.1 46 ปีขึ้นไป 788 48.2 รวม 1,637 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 1,059 64.7 ปริญญาตรี 464 28.3 สูงกว่าปริญญาตรี 114 7.0 รวม 1,637 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 101 6.2 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 276 16.9 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 461 28.1 รับจ้างทั่วไป 194 11.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 443 27.1 นักศึกษา 113 6.9 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 49 2.9 รวม 1,637 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--