กรุงเทพโพลล์: “ครม.ยิ่งลักษณ์ 4 กับนายกรัฐมนตรีสำรอง”

ข่าวผลสำรวจ Friday March 22, 2013 09:25 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนหนุนให้มีการปรับ ครม. เล็กๆ ตามความเหมาะสมมากกว่าที่จะปรับเพียงตำแหน่งเดียวที่ว่างลง และร้อยละ 56.3 บอก “ไม่เชื่อ” กรณีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ถูกวางตัวให้เป็นนายกฯ สำรอง

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ครม.ยิ่งลักษณ์ 4 กับนายกรัฐมนตรีสำรอง” ซึ่งเก็บข้อมูลกับประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และพักอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล ในช่วงวันที่ 19 — 21 มีนาคม ที่ผ่านมา จำนวน 1,123 คน พบว่า

ประชาชนร้อยละ 55.1 ทราบกระแสข่าวเกี่ยวกับการปรับ ครม. ยิ่งลักษณ์ 4 ขณะที่ ร้อยละ 44.9 บอกว่า ไม่ทราบ ทั้งนี้หากมีการปรับ ครม. จริง ประชาชนร้อยละ 41.8 ต้องการให้มีการปรับเล็กๆ ไม่กี่ตำแหน่งตามความเหมาะสม รองลงมาร้อยละ 30.3 ต้องการให้ปรับใหญ่หลายตำแหน่ง และร้อยละ 25.0 ต้องการให้ปรับเฉพาะตำแหน่งที่ว่างอยู่ทดแทนตำแหน่งของ นายชุมพล ศิลปอาชา (ที่ถึงแก่อสัญกรรม)

โดยเกณฑ์ที่ประชาชนต้องการให้นายกรัฐมนตรีใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง อันดับแรกคือ มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญเหมาะกับตำแหน่งที่ได้รับ (ร้อยละ 50.9) รองลงมาคือ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คดโกง ไม่คอร์รัปชั่น (ร้อยละ 18.0) และ มีประวัติดีและประสบการณ์เป็นที่ยอมรับ (ร้อยละ 12.3)

ส่วนรัฐมนตรีที่ประชาชนอยากให้ปรับเปลี่ยนออกมากที่สุด คือรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 41.0 รองลงมาคือรัฐมนตรีที่ดูแลด้านการศึกษา ร้อยละ 13.1 และรัฐมนตรีที่ดูแลด้านความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ12.8

สำหรับทิศทางการทำงานของรัฐบาลหลังการปรับ ครม. ถ้าหากมีการปรับ ครม. ยิ่งลักษณ์ 4 จริง คือ ร้อยละ 50.0 คาดว่าการทำงานจะดีขึ้น ร้อยละ 44.3 คาดว่าการทำงานจะเหมือนเดิม และร้อยละ 5.7 คาดว่าการทำงานจะแย่ลง

เมื่อถามถึงคะแนนนิยมของรัฐบาลหากมีการดึง ส.ส. จากกลุ่มมัชฌิมา เข้าร่วมรัฐบาลในการปรับ ครม. ครั้งนี้ โดยประชาชนร้อยละ 57.6 ระบุว่า “คะแนนนิยมจะเท่าเดิม” รองลงมาร้อยละ 25.1 ระบุว่า “คะแนนนิยมจะเพิ่มขึ้น” และร้อยละ 17.3 ระบุว่า “คะแนนนิยมจะลดลง”

ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่า ประเด็นการลาออกของ นายเกษม นิมมลรัตน์ ส.ส. เขต 3 จ. เชียงใหม่ และมีชื่อ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่จะมาลงเลือกตั้งซ่อมแทน คิดว่ามีนัยทางการเมืองหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 34.6 เห็นว่า มีนัยทางการเมืองแน่นอน รองลงมาร้อยละ 33.6 เห็นว่า อาจจะมี ขณะที่ร้อยละ 7.0 เห็นว่า ไม่มีแน่นอน

สุดท้ายเมื่อถามว่า เชื่อหรือไม่กับเรื่องที่ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ถูกวางตัวให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนต่อไป แทนนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หากมีอุบัติเหตุทางการเมือง (ปปช. ชี้มูลความผิด เนื่องจากการแจ้งบัญชี ทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ ) พบว่า ประชาชนร้อยละ 56.3 บอกว่าไม่เชื่อ ขณะที่ ร้อยละ 43.7 บอกว่าเชื่อ

รายละเอียดต่อไปนี้

1. การรับทราบกระแสข่าวเกี่ยวกับการปรับ ครม. ยิ่งลักษณ์ 4 ในช่วงเวลานี้
          - ทราบ                                          ร้อยละ 55.1
          - ไม่ทราบ                                        ร้อยละ  44.9

2. รูปแบบของการปรับ ครม. ที่ประชาชนต้องการ ในครั้งนี้ คือ
          - ปรับใหญ่หลายตำแหน่ง                              ร้อยละ  30.3
          - ปรับเล็กๆ ไม่กี่ตำแหน่ง ตามความเหมาะสม              ร้อยละ  41.8
          - ปรับเฉพาะตำแหน่งที่ว่างอยู่ ทดแทนตำแหน่งของ           ร้อยละ  25.0

นายชุมพล ศิลปอาชา (ที่ถึงแก่อสัญกรรม)

          - อื่นๆ อาทิ ไม่ควรปรับในเวลานี้                       ร้อยละ  2.9

3. เกณฑ์ที่อยากให้นายกรัฐมนตรีใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในแต่ละ
กระทรวง 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดผู้ตอบระบุเอง)
  • มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญเหมาะกับตำแหน่งที่ได้รับ ร้อยละ 50.9
          -  มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่คดโกง ไม่คอร์รัปชั่น            ร้อยละ 18.0
          -  มีประวัติ และประสบการณ์เป็นที่ยอมรับ                 ร้อยละ 12.3
          -  เป็นคนดีมีคุณธรรม                                ร้อยละ 6.7
          - ขยันทำงาน มีความรับผิดชอบ เป็นคนที่ทำงานจริง          ร้อยละ 4.9

4. รัฐมนตรีที่ดูแลงานในแต่ละด้านของรัฐบาลชุดนี้ที่ประชาชนอยากให้มีการปรับเปลี่ยนออกมากที่สุด
5  อันดับแรก คือ
          - ด้านเศรษฐกิจ                                    ร้อยละ 41.0
          - การศึกษา                                       ร้อยละ 13.1
          - ด้านความมั่นคงของประเทศ                          ร้อยละ 12.8
          - ด้านสังคม                                       ร้อยละ 6.8
          - ด้านการคมนาคม                                  ร้อยละ 5.1

5. ความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการทำงานของรัฐบาลหลังการปรับ ครม. ถ้าหากมีการปรับครม. ยิ่งลักษณ์  4  จริง พบว่า
          - การทำงานจะดีขึ้น                                 ร้อยละ 50.0
          - การทำงานจะเหมือนเดิม                            ร้อยละ 44.3
          - การทำงานจะแย่ลง                                ร้อยละ 5.7

6. ความเห็นเกี่ยวกับคะแนนนิยมของรัฐบาลถ้าหากมีการดึง ส.ส. จากกลุ่มมัชฌิมา เข้าร่วมรัฐบาลใรในการ
ปรับ ครม. ครั้งนี้ คือ
          - คะแนนนิยมจะเพิ่มขึ้น                               ร้อยละ 25.1
          - คะแนนนิยมจะเท่าเดิม                              ร้อยละ 57.6
          - คะแนนนิยมจะลดลง                                ร้อยละ 17.3

7. เมื่อถามว่าจากการลาออกของ นายเกษม นิมมลรัตน์ ส.ส. เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่ และมีชื่อ
นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ที่จะมาลงเลือกตั้งซ่อมแทน คิดว่า มีนัยทางการเมืองหรือไม่พบว่า
          - มีแน่นอน                                        ร้อยละ 34.6
          - อาจจะมี                                        ร้อยละ 33.6
          - ไม่มีแน่นอน                                      ร้อยละ  7.0
          - ไม่แน่ใจ                                        ร้อยละ 24.8

8. เมื่อถามว่า เชื่อหรือไม่กับเรื่องที่ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (พี่สาวของนายกรัฐมนตรี) ถูกวางตัวให้เป็น
นายกรัฐมนตรีคนต่อไป แทนนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หากมีอุบัติเหตุทางการเมือง (ปปช. ชี้มูลความผิด
เนื่องจากการแจ้งบัญชี ทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ ) พบว่า
          - เชื่อ                                           ร้อยละ 43.7
          - ไม่เชื่อ                                         ร้อยละ 56.3

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพ ฯ และปริมณฑลเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการปรับคณะรัฐมนตรี “ยิ่งลักษณ์ 4” ในประเด็นต่างๆ อาทิ รูปแบบในการปรับ ครม. เกณฑ์ที่อยากให้นายกฯ คำนึงถึงในการคัดเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทิศทางการทำงานหลังจากปรับ ครม. เป็นต้น รวมถึงความเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ในจังหวัดเชียงใหม่และบุคคลที่คาดว่าจะถูกวางตัวเป็นนายกสำรอง กรณีที่นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันมีอุบัติเหตุทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ทั้งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยในกรุงเทพมหานคร จะสุ่มจากเขตปกครอง ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางเขน บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สะพานสูง สาทร หนองจอก และปริมณฑลคือ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,123 คน เป็นเพศชายร้อยละ 51.1 และเพศหญิงร้อยละ 48.9

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  19 — 21 มีนาคม 2556

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   22 มีนาคม 2556

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

          ชาย                    574           51.1
          หญิง                    549           48.9
          รวม                  1,123          100.0

อายุ
          18 - 25 ปี              281           25.0
          26 - 35 ปี              293           26.1
          36 - 45 ปี              272           24.2
          46 ปีขึ้นไป               277           24.7
          รวม                  1,123          100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี           692          61.6
          ปริญญาตรี                376          33.5
          สูงกว่าปริญญาตรี            55           4.9
          รวม                  1,123         100.0

อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ          128          11.4
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน           314          28.0
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว            323          28.8
          รับจ้างทั่วไป                          159          14.2
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                64           5.7
          นักศึกษา                             116          10.3
          อื่นๆ อาทิ  อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น      19           1.6
          รวม                              1,123          100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ