หลังจาก ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ไปเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความเห็นของคนกรุงฯ ต่อมาตรการและนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้หาเสียงไว้” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,152 คน เมื่อวันที่ 29 - 31 มีนาคมที่ผ่านมา พบว่า
คนกรุงเทพฯ เห็นว่ามาตรการเร่งด่วนที่เคยประกาศหาเสียงไว้ของผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่อยากให้ทำด่วนที่สุดเป็นอันดับแรก หลังเข้ารับตำแหน่งคือ การติดตั้งกล้อง CCTV และไฟส่องสว่างเพิ่ม (ร้อยละ 63.9) รองลงมาคือโครงการจัดตั้งอาสาสมัครชุมชน เพื่อเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด (ร้อยละ 43.1) การปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS และ BRT (ร้อยละ 41.6) การเพิ่มบริการเก็บขยะไม่ให้ค้างในชุมชน (ร้อยละ 41.0) และโครงการฟรี ไฮ-สปีด ไวไฟ 4 MB 5,000 จุด (ร้อยละ 31.8)
ด้านความเชื่อมั่นว่า 6 นโยบายของผู้ว่าฯ กทม. เพื่อสร้างความสุขให้คนกรุงเทพฯ จะทำได้จริงตามที่ได้หาเสียงไว้พบว่า ในภาพรวมคนกรุงเทพฯร้อยละ 61.25 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 38.75 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด โดยนโยบายที่คนกรุงเทพฯคิดว่าทำได้จริงมากที่สุดคือ มหานครสีเขียวสะอาด (ร้อยละ 66.9) รองลงมาคือ มหานครแห่งการเรียนรู้ (ร้อยละ 66.0) และมหานครแห่งความปลอดภัย (ร้อยละ 65.8)
สุดท้ายเมื่อถามความคิดเห็นว่า ผู้ว่าฯ กทม. จะสร้างกทม. ให้ดีขึ้นกว่า 4 ปีที่แล้วที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรกได้เพียงใด ร้อยละ 60.8 คิดว่าจะดีขึ้นกว่าสมัยที่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 35.8 คิดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยังเหมือนเดิม มีเพียงร้อยละ 3.4 ที่คิดว่าจะแย่ลงกว่าสมัยที่แล้ว
รายละเอียดดังต่อไปนี้
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(ร้อยละ) (ร้อยละ) -มหานครสีเขียวสะอาด เช่น เพิ่มสวนสาธารณะ/ เพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย/ เพิ่มระบบการจัดการขยะ/ ปรับภูมิทัศน์ถนนสายหลัก 66.9 33.1 -มหานครแห่งการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้/ ดูแล นร. จากอิ่มท้อง สมองดี สู่มีวินัย/ ภาษาอังกฤษแข็งแรง/ การเข้าสู่การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ 66.0 34.0 -มหานครแห่งความปลอดภัย เช่น ติดตั้งกล้อง CCTV /ระบบป้องกันอัคคีภัย อาสาสมัครเฝ้าระวังภัย /เสริมความปลอดภัยทุกชุมชน 65.8 34.2 -มหานครแห่งอาเซียน เช่น ศูนย์กลางท่องเที่ยวของอาเซียนและของโลก/ ศูนย์กลางทางการแพทย์/ ศูนย์กลางการลงทุน/ ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม 60.0 40.0 -มหานครแห่งโอกาสของทุกคน เช่น ให้ความสะดวกแก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ/ ส่งเสริมชุมชนพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ 57.5 42.5 -มหานครแห่งความสุข (แผนระบายการจราจร) เช่น สร้าง รพ. 4 มุมเมือง ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร/ การเชื่อมระบบขนส่งมลชน/ สร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ 51.3 48.7 -เฉลี่ยรวม 61.25 38.75 3. ความคิดเห็นว่า ผู้ว่าฯ กทม. ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ จะสร้างกทม. ให้ดีขึ้นกว่า 4 ปีที่แล้วที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรกได้ คิดว่าจะดีขึ้นกว่าสมัยที่แล้ว ร้อยละ 60.8 คิดว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 35.8 คิดว่าจะแย่ลงกว่าสมัยที่แล้ว ร้อยละ 3.4รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสะท้อนความเห็นต่อมาตรการและนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้หาเสียงไว้
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,152 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.9 และเพศหญิงร้อยละ 50.1
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 - 31 มีนาคม 2556 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 เมษายน 2556ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 575 49.9 หญิง 577 50.1 รวม 1,152 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 280 24.3 26 - 35 ปี 281 24.4 36 - 45 ปี 293 25.4 46 ปีขึ้นไป 298 25.9 รวม 1,152 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 590 51.2 ปริญญาตรี 493 42.8 สูงกว่าปริญญาตรี 69 6.0 รวม 1,152 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 93 8.1 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 334 29.0 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 344 29.8 รับจ้างทั่วไป 114 9.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 102 8.9 นักศึกษา 130 11.3 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 35 3.0 รวม 1,152 100.0--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--